Hotnews

คณะวิศวศาสตร์ จับมือกับ บจก.โซล่าเทค เซ็นเตอร์ ร่วมผลักดันพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 – คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท โซล่าเทค เซ็นเตอร์ จำกัด ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมพลังงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ เทคโนโลยีสะอาด และหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่สามารถนำไปใช้ได้จริง พิธีลงนามจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 8 ตึกเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี คุณชาญยุทธ นาสมปอง กรรมการผู้จัดการบริษัท โซล่าเทค เซ็นเตอร์ จำกัดและคณะผู้บริหาร เข้าร่วมลงนามร่วมกับ รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติจากภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม รศ.ดร.รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด รวมถึงการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับนักศึกษา นักวิจัย และภาคอุตสาหกรรม ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมแบบ Short Course และ Non-Degree Programs ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้านคุณชาญยุทธ นาสมปอง กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทว่า “โซล่าเทค เซ็นเตอร์ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาด โดยการให้ความรู้ […]

คณะวิศวศาสตร์ จับมือกับ บจก.โซล่าเทค เซ็นเตอร์ ร่วมผลักดันพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงาน Read More »

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เยือน 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหราชอาณาจักร เปิดโอกาสความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย

เมื่อวันที่ 15-20 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดยวิทยาลัยนานาชาติ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมการเดินทางเพื่อแสวงหาและร่วมพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยชั้นนำ 6 แห่งในสหราชอาณาจักร โดยมหาวิทยาลัยแรก คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ได้เดินทางไปเยี่ยม School for Business and Society, University of York เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2568 เพื่อหารือความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยในระดับวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำรวจโอกาสความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยยอร์ก หลังจากนั้น ระหว่างวันที่ 17-20 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ ได้เดินทางเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เยี่ยมเยียนและหารือความร่วมมือร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ Queen Mary University of London, University of Leicester, University of Nottingham, University

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เยือน 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหราชอาณาจักร เปิดโอกาสความร่วมมือทางวิชาการและงานวิจัย Read More »

 11 เมษายน สงกรานต์นี้ มข. ชวนชมศิลป์! เปิดแกลลอรี่ รวมผลงานศิลปินระดับภูมิภาคอีสาน 120 ชีวิต

          คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ร่วมกับฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญร่วมชม นิทรรศการผลงานของจิตรกรอีสาน” ในวันที่ 11 เมษายน 2568 เวลา 17.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รวบรวมผลงานศิลปินอีสานกว่า 120 คน เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายเป็นช่องทางสร้างรายได้สู่ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขาดแคลน และ ตอบรับนโยบาย The New Isan ของมหาวิทยาลัย            นายสุกิจ ศิรินรกุล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า แนวคิดการจัดนิทรรศการผลงานแห่งนี้เกิดจากความต้องการสร้างพื้นที่สำหรับศิลปินอีสานได้แสดงผลงาน พร้อมสร้างช่องทางการตลาดอย่างเป็นระบบและมืออาชีพ            “ภาคอีสานมีศิลปินที่มีฝีมือระดับชาติมากมาย แต่ยังขาดพื้นที่ในการจัดแสดงและจำหน่ายผลงานอย่างเป็นระบบ การจัดตั้งศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้จึงเป็นการส่งเสริมศิลปินอีสานให้มีพื้นที่แสดงผลงาน สร้างรายได้ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสานสู่สาธารณชนในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงดูดนักสะสมงานศิลปะและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาเยี่ยมชม ถือเป็นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมสู่มูลค่าทางเศรษฐกิจ”           “หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการเป็นศูนย์กลางจัดแสดงผลงานศิลปะ

 11 เมษายน สงกรานต์นี้ มข. ชวนชมศิลป์! เปิดแกลลอรี่ รวมผลงานศิลปินระดับภูมิภาคอีสาน 120 ชีวิต Read More »

สร้างเครือข่ายวิชาการระดับโลกเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านการประชุม CAMPUS-Asia 6 และ HISC 2025 ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะศึกษาศาสตร์ ร่วมส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุม CAMPUS-Asia 6 (CA6) Meeting และ Hybrid International Student Conference (HISC) 2025 ณ University of Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น โดยการประชุมครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ประกอบด้วย University of Tsukuba (ประเทศญี่ปุ่น) East China Normal University (ประเทศจีน) Korea National University of Education (ประเทศเกาหลีใต้) Khon Kaen University (ประเทศไทย) Institut Teknologi Bandung (ประเทศอินโดนีเซีย) และ Universiti Teknologi Malaysia (ประเทศมาเลเซีย) คณะผู้แทนของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย คณะศึกษาศาสตร์

สร้างเครือข่ายวิชาการระดับโลกเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านการประชุม CAMPUS-Asia 6 และ HISC 2025 ประเทศญี่ปุ่น Read More »

บัณฑิตวิทยาลัย มข. จัดงาน GS KKU Fair 2025 เชิดชูความเป็นเลิศทางวิชาการ มอบรางวัลกว่า 94 รางวัลแก่นักวิจัยคุณภาพ

วันนี้ ( 31 มีนาคม 2568)  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงาน GS KKU Fair 2025 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3  ภายใต้วิสัยทัศน์ “การเติบโตอย่างยั่งยืนด้านบัณฑิตศึกษา เพื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นและประเทศ” (Grad for Growth) โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี   โดยมีศ.ดร.เกียรติไชย  ฟักศรี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า ร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้อง Auditorium อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น        รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “งาน GS KKU Fair 2025 สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของระบบบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศ ผมขอชื่นชมและขอบคุณ คณาจารย์ บุคลากร

บัณฑิตวิทยาลัย มข. จัดงาน GS KKU Fair 2025 เชิดชูความเป็นเลิศทางวิชาการ มอบรางวัลกว่า 94 รางวัลแก่นักวิจัยคุณภาพ Read More »

มั่นใจได้! มข.ยืนยันแผ่นดินไหวไม่กระทบโครงสร้างอาคาร บุคลากร-นักศึกษาใช้งานได้ตามปกติ

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งผลให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนรวมถึงจังหวัดขอนแก่น ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่อย่างเร่งด่วนเพื่อประเมินความเสียหายและความปลอดภัยของอาคารและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ล่าสุด รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่โดยเร่งด่วนตามแผน Business Continuous Management (BCM) ที่กำหนดเพิ่มเติมใหม่ โดยมีการลงพื้นที่สำรวจในช่วงวันที่ 29-30 มีนาคม 2568 ร่วมกับคณบดีและผู้บริหารแต่ละคณะในการสำรวจโครงสร้างอาคารเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของบุคลากรและนักศึกษาทุกฝ่ายเช่นเดียวกัน ผลจากการสำรวจในหลายพื้นที่ ทั้งอาคารเรียน อาคารสำนักงาน และส่วนงานต่าง ๆ พบว่าความเสียหายส่วนใหญ่ไม่ได้กระทบต่อโครงสร้างหลักของอาคาร โดยมีเพียงความเสียหายเล็กน้อย เช่น ปูนฉาบกระเทาะ กระเบื้องร่อน กระจกแตก ผิวปูนฉาบมีรอยร้าวระดับพื้นผิว พื้นคอนกรีตทางเดินเท้าทรุดตัว หรือเป็นรอยร้าวจากการทรุดตัวเดิม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่าบุคลากรและนักศึกษาสามารถเข้าใช้งานอาคารได้ตามปกติ พร้อมขอบคุณบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม กองอาคารและสถานที่ กองสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงกองป้องกันและรักษาความปลอดภัย ที่ได้ร่วมกันดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงและแผนการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี   อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยขอนแก่นขอความร่วมมือบุคลากรและนักศึกษาทุกส่วนงาน หากพบรอยแตกร้าวที่บริเวณเสาหรือคาน โดยเฉพาะรอยร้าวแนวเฉียงทแยง หรือรอยแตกร้าวเดิมที่ขยายขนาดเพิ่มขึ้น ขอให้แจ้งข้อมูลไปยังฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม หรือกองอาคารสถานที่ เพื่อให้ทีมงานเข้าสำรวจและประเมินแนวทางการซ่อมแซมต่อไป 

มั่นใจได้! มข.ยืนยันแผ่นดินไหวไม่กระทบโครงสร้างอาคาร บุคลากร-นักศึกษาใช้งานได้ตามปกติ Read More »

จอยเลย! มข.ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่าน Google Chat

ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าใช้ระบบอัจฉริยะ KKU IntelSphere ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวพิกัดไม่เกิน 2,000 กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่าน Google Chat  จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูดในประเทศเมียนมา โดยแรงสั่นสะเทือนบางส่วนรับรู้ได้ถึงประเทศไทย รวมถึงในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยเฉพาะภายในอาคารสูงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุด วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้นำเทคโนโลยี KKU IntelSphere มาประยุกต์ใช้ในการสร้างระบบแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว KKU Emergency Alert โดยดึงข้อมูลจาก U.S. Geological Survey (USGS) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการส่งการแจ้งเตือนผ่านระบบ KKU Google Chat สำหรับ KKU Emergency Alert ตั้งค่าระยะห่างรัศมีการแจ้งเตือนไว้ที่ 2,000 กิโลเมตรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมกำหนดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่ต้องการให้มีการแจ้งเตือน เบื้องต้นตั้งไว้ที่ 4.5 แมกนิจูด

จอยเลย! มข.ออกแบบ KKU Emergency Alert แจ้งเตือนแผ่นดินไหวผ่าน Google Chat Read More »

มข.ขยายเครือข่ายทางวิชาการและวิจัยกับสถาบันชั้นนำของคาซัคสถาน

เมื่อวันที่ 10-13 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ และคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เดินทางไปเยือนกรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในคาซัคสถานและเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียกลาง . การิเริ่มและขยายความร่วมมือในพื้นที่ใหม่ดังเช่นคาซัคสถาน เกิดจากโอกาสที่ไทยและคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นในระยะที่ผ่านมา มีการออกนโยบายฟรีวีซ่าของพลเมืองทั้งสองประเทศ และชาวคาซัคสถานถือว่าประเทศไทยคือจุดหมายการเดินทางที่สำคัญ (Destination) โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ประเทศคาซัคสถานถือเป็นประเทศพัฒนาใหม่ของภูมิภาคเอเชียกลางที่มีความเจริญรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหมและเส้นทางยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงกับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากที่ประเทศไทยได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของคาซัคสถาน จึงเป็นโอกาสที่ดีของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จะเข้าไปริเริ่มและแสวงหาความร่วมมือใหม่ ๆ กับสถาบันการศึกษาของคาซัคสถานโดยเฉพาะด้านวิชาการและวิจัย โดยคณะ/วิทยาลัย ที่ร่วมคณะเดินทางมีเป้าหมายสำคัญที่จะริเริ่มความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในคาซัคสถานดังนี้ รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่า จากนโยบายที่ท่านอธิการบดีได้มอบให้เกี่ยวกับการสร้างยุทธศาสตร์ International Network: KKU Teamwork นำโดย ท่านอุปนายกสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารจาก ED, COLA, and IC สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับ Nazarbayev Intellectual Schools (NIS) ซึ่งมีทั้งหมด 22 แห่งทั่วประเทศ NIS ถือเป็นโรงเรียนระดับครีมที่สุดและเป็นต้นแบบโรงเรียนแนวใหม่ของประเทศคาซัคสถาน มีวิสัยทัศน์ “We provide high learning

มข.ขยายเครือข่ายทางวิชาการและวิจัยกับสถาบันชั้นนำของคาซัคสถาน Read More »

ราชกิจจานุเบกษา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ชุดที่ 28)

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ชุดที่ 28) ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 มีนาคม 2568 รายละเอียด >>> https://kku.world/mqbpbs

ราชกิจจานุเบกษา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ชุดที่ 28) Read More »

อาจารย์ COLA มข. คว้าทุนวิจัยตลาดทุนจากกระทรวง อว. และกองทุน CMDF หนุนไทยเป็นศูนย์กลางตลาดทุน

เมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีพิธีลงนามสัญญาทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ด้านตลาดทุน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวง อว. และกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (กองทุน CMDF) โดยมีนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศได้รับทุนวิจัยรวม 10 ทุน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ผศ.ดร.อุมาวดี เดชธำรงค์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น (COLA KKU) ซึ่งได้รับทุนวิจัยในครั้งนี้ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า ทุนวิจัยด้านตลาดทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านตลาดทุนของภูมิภาค การให้ทุนวิจัยแก่นักวิจัยรุ่นใหม่ในปีนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปพัฒนาตลาดทุนไทยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งทุนนี้จะมีระยะเวลาการทำวิจัย 2 ปี โดยหวังว่างานวิจัยที่ได้จะสามารถนำไปต่อยอดสู่การพัฒนานโยบายและแนวทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาดทุนไทยในอนาคต COLA มุ่งพัฒนางานวิจัยตอบโจทย์ภาคเศรษฐกิจและตลาดทุน ผศ.ดร.อุมาวดี เดชธำรงค์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ วิจัย และการตลาด ผศ.ดร.อุมาวดี เดชธำรงค์ เปิดเผยว่า “โครงการวจัยนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างเครื่องมือในการพยากรณ์ราคาหุ้นที่คำนึงถึงปัจจัย ESG แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายที่สนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืน โดยสามารถช่วยผลักดันให้นักลงทุนและภาคธุรกิจหันมาพิจารณาปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งในตลาดทุนและส่งเสริมการพัฒนาประเทศในระยะยาว” นายจักรชัย

อาจารย์ COLA มข. คว้าทุนวิจัยตลาดทุนจากกระทรวง อว. และกองทุน CMDF หนุนไทยเป็นศูนย์กลางตลาดทุน Read More »