สำนักบริการวิชาการ จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการมัดย้อมผ้าทอมือจากวัสดุธรรมชาติและตัดเย็บผ้าไทยใส่สนุก ยกระดับผ้าทอมือพื้นเมืองตำบลบัวเงิน

               สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้จัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการมัดย้อมผ้าทอมือจากวัสดุธรรมชาติและตัดเย็บผ้าไทยใส่สนุก ภายใต้โครงการการพัฒนาและยกระดับผ้าทอมือพื้นเมืองตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น  ในระหว่างวันที่ 3 – 4 เมษายน 2566 เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ Upskill สร้างแรงจูงใจให้กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือได้ทดลองออกแบบการแปรรูปชุดแฟชั่นร่วมสมัยร่วมกับช่างฝีมือในชุมชน
                  กิจกรรมในวันที่ 3 เมษายน 2566 เน้นการฝึกทักษะด้านการออกแบบดีไซด์การตัดเย็บ และเขียนแพทเทิร์นผ้า โดย รศ.ดร.ดวงจันทร์ นาชัยสินธุ์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มข. และเพิ่มมูลค่าผ้าฝ้าย ด้วยการ Reskill การวางแผนมัดย้อมผ้าฝ้ายด้วยสีจากธรรมชาติ ซึ่งในอดีตเคยทำจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งวิทยากรให้ความสำคัญต่อวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชนเป็นหลักและเสริมทักษะเทคนิคการสกัดการให้ระดับสี เช่น ฝักคูน ใบส้มมอ ครั่ง สังกะสี วิทยากร โดย นางสาวจุฑาทิพ ไชยสุระ เจ้าของแบรนด์ JUTATIP และเป็นเจ้าของรางวัล G-mark (Good Design Award) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการออกแบบของญี่ปุ่น (Japan Institute of Design Promotion) ในปี 2564
                 ต่อมาในวันที่ 4 เมษายน 2566 เป็นการฝึกการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ชุดผ้าฝ้ายแปรรูป และการจัดนิทรรศการ (Exhibition) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ความเป็นมาของสินค้า และเดินแบบโชว์ผลงานพร้อมนำเสนอแรงบันดาลใจในการออกแบบ วิทยากรโดย “คุณตุ้ม” กรรณิการ์ แสงจันทร์ เจ้าของแบรนด์ Made by Hotcake เข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะและเปิดโลกกระทัศน์ให้หลุดจากกรอบแนวคิดเดิมและพร้อมรับสิ่งใหม่ หลังจากนั้นได้รับเกียรติ จาก รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และ นายประเสริฐ น้อยศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบัวเงิน ให้เกียรติร่วมเดินแบบแฟชั่นโชว์ในครั้งนี้ หลังจากนั้นเข้าสู่พิธีการส่งมอบผลงานสู่ชุมชนและผู้บริหารให้ข้อคิดและมอบขวัญกำลังใจให้กับชุมชนและผู้ปฏิบัติงาน
              แนวคิดการดำเนินโครงการในครั้งนี้เริ่มต้น จากโจทย์การร่วมแก้ไขปัญหาชุมชนให้กับกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น หมู่ 1,5,7,9 และ 13 ด้านการต่อยอดและพัฒนาทักษะการแปรรูปเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ใน“กลุ่มผ้าฝ้ายเข็นมือ” ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในผิวสัมผัสที่นุ่มสวมใส่สบาย ให้มีความร่วมสมัย น่าสนใจในราคาซื้อง่ายขายคล่อง เพิ่มทางเลือกใหม่ๆให้หลุดจากกรอบเดิมจากการเป็นเพียงผู้ทอผ้าให้กล้าลุกขึ้นมาสร้างมูลค่าผ้าฝ้ายทอในชุมชน เป็นการมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสังคมโดยการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ตาม SDGs มีเป้าหมายการขจัดความยากจน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโต โดยคำนึงถึงสถาพแวดล้อมและการมีสุขภาพที่ดี #จากการสนับสนุนงบประมาณจากเงินรายได้โครงการพัฒนาชุมชนเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักงานอธิการบดี    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาพ/ข่าว : นางสาวเสาวลักษณ์ ราชำ
ศูนย์บริการวิชาการสังคม สำนักบริการวิชาการ
 

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top