08. ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล

8. ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation)

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่าย GEC ปีที่ 4 สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน เปิดโลกธรณีวิทยา มุ่งบ่มเพาะนักธรณีรุ่นใหม่ของไทย

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีเปิด “ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp (GEC)” ประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี ผศ.ดร.อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ผศ.นุศรา สุระโคตร รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และ ผศ.เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ร่วมกล่าวเปิดค่าย ในการนี้มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีอีกกว่า 70 คน ร่วมกิจกรรม ณ บริเวณพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน หัวหน้าโครงการและอาจารย์ที่ปรึกษาค่ายวิชาการ กล่าวรายงานว่า ค่ายวิชาการ GEC ถูกจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2564 และปีนี้ก็เป็นปีที่ 4 ที่กิจกรรมถูกจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการให้นักเรียนที่สนใจธรณีวิทยาจากทั่วภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและสนับสนุนทักษะการทำงานให้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี ซึ่งนับเป็นค่ายวิชาการที่จัดโดยชุมนุมนักศึกษาเทคโนโลยีธรณีภายใต้การดูแลของอาจารย์เพื่อนักเรียนที่สนใจเรียนรู้ธรณีวิทยาอย่างแท้จริง โดยนักศึกษาได้ฝึกการทำงานเป็นฝ่ายเริ่มตั้งแต่การวางแผน การลงมือปฏิบัติจริง และการถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเอกสาร ฝ่ายกราฟฟิกและออกแบบ […]

คณะเทคโนโลยี มข. จัดค่าย GEC ปีที่ 4 สร้างแรงบันดาลใจเยาวชน เปิดโลกธรณีวิทยา มุ่งบ่มเพาะนักธรณีรุ่นใหม่ของไทย Read More »

ม.ขอนแก่น จับมือ ETDA จัดอบรม “การใช้ No Code” เสริมทักษะดิจิทัลบุคลากรภาครัฐ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA เดินหน้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐในยุคดิจิทัล ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร  “การใช้ No Code ทักษะใหม่เพื่ออนาคต Digital Workforce” โดยมีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้การนำของ ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดี COLA และ ผศ.ดร.อุมาวดี  เดชธำรงค์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ วิจัย และการตลาด COLA เป็นผู้ดำเนินการจัดอบรม ซึ่งมุ่งเน้นให้บุคลากรภาครัฐในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ได้เรียนรู้เครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น   การอบรมจัดขึ้น จำนวน 2 รุ่น โดยในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568  เป็นการจัดอบรมให้กับบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น (อบจ.ขอนแก่น) และบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 100 คน และในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นการจัดอบรมให้กับบุคลากรฝ่ายปกครอง ปลัด สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และข้าราชการตำรวจในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

ม.ขอนแก่น จับมือ ETDA จัดอบรม “การใช้ No Code” เสริมทักษะดิจิทัลบุคลากรภาครัฐ Read More »

มข.เดินหน้าพัฒนาวิทยุคลื่นความรู้สู่ยุคดิจิทัล ยกระดับศักยภาพนักจัดรายการ มุ่งสู่สถานีวิทยุชั้นนำภูมิภาค

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 หน่วยวิทยุ กองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบจัดรายการวิทยุผ่านระบบออนไลน์ (โปรแกรม ZOOM) และการออกแบบกราฟฟิคเพื่อใช้ในรายการวิทยุออนไลน์ ให้บุคลากรของหน่วยวิทยุ กองสื่อสารองค์กร ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักจัดรายการวิทยุ ของสถานีวิทยุกระจายเสียง โดยมีอาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและการสื่อสารองค์กร เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายชุมพร พารา ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร และ นางสาวชุตินันท์ พันธ์จรุง หัวหน้าหน่วยวิทยุ มีบุคลากรงานวิทยุและผู้เข้าร่วมการอบรม ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารแก่นกัลปพฤกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากนายนรศิษฏ์ เปล่งรัศมี นักวิชาการโสตทัศน ศึกษาชำนาญการ  และ นางสาวกานต์กมล ต้นทัพไทย นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จากสำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้   นายชุมพร พารา ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร กล่าวถึงความสำคัญของการจัดอบรมครั้งนี้ว่า “สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยขอนแก่น F.M.103 MHz เป็นมากกว่าสถานีวิทยุทั่วไป เราเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่องค์ความรู้และเป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับชุมชน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายนักจัดรายการจึงเป็นภารกิจสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการสื่อสารและการให้บริการแก่สังคม สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2567 – 2570) ที่มุ่งพัฒนาการสื่อสารองค์กรให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย” “ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญ

มข.เดินหน้าพัฒนาวิทยุคลื่นความรู้สู่ยุคดิจิทัล ยกระดับศักยภาพนักจัดรายการ มุ่งสู่สถานีวิทยุชั้นนำภูมิภาค Read More »

นักศึกษาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. คว้ารางวัลจากเวที Durian Hackathon 2025 ด้าน AI เกษตรกรรมระดับประเทศ

ทีมนักศึกษาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คว้ารางวัลชมเชยจากการแข่งขันปัญญาประดิษฐ์ทางการเกษตร Durian Hackathon 2025 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Computer Vision สำหรับภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะในกลุ่ม Smart Farmer และ Young Smart Farmer เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และคาดการณ์ปัญหาทางการเกษตรได้อย่างแม่นยำ โดยทีมนักศึกษาจากวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม “D020 No Durian No Life” ซึ่งประกอบไปด้วย นายธนรัตน์ แซ่เฮีย (หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2), นางสาวณัฐวดี ชาลีชาติ (หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2), นายจักรพรรดิ์ มั่งกูล (หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2) และ นายโภควินท์ ทรัพย์สมบูรณ์ (หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2)

นักศึกษาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. คว้ารางวัลจากเวที Durian Hackathon 2025 ด้าน AI เกษตรกรรมระดับประเทศ Read More »

อธิการบดี มข. พบผู้นำนักศึกษา หนุนความสร้างสรรค์ ส่งเสริมสวัสดิการและความปลอดภัยในรั้วมหาวิทยาลัย

        รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในกิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดการดำเนินงานกับผู้นำนักศึกษา เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากร โดยมีคณะผู้บริหารฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ นำโดย ผศ.ดร.กภ.คุรุศาสตร์ คนหาญ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ร่วมรับฟังข้อเสนอจากคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษาและสมาชิกสภานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 ไฮไลท์สำคัญจากการประชุมครั้งนี้ คือ การพูดคุยร่วมกับคณะกรรมการบริหารองค์การนักศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาโดยการสะสมแต้มจากการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชันเพื่อใช้แลกรับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย          นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตของนักศึกษา พร้อมเสนอแนวทางการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพจิตในทุกมิติ และเสนอมาตรการเสริมสร้างความปลอดภัยในการจราจร ด้วยการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรในจุดเสี่ยงและรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย   พร้อมกันนี้ท่านอธิการบดีได้เน้นย้ำถึงนโยบายการส่งเสริมเสรีภาพทางความคิดของนักศึกษา พร้อมสนับสนุนการบูรณาการกิจกรรมของคณะต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น “การประชุมครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษาแบบองค์รวม ทั้งด้านการเรียน กิจกรรม สวัสดิการ และความปลอดภัย โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม” ข่าว :: พลภัทร สายเชื้อ, ปรีดี ศรีตระกูล  

อธิการบดี มข. พบผู้นำนักศึกษา หนุนความสร้างสรรค์ ส่งเสริมสวัสดิการและความปลอดภัยในรั้วมหาวิทยาลัย Read More »

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. จัดงาน BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON เส้นทางสู่จักรวาลข้อมูล: การพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมสู่การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst)

ผศ. ดร.สุมณฑา เกษมวิลาศ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ภายใต้แผนงานย่อย N44 (S4P21) พัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีสมรรถนะและความรู้ ฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ รวมถึง Coding โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ในการจัดกิจกรรม “BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON” ในโครงการ เส้นทางสู่จักรวาลข้อมูล: การพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมสู่การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Data Universe การแข่งขัน Hackathon จัดขึ้นภายใต้ธีม “Climate Change PM 2.5” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุมวิทยวิภาส 1 อาคารวิทยวิภาส มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ. ดร.สุมณฑา เกษมวิลาศ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผู้ร่วมวิจัยประกอบไปด้วย

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. จัดงาน BOOTCAMP TRAINING & HACKATHON เส้นทางสู่จักรวาลข้อมูล: การพัฒนากำลังคนด้านการเขียนโปรแกรมสู่การเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูล (Journey to Data Universe: Empowering Coding Professionals in Data Analyst) Read More »

นักศึกษาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. โชว์ศักยภาพ คว้า 7 รางวัลจากเวทีแข่งขันระดับชาติ E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีกับ นายญาณาธร บุญลือ (หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ ชั้นที่ปี 2) และ นายปุณณวิชญ์ พงษ์สวโรจน์ (หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นที่ปี 1) สองนักศึกษาจาก วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่สร้างผลงานโดดเด่นในการแข่งขันกิจกรรม “Hackathon & Pitching สู่วิชาชีพขั้นสูง” และการนำเสนอโครงงาน (Advance Coding & AI Skills and Proposal Round: E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2) โครงการการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพด้าน STEM, Coding & AI ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ซึ่งการแข่งขันนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 1,000 คน ก่อนจะผ่านการคัดเลือกจนเหลือเพียง 20 ทีมสุดท้าย ที่เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 –

นักศึกษาวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มข. โชว์ศักยภาพ คว้า 7 รางวัลจากเวทีแข่งขันระดับชาติ E-SAN Thailand PMU-B Coding & AI Academy Season 2 Read More »

มข.เดินหน้าพัฒนาศักยภาพคณาจารย์จัดอบรมออกแบบหลักสูตรยุคใหม่ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่

ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล ร่วมกับ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ มุ่งสู่การออกแบบหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-Based Education) พร้อมยกระดับกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่   ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล ร่วมกับ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดินหน้าพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ จัดโครงการอบรม “การออกแบบหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่”  ระหว่างวันที่ 10 – 11 กุมภาพันธ์ 2568 ณ คณะสหวิทยาการ โดยมีคณาจารย์เข้าร่วมกว่า 50 คน ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล กล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยขอนแก่นกับการจัดการศึกษาตามกระบวนทัศน์ใหม่” พร้อมเน้นย้ำการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเรียนการสอนและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ผศ.ดร.สุนทรี บุชิตชน คณบดีคณะสหวิทยาการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ และ ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ สายพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการพัฒนาหลักสูตร ภายในงานมีการบรรยายและเวิร์กชอปที่เข้มข้น อาทิ – Need Analysis  วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงาน  โดย ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น – Designing

มข.เดินหน้าพัฒนาศักยภาพคณาจารย์จัดอบรมออกแบบหลักสูตรยุคใหม่ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ Read More »

สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เปิดตัวระบบมอบฉันทะออนไลน์ ยกระดับ Counter Service สู่ยุค Cashless & Queue เพิ่มความปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้น

สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการพัฒนาระบบ มอบฉันทะเอกสารสำคัญทางการศึกษา ผ่าน Micro Service ใหม่ล่าสุด รองรับการใช้งานที่ Counter Service พร้อมเทคโนโลยี Cashless & Queue ลดขั้นตอนยุ่งยากและเพิ่มความปลอดภัยในการขอเอกสารสำคัญ   สำหรับจุดเด่นของระบบ คือ – ยืนยันตัวตนสองฝ่าย ป้องกันการมอบฉันทะผิดพลาด – เชื่อมต่อบริการ Cashless & Queue สะดวก รวดเร็ว – ป้องกันปัญหาการขอเอกสารแทนแบบไม่มีระบบรองรับ ​ส่วน แรงบันดาลใจในการพัฒนา เกิดขึ้นจากการที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจและมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับกระบวนการขอเอกสารแทน สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ จึงเดินหน้าพัฒนาระบบนี้เพื่อให้ ตอบโจทย์ปัญหาที่หลายแห่งยังไม่มีโซลูชันรองรับ ซึ่งระบบดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและลดภาระงานที่ไม่จำเป็น ทั้งนี้ ระบบเปิดให้บริการตั้งแต่ ต้นปีงบประมาณ 2568 เป็นต้นไป และสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการยังคงมุ่งมั่นพัฒนา ระบบบริการดิจิทัล อย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยให้กับนิสิต นักศึกษา และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  https://registrar.kku.ac.th/    ข่าว/ภาพ : รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล 

สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ เปิดตัวระบบมอบฉันทะออนไลน์ ยกระดับ Counter Service สู่ยุค Cashless & Queue เพิ่มความปลอดภัยและสะดวกยิ่งขึ้น Read More »

มข. พัฒนาระบบ Skill Mapping Dashboard หนุนข้อมูลเชิงลึก ช่วยคณะออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องอนาคต

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โดยสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ พัฒนา Skill Mapping Dashboard ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทักษะที่จำเป็นในแต่ละอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบหลักสูตรของคณะต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มตลาดแรงงานในอนาคต ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของบัณฑิตยุคใหม่ ทั้งนี้  สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ได้พัฒนา Skill Mapping Dashboard ระบบวิเคราะห์ข้อมูลทักษะที่จำเป็นในแต่ละอาชีพ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบหลักสูตรของคณะต่าง ๆ  นั้น ได้รับการสนับสนุนและชี้แนะจากรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมด้วยข้อมูลจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สปอว.) ซึ่ง ทีม IT Support นำโดย ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักบริหารและพํฒนาวิชาการ ได้ร่วมกันพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ จุดเด่นของ Dashboard คือ – แสดงข้อมูลทักษะที่จำเป็นในแต่ละอาชีพ รวมถึงระดับความเชี่ยวชาญที่พึงมี – วิเคราะห์แนวโน้มและความถี่ของทักษะที่พบบ่อยในประกาศรับสมัครงาน – ช่วยคณะและผู้พัฒนาหลักสูตรใช้ข้อมูลเชิงลึกในการออกแบบหลักสูตรให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน สำหรับการพัฒนาระบบ Skill Mapping Dashboard ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระสิทธิภาพปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) เป็นแนวทางที่ช่วยให้คณะต่าง ๆ สามารถ ออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกจากระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการศึกษาให้ทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต  นอกจากนี้ โครงการนี้ยังส่งเสริม

มข. พัฒนาระบบ Skill Mapping Dashboard หนุนข้อมูลเชิงลึก ช่วยคณะออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องอนาคต Read More »

en_USEnglish