04. การบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม

4. การบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal Contributions)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. จับมือภาคอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย และ บริษัท เพาเวอร์ สเตนเลส สตีล จำกัด จัดโครงการให้บริการซ่อมบำรุงและดูแลรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และครุภัณฑ์โรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ ลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบำรุงรักษาให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กิจกรรมซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์ครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 14 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยทีมบุคลากรงานปฏิบัติการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งลงพื้นที่ให้บริการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ จำนวนกว่า 50 รายการ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย วัตถุประสงค์หลักของโครงการคือการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยังสามารถใช้งานได้ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ใหม่ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบำรุงรักษาให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล นักศึกษา และชุมชน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคเอกชน และชุมชน ในการพัฒนาระบบการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างยั่งยืน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. จับมือภาคอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ทางการแพทย์ Read More »

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้ประกอบการ! “KKBS STARTUP CAMP 2025 : GLOBAL MINDSET” ปั้นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ พลิกไอเดียสู่ธุรกิจจริง

เมื่อวันที่ 8-9 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ “KKBS Startup Camp 2025 : Global Mindset” กิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักการประเมินความเป็นไปได้โครงการ การทำงานเป็นทีม ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจใหม่ (Startup) ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคณะฯ ได้รับจัดตั้งให้เป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการเวิร์กช้อป “การเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุนอย่างมืออาชีพ” โดย ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจใหม่ บริษัท น้ำตาล มิตรผล จำกัด ต่อด้วยการบรรยายและฝึกปฏิบัติ “การทำ Business Model Canvas” โดย ดร.อานนท์ คำวรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ KKU Enterprise มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นเป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การเขียนข้อเสนอโครงการ KKBS Startup 2025” โดย

ก้าวแรกสู่การเป็นผู้ประกอบการ! “KKBS STARTUP CAMP 2025 : GLOBAL MINDSET” ปั้นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ พลิกไอเดียสู่ธุรกิจจริง Read More »

ปฏิวัติการศึกษาไทยด้วย PLO-CLO สำนักบริการวิชาการ มข. จัด Workshop พัฒนาหลักสูตรมุ่งเน้นผลลัพธ์ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่

         มหาวิทยาลัยขอนแก่นยกระดับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาสู่มาตรฐานสากล ด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและรายวิชา” ปลดล็อกศักยภาพคณาจารย์ในการออกแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ผู้เรียนและตลาดแรงงานยุคใหม่            สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผนึกกำลังจัดอบรมหลักสูตร “การจัดทำผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLO) และผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชา (CLO)” ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุมเจิมขวัญ โรงแรมบายาสิตา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภาวดี ภักดี และ ผศ.ดร.สุกัญญา เรืองสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้จริง ✨          Workshop สุดเข้มข้น จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร เข้าใจถึงการออกแบบหลักสูตรตามแนวคิด Outcome-Based Education (OBE) ผ่านเนื้อหาสำคัญที่เข้มข้น พร้อม Workshop ปฏิบัติจริง ได้แก่: วิเคราะห์มาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) และแนวทางการออกแบบหลักสูตรแบบย้อนกลับ (Backward Curriculum

ปฏิวัติการศึกษาไทยด้วย PLO-CLO สำนักบริการวิชาการ มข. จัด Workshop พัฒนาหลักสูตรมุ่งเน้นผลลัพธ์ตอบโจทย์ตลาดแรงงานยุคใหม่ Read More »

ป้องกันคดีละเมิด! สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมเข้มการตรวจรับพัสดุภาครัฐ

        สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Upskill บุคลากรภาครัฐ จัดหลักสูตรอบรมเชิงลึก “การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุอย่างไร ให้ห่างไกลคดีความรับผิดทางละเมิด” รวบรวมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มอบองค์ความรู้เข้มข้นแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร ซึ่งการอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐหลากหลายองค์กร ทั้งจากกรมทรัพยากรน้ำ กรมการแพทย์ทหารเรือ โรงพยาบาล สถานศึกษา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล          หลักสูตรนี้ครอบคลุมทุกแง่มุมของกระบวนการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุ ตั้งแต่การทำสัญญา การคำนวณค่าปรับ การแก้ไขสัญญา ไปจนถึงการบอกเลิกสัญญา โดยไม่เพียงแค่สอนให้ทำงานถูกระเบียบ แต่ยังชี้ให้เห็นจุดเสี่ยงที่มักนำไปสู่คดีความทางละเมิด พร้อมวิธีป้องกันตนเองอย่างเป็นระบบ ระดมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ถ่ายทอดประสบการณ์ตรง การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์โดยตรง ประกอบด้วย: อาจารย์อิทธิพร จิระพัฒนากุล อดีตอธิบดีศาลปกครองชั้นต้นประจำศาลปกครองสูงสุด อาจารย์ธนพล โกมารกุล ณ นคร รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน อาจารย์ณัฐชนน ศิริพงษ์สุรภา ผู้อำนวยการสำนักบริหารคดีและนิติการ สำนักงาน กสทช. กรณีศึกษาจริง: เรียนรู้จากบทเรียนที่มีค่า

ป้องกันคดีละเมิด! สำนักบริการวิชาการ มข. จัดอบรมเข้มการตรวจรับพัสดุภาครัฐ Read More »

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่ายอาสา “เทคโนโลยีอาสาสู่ชุมชน” สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชน

เมื่อวันที่ 8 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09.00 น. คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ผศ. ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี มข. พร้อมด้วย ผศ.นุศรา สุระโคตร รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ผศ. ดร.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คุณทรงกรด พิมพ์พันธุ์กุล หัวหน้างานสนับสนุนวิชาการ และคุณนฤมล พิมพ์พงษ์ต้อน นักจัดการงานทั่วไป ชำนาญการ คณะเทคโนโลยี มข. ร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยี มข. ได้จัดกิจกรรมค่ายอาสาประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการ “เทคโนโลยีอาสาสู่ชุมชน” ณ โรงเรียนบ้านโคกกลางหนองไหลพิทยาสรรพ์  ต. ศรีสุขสำราญ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนในชุมชน ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมของนักเรียนและนักศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และเคารพความยินยอมของผู้เข้าร่วมทุกคน คณะผู้จัดงานขอขอบพระคุณ คุณครูปานระวี หงษ์ทอง ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกกลางหนองไหลพิทยาสรรพ์ คณะครู นักเรียน ตลอดจนผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านที่สละเวลาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ในโอกาสนี้ ทางคณะเทคโนโลยี มข. ได้ดำเนินการติดตั้งพัดลมเพดาน มอบถังขยะ สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ตัวอย่างหิน และอุปกรณ์กีฬา ได้แก่ ลูกฟุตบอล ลูกวอลเลย์บอล

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่ายอาสา “เทคโนโลยีอาสาสู่ชุมชน” สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชน Read More »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าส่งเสริมผ้าไทย หนุนผู้ประกอบการ OTOP สร้างรายได้สู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการจัดกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ้าไทย โดยมีศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินการจัดประชุมในครั้งนี้ นำโดย นายวรศักดิ์ วรยศ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดขอนแก่น นำโดย นางยุพรัตน์ ดวงดีทวีทรัพย์ นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ ณ ห้องประชุมกนกเชิงเทียน อาคารวิริยะบริการ วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท จัหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ประกอบการ OTOP เข้าร่วมประชุม ได้แก่   กลุ่มท่อผ้าบ้านชัยเจริญ  กลุ่มท่อผ้าไหมบ้านหนองแวง  กลุ่มท่อผ้าบ้านบะแหบ  กลุ่มหัตกรรมคุ้มสุขโข  วิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย  กลุ่มทอผ้าไหมบ้านห้วยแก  กลุ่มทอผ้าบ้านห้วยชัน และกลุ่มท่อผ้าบ้านหนองผ้าปล้อง   การประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมสู่การออกแบบและพัฒนาของที่ระลึกให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย เพื่อเป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยนำวัสดุจากเศษผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าอื่นๆในชุมชน โดยเน้นศักยภาพและความถนัดของกลุ่มเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างคุ้มค่าและช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชนพร้อมทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง           มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าส่งเสริมผ้าไทย หนุนผู้ประกอบการ OTOP สร้างรายได้สู่ชุมชน Read More »

มข.ขับเคลื่อน “ละว้าโมเดล พลัส” สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน โดยศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี พร้อมคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชนจากพื้นที่รอบแก่งละว้ากว่า 60 คน ได้ร่วมประชุมหารือแนวทางเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโครงการ “ละว้าโมเดล พลัส” (Lawa Model Plus) ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน การหารือในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ และกำหนดแนวทางการยกระดับเศรษกิจของพื้นที่แก่งละว้า ซึ่งเป็นแหล่งน้ำและระบบนิเวศที่สำคัญของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นแนวทางการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ขอบคุณภาพจาก : https://thecitizen.plus/node/68873    โครงการ “ละว้าโมเดล พลัส” เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น หน่วยงานภาครัฐ และชุมชนในพื้นที่รอบแก่งละว้า ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำราญ อำเภอบ้านแฮด, ตำบลหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่, ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ และตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านแนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งมั่นบูรณาการองค์ความรู้และสนับสนุนการพัฒนาชุมชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน และนำไปสู่การพัฒนาในระยะยาวอย่างยั่งยืน

มข.ขับเคลื่อน “ละว้าโมเดล พลัส” สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Read More »

มข. ร่วมเกษตรจังหวัดขอนแก่น เชื่อมตลาด-เพิ่มมูลค่าผลผลิตสู่ความยั่งยืน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน พร้อมด้วย ผศ.ดร.สุกัลยา เชิญขวัญ อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์ และ นางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน ลงพื้นที่ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรอย่างยั่งยืน ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่นและเกษตรตำบลที่เกี่ยวข้อง ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักหนามคำ ตำบลหนองกุงใหญ่ และกลุ่มแปลงใหญ่พืชผัก ตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน การลงพื้นที่ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร พร้อมรับฟังปัญหาและอุปสรรคที่เกษตรกรกำลังเผชิญ โดยมีนายพิชญ์พงษ์ วิลาวรรณ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักหนามคำ และนางวัณนี ภูงามเงิน ประธานกลุ่มแปลงใหญ่พืชผัก หมู่ที่ 6 ร่วมให้ข้อมูล ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา อาทิ การเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชน ส่งเสริมการผลิตแบบออร์แกนิกเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างระบบชลประทานขนาดเล็ก และพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้แก่กลุ่มเกษตรกร เพื่อพัฒนาผลผลิตและเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อเป้าหมายการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง SDGs โดยการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีรายได้มั่นคง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

มข. ร่วมเกษตรจังหวัดขอนแก่น เชื่อมตลาด-เพิ่มมูลค่าผลผลิตสู่ความยั่งยืน Read More »

มข. ร่วมภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์และเศรษฐกิจในนิคมสร้างตนเอง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568  ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน พร้อมด้วย ผศ.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี  ผศ.หยาดรุ้ง มะวงศ์ไว ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสื่อสารองค์กร คณะเกษตรศาสตร์ และ รศ.เพชรรัตน์ ธรรมพล คณะเกษตรศาสตร์, ผศ.สุกัลยา เชิญขวัญคณะเกษตรศาสตร์, นางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม รองผู้อำนวยการรองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน เข้าร่วมประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานในการพัฒนาทุนมนุษย์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สังคม และส่งเสริมอัตลักษณ์ในนิคมสร้างตนเอง ณ ห้องประชุมพองหนีบโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยมีนายประจวบ รักแพทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น โดยมีนางสาวฉัฐพร งามเกลี้ยง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ประมงจังหวัดขอนแก่น สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดขอนแก่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชน ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่นิคมสร้างตนเองให้เติบโตอย่างยั่งยืน การดำเนินงานในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาศักยภาพของบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประชาชนในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ในอนาคต การร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน “มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างรากฐานเศรษฐกิจฐานรากที่แข็งแกร่ง

มข. ร่วมภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนการพัฒนาทุนมนุษย์และเศรษฐกิจในนิคมสร้างตนเอง Read More »

สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ได้มอบรางวัล “องค์กรทรงคุณค่า” ให้โครงการอีสานโพล และโครงการอีสานอินไซต์

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมานี้ ณ ห้องประชุมปัญญาวิวิธ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ได้มอบรางวัล “องค์กรทรงคุณค่า” ให้โครงการอีสานโพล และโครงการอีสานอินไซต์ ภายใต้คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโครงการ E-Saan Poll (อีสานโพล) คณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับรางวัล “องค์กรทรงคุณค่า” จากการ สะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของคนอีสาน และโครงการ ISAN Insight (อีสานอินไซต์) คณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับรางวัล “องค์กรทรงคุณค่า” จากการ สื่อสารข้อมูลเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอีสาน สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมทั้ง 2 โครงการ ได้ที่ 🔗 เพจ อีสานโพล: www.facebook.com/EsaanPoll 🔗 เพจ อีสานอินไซต์: www.facebook.com/isan.insight  

สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น ได้มอบรางวัล “องค์กรทรงคุณค่า” ให้โครงการอีสานโพล และโครงการอีสานอินไซต์ Read More »

thไทย