นวัตกรรม

thainews.prd-นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์และพัฒนาศักยภาพนวัตกรด้านสุขภาพรุ่นใหม่ประจำปี 2567

นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์และพัฒนาศักยภาพนวัตกรด้านสุขภาพรุ่นใหม่ประจำปี 2567   สำนักข่าว  :  thainews.prd.go.th URL  :   https://thainews.prd.go.th/thainews/news/view/968354/?bid=1 วันที่เผยแพร่  :  10  Mar 2025  Link ข่าวต้นฉบับ  :  https://th.kku.ac.th/218125/

thainews.prd-นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์และพัฒนาศักยภาพนวัตกรด้านสุขภาพรุ่นใหม่ประจำปี 2567 Read More »

นศ. มข. ผุดนวัตกรรม AI แก้ไข crowd crush ป้องกันโศกนาฏกรรมเบียดกันตาย

ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนต่างเศร้าสลดกับโศกนาฏกรรมสุดสะเทือนขวัญของโลก จากเหตุฝูงชนเบียดกันจนเสียชีวิตระหว่างการเฉลิมฉลองเทศกาลฮาโลวีนในย่านอีแทว็อนของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ การเข้าไปเบียดของผู้คนจำนวนมากโดยไม่มีการจำกัดจำนวนคนเข้างาน ในถนนความยาวเพียง 40 เมตร กว้าง 3.2 เมตร แถมมีความลาดชัน  ผู้คนไม่สามารถทราบสถานการณ์ภายในงานว่าหนาแน่นเพียงใด ไม่สามารถระบุคนในตำแหน่งในถนนแต่ละสายได้  เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดสถานการณ์การเบียดกันตาย หรือ crowd crush มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 157 ราย และบาดเจ็บจำนวนมากในวันที่ 29 ตุลาคม 2565 เวลา 22:15 น. (เวลาเกาหลีใต้) จากเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าว นายชนม์สวัสดิ์ นาคนาม  นักศึกษาโครงงานปัญญาประดิษฐ์ วิทยาลัยคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงคิดค้นนวัตกรรม  “AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ“   โดยเผยว่า  AI สามารถวิเคราะห์ได้ซับซ้อนมากกว่าสมองหรือดวงตาของมนุษย์ที่จะมองเห็น และมีความแม่นยำ เพิ่มความสะดวกสบาย ประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ เหตุการณ์  สถานที่ได้อย่างเหมาะสม  ยกตัวอย่างโครงการของตน คือ การใช้ AI นับจำนวนคนเข้างานนิทรรศการ หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น โดยโครงงานดังกล่าวสามารถระบุได้ว่าตรงไหนมีจำนวนคนหนาแน่น  โดยปกติสายตามนุษย์จะสามารถประเมินจำนวนคนในบริเวณนั้นได้คร่าว ๆ แต่อาจเกิดความล่าช้าและอาจเกิดความผิดพลาดสูง          “ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเหนื่อยขนาดนั้น  เราสามารถใช้

นศ. มข. ผุดนวัตกรรม AI แก้ไข crowd crush ป้องกันโศกนาฏกรรมเบียดกันตาย Read More »

ม.ขอนแก่น หารือบอร์ด NIA และมิตรผล ผลักดันงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0

       (12 มี.ค. 64) มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับ คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ณ ห้องประชุม Board Room อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ (จ.ขอนแก่น)        ในการนี้ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ได้กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงาน และได้บรรยายถึงภาพรวมการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ และโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหลังจากเสร็จสิ้นการบรรยาย ได้นำคณะศึกษาดูงานเดินทางเข้าศึกษาดูงาน ณ งานโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น        การศึกษาดูงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการดำเนินร่วมกันในการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจภูมิภาคและประเทศต่อไป ข่าว : ณัฐกานต์, ปางทิพญ์ ภาพ :

ม.ขอนแก่น หารือบอร์ด NIA และมิตรผล ผลักดันงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 Read More »

สำนักหอสมุด พัฒนานวัตกรรมตู้ปันสุข (SMART PANTRY OF SHARING) ด้วยเทคโนโลยี IoT

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 ได้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆเกิดขึ้นจากความช่วยเหลือของภาครัฐและเอกชน จากกระแสข่าวเกี่ยวกับการจัดทำตู้ปันสุขขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจังหวัดขอนแก่น ได้จัดตั้งตู้ปันสุขทั้งในเขตเมือง ชุมชน และภายในมหาวิทยาลัย เพื่อแบ่งปันอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ในฐานะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีพื้นที่ให้บริการ KKU Maker Space จึงได้เล็งเห็นถึงการพัฒนานวัตกรรมนำ IoT เข้ามาติดตั้งที่ตู้ปันสุข เพื่อสามารถเก็บข้อมูลของผู้ให้และผู้รับ ทำให้เห็นข้อมูลหรือแนวโน้มของการใช้งานตู้ปันสุขนี้ นำทีมโดย รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะกรรมการ Smart City Operational Centre เสนอไอเดียและสนับสนุนทุนการดำเนินงาน นายภานุวัตร อุทัยบาล นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น นักศึกษาระดับปริญญาโท และนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันคิดค้น ออกแบบ ตู้ปันสุขบนแนวคิด “ตู้ปันสุข หยิบไปแต่พอดี หมดช่วยกันเติม เสริมเทคโนโลยี IoT”  นายภานุวัตร อุทัยบาล นักเอกสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงรายละเอียดของการพัฒนาตู้ปันสุขนี้ว่า อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบด้วย sensor ultrasonic

สำนักหอสมุด พัฒนานวัตกรรมตู้ปันสุข (SMART PANTRY OF SHARING) ด้วยเทคโนโลยี IoT Read More »

สำนักหอสมุด พัฒนานวัตกรรมตู้ฆ่าเชื้ออัจฉริยะ เพิ่มความมั่นใจในการยืมคืนหนังสือ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพิ่มความเชื่อมั่นในการให้บริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ ด้วยการพัฒนาตู้ฆ่าเชื้ออัจฉริยะ สำหรับฆ่าเชื้อก่อนออกให้บริการรับคืนหนังสือก่อนเก็บหนังสือขึ้นชั้น      นางสาวจีรภา สิมะจารึก รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ช่วงวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ห้องสมุดได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 ด้วยการงดบริการพื้นที่นั่งอ่านของห้องสมุดทุกพื้นที่ จากนั้นบุคลากรได้จัดเตรียมพื้นที่นั่งอ่านให้เป็นลักษณะ Social Distancing เพื่อเตรียมสถานที่ให้พร้อมเปิดให้บริการเมื่อได้รับอนุญาตให้เปิดบริการต่อไป แม้ว่าห้องสมุดจะปิดบริการพื้นที่นั่งอ่าน แต่ห้องสมุดยังอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการยืมทรัพยากรสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือ Devices ต่างๆ ในการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการจัดการทรัพยากรจึงได้มีการพัฒนานวัตกรรมตู้ฆ่าเชื้ออัจฉริยะในการฆ่าเชื้อหนังสือก่อนออกให้บริการ และก่อนกลับขึ้นชั้นหนังสือ       นายอาทิตย์ ประทุมชัย พนักงานห้องสมุด ชำนาญงาน หนึ่งในทีมผู้พัฒนาตู้ฆ่าเชื้อ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทีม KKU Maker Space ได้นำตู้รับคืนหนังสือ (Book Drop)ซึ่งเป็นตู้ไม้นำมาติดตั้งอุปกรณ์ ได้แก่ หลอดไฟ UVC ชุดรางติดตั้งหลอดไฟ ระบบแผงควบคุมการทำงาน โดยกำหนดให้มีระยะเวลาการฆ๋าเชื้อที่ 30 นาที ทำการฆ่าเชื้อหลังจากที่ห้องสมุดปิดเพื่อให้บุคลากรได้ออกจากพื้นที่หมดแล้วจึงทำการเปิดตู้ฆ่าเชืื้ออัจฉริยะ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากหลอดไฟ ในการฆ่าเชื้อต่อครั้งสามารถบรรจุหนังสือได้สูงสุด 100 เล่ม สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องการยืมหนังสือผ่านระบบออนไลน์สามารถค้นหาหนังสือ

สำนักหอสมุด พัฒนานวัตกรรมตู้ฆ่าเชื้ออัจฉริยะ เพิ่มความมั่นใจในการยืมคืนหนังสือ Read More »

ผู้ประกอบการแห่สมัคร สมาชิกบ่มเพาะธุรกิจ คณะกรรมการเข้ม ดันธุรกิจนวัตกรรม

(9 มี.ค. 63) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย แผนกพัฒนาธุรกิจ จัดกิจกรรมการประเมินและคัดเลือก (Screening) ผู้ประกอบการเพื่อเข้าร่วมการบ่มเพาะธุรกิจ ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Business Incubation Challenge – B.I.C.) ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 ณ Meeting room 1 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)   การคัดเลือกผู้ประกอบการครั้งนี้ มีการเปิดรับสมัครนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ บุคลากร และนักวิจัย รวมไปถึงผู้ที่กำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ โดยมีคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกผู้สมัครเพื่อเข้ารับการบ่มเพาะฯ ดังนี้ คุณจิระพันธุ์ เนื่องจากนิล หัวหน้าศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.กิตติชัย ราชมหา อาจารย์ประจำสาขาผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการวางแผน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.สนธิ์ บุญสรรค์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ดร.สุมนรัตน์ ริยาพันธ์

ผู้ประกอบการแห่สมัคร สมาชิกบ่มเพาะธุรกิจ คณะกรรมการเข้ม ดันธุรกิจนวัตกรรม Read More »