คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วม Software Park Thailand นำเสนอ 10 ผลงานเด่นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์รับทุน100,000 บาทต่อยอดผลงาน ในงาน AI Innovation JumpStart เพื่อยกระดับเทคโนโลยีของประเทศ

        วันที่ 26 สิงหาคม 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย Software Park Thailand) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ หรือ Automation Robotics and Intelligent System: ARI Skill Development Project ที่ ห้องคอนเวนชั่น ๓ อวานีขอนแก่น โฮเต็ลแอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น อันเป็นโครงการเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรขั้นสูงอันเป็นความต้องการของประเทศ คือ โครงการ ARI Academy และพัฒนานวัตกรก่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ยกระดับเทคโนยีของประเทศ คือโครงการ AI Innovation JumpStart แสดงให้เห็นถึงศักยภาพโครงการ ที่จะสามารถส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมให้มีความพร้อมเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเน้นการบริหารจัดการ การร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนากำลังคนเฉพาะทางทักษะสูง ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และเพื่อร่วมพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับชุมชน สังคม และประเทศ


        ในพิธีเปิดงานได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มาเป็นประธานกล่าวเปิดงานและรับเชิญในฐานะcommentatorผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการนำเสนอผลงาน  โดยมี รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย คุณ ณัฐพล นุตคำแหง ผู้จัดการงานส่งเสริมเทคโนโลยี เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บรรยายถึงกิจกรรมสนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรของ สวทช. จึงเป็นการเสนผลงานของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 ทีม
      โครงการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ หรือ Automation Robotics and Intelligent System: ARI Skill Development Project เป็นการพัฒนานวัตกรก่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ยกระดับเทคโนยีของประเทศ ในโครงการ AI Innovation JumpStart ซึ่งดำเนินมาเป็นปีที่2 โดยมีรูปแบบของกิจกรรมด้วยการการประชาสัมพันธ์ เชิญชวน นักพัฒนา ผู้ประกอบการเทคโนโลยี อาจารย์ นิสิต นักศึกษา ส่งผลงานในลักษณะการทำงานเป็นทีมพัฒนาผลงาน จำนวน 2- 6 คนต่อทีม ที่มุ่งเน้นนักพัฒนาการลงมือปฏิบัติจริงด้านการสร้างผลงานนวัตกรรม ARI ต้นแบบเพื่อใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ในอนาคต เกิดผลงานนวัตกรรมที่เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยการอบรมทั้งด้านเทคนิคและธุรกิจที่จำเป็นสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์จากผู้เชี่ยวชาญ และการให้ทุนสนับสนุนสำหรับผลงานต้นแบบที่สามารถต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ในอนาคต พัฒนาทักษะบุคลากรขั้นสูงอันเป็นความต้องการของประเทศ


        สำหรับกิจกรรมพัฒนาทักษะบุคลากรด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะในครั้งนี้ ได้เริ่มโครงการนี้ตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่ผ่านมา โดยมีการคัดเลือกทีมที่มีความพร้อมเพื่อร่วม KickoffFโครงการกับการจัดBootCampเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับ Design Thinking และ Lean Canvas Business Model จากนั้นจึงคัดเลือกทีมที่ความสามารถในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ คงเหลือ 10 ทีมให้ได้รับทุนสนับสนุน 100,000 บาท และได้เชิญมาเพื่อนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการและบรรยายเสนอแนวคิดการพัฒนาผลงานบนเวทีให้กับคณะกรรมการและสื่อมวลชนตลอดจนนักเรียน นักศึกษาที่ให้ความสนใจมาร่วมชมงานในครั้งนี้
        รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์ว่า บทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์มีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้าน Software Computer ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่เรามีการจัดการเรียนการสอน โดยได้เชิญอาจารย์มาเป็นที่ปรึกษาโครงการเพื่อให้คำแนะนำปรึกษากับสมาชิกที่ร่วมโครงการนับแต่เริ่มต้นในการจัดทีมจัดกิจกรรมค่าย เพื่อให้ความรู้ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และต่อยอดให้คำปรึกษาจนเกิดเป็นผลงานต้นแบบได้

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น

        สำหรับผลงาน 10 ทีมที่ผ่านกิจกรรมและได้รับทุนสนับสนุนเพื่อการพัฒนาต้นแบบที่ได้มานำเสนอในงานครั้งนี้ประกอบด้วย
1.ทีม Facail: ระบบติดตามนักเรียนด้วยใบหน้า สะดวก ปลอดภัย
2.ทีมเทศบาลนครอุดรธานี: ระบบวิเคราะห์และจัดการจารจรในเขตเมือง
3.ทีม AVATAR: ระบบติดตามคุณภาพอากาศอัจฉริยะเพื่อคุณภาพอากาศเพื่อคุณภาพชีวิต เพื่อคุณ
4.ทีม Robot IAC NPU 01: เครื่องมือบริหารมือ Electronic ป้องกันและฟื้นฟู ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อนิ้วมือติด
5.ทีมลุ่มน้ำโขงออนไลน์: ระบบสแกนใบหน้าเข้าออกพนักงาน ไม่เสียเวลา ไม่ต่อคิว
6.ทีม DEC-SIN: ระบบนำเข้า – ส่งออกสินค้าอัตโนมัติเพื่อธุรกิจค้าปลีก
7.ทีมไข่แดง (Yolk): ระบบเพิ่มประสิทธิภาพฟาร์มไข่ไก่
8.ทีม Growup Robotics: หุ่นยนต์ผู้ช่วยเก็บผลผลิตทางการเกษตรยุคใหม่
9.ทีม DDM: โดรนอัจฉริยะประเมินที่ดินเป็นสินเชื่อ
10.ทีม FEAT#3: ระบบ Smart Boilerระบบควบคุมการผลิตไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรม “ใช้งานง่าย พอเพียง ปลอดภัย และราคาถูก”

รศ. ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพ/ข่าว อุดมชัย สุพรรณวงศ์

Scroll to Top