วันที่ 29 กันยายน 2564 คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมในโครงการสัมมนา เรื่อง “การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก” เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการยกระดับอาชีพเกษตรกรเพื่อเพิ่มรายได้ด้วยเทคโนโลยีเกษตรกรรม การสกัดสาร และการแปรรูป จังหวัดหนองคาย หรือโครงการหนองคายโมเดล นำโดย
– ส.ส.อัครวัฒน์ อัศวเหม ประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
– ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม คนที่หนึ่ง
– ส.ส.สกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร
– ส.ส.เอกธนัช อินทร์รอด กรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดหนองคาย
โดยการสัมมนาในครั้งนี้ ได้มีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ คณะที่ปรึกษาโครงการหนองคายโมเดล ตัวแทนส่วนราชการจังหวัดหนองคาย คณะผู้บริหารคณะสหวิทยาการ หัวหน้า Component และนักวิจัยภายใต้โครงการหนองคายโมเดล เข้าร่วมการสัมมนา
โดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการฯ และ ผศ.ดร.เกียรติ แสงอรุณ คณบดีคณะสหวิทยาการ หัวหน้าโครงการหนองคายโมเดล ได้กล่าวแนะนำผู้แทนส่วนราชการจังหวัดหนองคาย และคณะนักวิจัยหัวหน้า Component ภายใต้โครงการหนองคายโมเดล พร้อมกันนี้ได้นำเสนอภาพรวมโครงการ โดยมีหัวหน้า Component และทีมนักวิจัย ได้นำเสนอข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
– อ.ดร.กมลทิพย์ ปัญญาสิทธิ์ หัวหน้า Component 1: การพัฒนาระบบเกษตรปลอดภัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรจังหวัดหนองคาย
– ผศ.ดร. ฉัตรชัย ปรีชา หัวหน้า Component 2: การยกระดับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจของชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– ผศ.ดร.มัลลิกา จันทรังษี หัวหน้า Component 3: ตัวแบบการเพิ่มมูลค่าเชิงธุรกิจในการผลิตสารสกัดจากพืชในท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย
– ผศ.ดร.กฤษดา ค้าเจริญ หัวหน้า Component 4: การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า
– อ.ดร.ทรัพย์ อมรภิญโญ หัวหน้า Component 5: การตลาด การติดตามประเมินผลทางเศรษฐกิจ และสังคม
– รศ.ดร.ชญาดา สุระวนิชกุล หัวหน้าทีมสื่อสารโครงการ
ทั้งนี้ จากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา โครงการหนองคายโมเดลได้มีสมาชิกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในระยะแรก จำนวน 426 คน ทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่ไปสร้างความเข้าใจและฝึกทักษะให้เกษตรกรด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และงานวิจัย เพื่อต่อยอดให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เพิ่ม 10,000 บาท/เดือน/ครัวเรือน
โดยคณะกรรมาธิการฯ ศ.กนก วงษ์ตระหง่าน และผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้ให้ข้อเสนอแนะถึงการดำเนินงานโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรฐานราก และได้ให้แนวทางการดำเนินงานแก่ทีมนักวิจัยในทุก Component เพื่อให้สามารถทำงานให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย เน้นการสร้างมาตรฐานให้แก่การเกษตรเพื่อให้สามารถแข่งขันทางการตลาดได้ อีกทั้งให้มุมมองเรื่องการรองรับกลุ่มลูกค้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีนที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยผ่านทางรถไฟความเร็วสูงในเดือนธันวาคม 2564 นี้
- ในช่วงบ่าย คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการ หัวหน้า Component และทีมนักวิจัยในโครงการหนองคายโมเดล ยังได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อศึกษาดูงานและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
1. การผลิตพืช ผัก สมุนไพรและแมลงเศรษฐกิจ โดยพบปะเกษตรกร คุณพิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ และสมาชิกเกษตรกร ที่สวน Garden Three ต.หนองกอมเกาะ อ.เมือง จ.หนองคาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตจิ้งหรีด ร่วมกับนักวิจัยและเกษตรกรในโครงการหนองคายโมเดล
2. การผลิตสัตว์น้ำ โดยพบปะเกษตรกร นางศศิมล แสนสีมน นางประทุมวรรณ หินแสงใส และสมาชิกเกษตรกร ที่ ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตสัตว์น้ำ ร่วมกับนักวิจัยและเกษตรกรในโครงการหนองคายโมเดล
3. การผลิตสับปะรดแปลงใหญ่ โดยพบปะเกษตรกร นายไพรวรรณ อุตะมะ ประธานแปลงใหญ่สับปะรดจังหวัดหนองคาย และสมาชิกเกษตรกร ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตสับปะรดแปลงใหญ่ ร่วมกับนักวิจัยและเกษตรกรในโครงการหนองคายโมเดล