คอลัมน์: แวดวงการศึกษา: มข.อบรมระบบรายงานข้อร้องเรียน
คอลัมน์: แวดวงการศึกษา: มข.อบรมระบบรายงานข้อร้องเรียน Read More »
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี ศูนย์ความเป็นเลิศมะเร็งท่อน้ำดี รพ.ศรีนครินทร์ พร้อมทีมแพทย์พยาบาล รพ.ศรีนครินทร์ และสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมรณรงค์ภายใต้แคมเปญ “แสงส่องทางให้ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี” ณ หอผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีและลานพระบรมราชานุสาวรีย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันมะเร็งท่อน้ำดีโลก (World Cholangiocarcinoma Day) ที่จะมาถึงในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เข้าร่วมเป็นเกียรติและร่วมรณรงค์ในกิจกรรมดังกล่าว รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี กล่าวว่า “ปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี เป็นภัยร้ายที่พรากชีวิตพี่น้องชาวอีสานไปกว่าปีละกว่า 20,000 คน เทียบเท่ากับเครื่องบินตกปีละ 100 กว่าลำ ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศไทย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องร่วมแรงร่วมใจช่วยกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนที่ต้องรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในด้านต่างๆ เช่น การทำให้ปลาปลอดพยาธิและอาหารปลอดภัย การจัดการระบบสุขาภิบาล การสร้างความตระหนักในเยาวชนและการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งต้องบูรณาการทุกเรื่องขับเคลื่อนไปพร้อมๆ
ภาคีเครือข่ายต้านมะเร็งท่อน้ำดีร่วมรณรงค์ในวันมะเร็งท่อน้ำดีโลก (World CCA Day) Read More »
โลกของการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วเกิดภาวะ Media Disruption ส่งผลกระทบต่อสื่อหลักที่เคยเป็นธงนำในการโน้มน้าวกระแสทางสังคมได้อย่างโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง ให้กลายเป็นสื่อทางเลือกและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสื่อที่หมดความหมายแบบที่เรียกว่า Old media ในที่สุด ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นความพยายามในการดิ้นรนปรับตัวเพื่อพลิกโอกาสของสื่อเก่าให้กลับมามีที่ยืนบนเวทีของโลกสื่อสารยุคดิจิทัล ด้วยการทบทวนการบริหารจัดการเนื้อหา เติมเต็มเทคโนโลยีใหม่ของOnline media เข้าไป เพื่อให้ผู้รับสื่อเกิดทางเลือกที่หลากหลายสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งและความท้าทายคือการบอกถึงการมีตัวตนของตนเองที่สามารถตอบสนองความต้องการรับรู้ของสังคมและองค์กรเจ้าของสื่อได้อย่างเด่นชัดแต่นั่นก็ถือว่าเป็นโจทย์ยากข้อหนึ่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงเป็น1ในสื่อมวลชนที่ถูกเรียก Old media ซึ่งเข้าไปอยู่ในวังวนของสภาวการณ์ Media Disruption เช่นกัน สื่อวิทยุกระจายเสียงเคยถูกจัดว่าเป็นสื่อของมหาชนคนรากหญ้ามาเป็นเวลานาน มีความโดดเด่นในแง่ความบันเทิงราคาถูกที่มีความหลากหลาย เต็มไปด้วยเสน่ห์ของความใกล้ชิดระหว่างผู้ส่งสารและรับสารแบบคนคุ้นเคย ขณะที่กิจการวิทยุหลักที่ถูกถือครองโดยองค์กรของรัฐได้ถูกนำใช้ประโยชน์เพื่อการสื่อสารทั้งการให้ความรู้และส่งต่อนโยบายสร้างความเข้าใจสู่ประชาชนในขณะเดียวกันก็ยังเป็นแหล่งรายได้หนึ่งด้วย ในระยะหลังยังรวมถึงการเกิดใหม่ของคลื่นวิทยุชุมชนที่เป็นทางเลือกของคนในพื้นที่ในการรับรู้ข่าวสารระดับท้องถิ่นของตนเองที่ถูกกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการคลื่นความถี่และควบคุมดูแลเนื้อหาให้กับสื่อวิทยุชุมชนที่ผุดขึ้นมานับพันในขณะนี้ การเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้เมื่อสื่อวิทยุต้องฝ่าวิกฤตการแข่งขันกันเองในการนำเสนอเนื้อหาข้อมูลเพื่อเหนี่ยวรั้งผู้ฟังซึ่งรวมไปถึงผู้สนับสนุนด้านทุนใว้ให้ได้นั่นหมายถึงการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซ้ำเติมด้วยการเจอกับการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการบริโภคสื่อของโลกดิจิทัลอย่างที่เห็นในปัจจุบัน พบเห็นการล้มลงของกิจการวิทยุและผู้ประกอบการจำนวนมากอย่างน่าเสียดาย สถานีวิทยุกระจายเสียงในมหาวิทยาลัย ถูกกำกับตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ให้เป็นผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจประเภทการบริการสาธารณะ ตามประกาศ หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.2555 หมวด 1โดยระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้อง ใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอนหรือการเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร จัด“ประชุมสะท้อนผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ OKRs ไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2564” เมื่อวันที่ 28 มกราคม และ 4 กุมภาพันธ์ 2654 ณ ห้องประชุม ED-TEAL ชั้น 4 คณะศึกษาศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่าคณะศึกษาศาสตร์ ได้นำระบบ OKRs มาใช้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองนโยบายอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กร (Management Transformation) จากนั้น รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร นำเสนอระบบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะศึกษาศาสตร์ โดยผู้เข้าร่วมเป็นประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาตรี หัวหน้างานในส่วนกองบริหารคณะศึกษาศาสตร์ คณาจารย์และบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะฯ การประชุมในครั้งนี้เป็นการร่วมสะท้อนผลการดำเนินงาน อุปสรรค์ และปัญหา ตามยุทธศาสตร์ OKRs ของคณะศึกษาสตร์ ในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2564 อีกทั้งยังร่วมระดมสมองเพื่อออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันพร้อมตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานครั้งต่อไป รวมถึงมีการมอบรางวัล ED-OKRs Champions Awards
ศึกษาศาสตร์สะท้อนผล OKRs เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ Read More »