โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ คณะเทคนิคการแพทย์ นำทีมลงพื้นที่ตำบลศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในโครงการดูแลผู้สูงอายุ และรับฟังปัญหาจากเกษตรต้นแบบเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ค้นหาปัญหาและความต้องการทางด้านเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม แบบบูรณาการ คณะเทคนิคการแพทย์ นำทีมลงพื้นที่ตำบลศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
……….เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ คณะเทคนิคการแพทย์ นำโดย รศ.ดร.รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล รศ.ดร.วัณทนา ศิริธราธิวัตน์ พร้อมทีมงาน ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในโครงการดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ณ ห้องประชุมศูนย์บริการสุขภาพชุมชนเมืองบ้านหนองกุง โดยมีการประชุมร่วมกับ
– ทีมเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองตำบลศิลา นำโดยนางสมฤดี พื้นชมภู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ และน.ส.นลินี ติยะบุตร นักกายภาพบำบัด
– ทีมศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองบ้านหนองกุง นำโดยนางอุไร เฮดลุด์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (Care Manager)
– ทีมรพ.สต.โนนม่าง นำโดย นางจินตนา ฤทธิ์ทรงเมือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (Care Manager)
– ทีมรพ.สต.ศิลา นำโดย นางศิรินญา เครื่องฉาย ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผอ.รพ.สต.ศิลา (Care Manager) พร้อมด้วยตัวแทน Care Giver รวมทั้งทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T เข้าร่วมรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับโครงการดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงหรือ Long Term Care เพื่อหาแนวทาง พัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver) โครงการยกระดับเศรษรูกิจและสังคมแบบบูรณาการ
…..และในวันเดียวกันช่วงบ่าย เวลา 13.30 น คณะเทคนิคการแพทย์ นำโดย รศ.ดร วันทนา ศิริธราธิวัฒน์ ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจสมุนพร เกษตรปลอดภัย ต.ศิลา โดยคุณพ่อบรรจบ ชาทอง คุณพ่อสัญญา สามารถ และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจศึกษา รวมทั้งทีมผู้ปฏิบัติงานโครงการ U2T ประชาชน และบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมรับฟังปัญหาจากเกษตรต้นแบบเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ค้นหาปัญหาและความต้องการทางด้านเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลศิลา เพื่อหาแนวทางพัฒนาด้านการเกษตร รวมทั้งการยกระดับให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมพื้นที่ตำบลศิลา
……….ทั้งนี้ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการนำความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปช่วยยกระดับเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ชุมชนผ่านการจ้างงาน นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการว่างงานแล้ว ยังถือเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ตลอดจนสามารถพัฒนาและดึง ศักยภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการ โดยจะเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการนี้สามารถ ขับเคลื่อนชุมชนสู่การเป็นตำบลแห่งการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ”
……….ที่สำคัญโครงการนี้เกิดจากการดำเนินโครงการร่วมกันอย่างบูรณาการจากหลายหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วยหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ประชาชนในสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 แห่ง และส่วนต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคณะทำงานที่รับผิดชอบ จำนวน 16 ส่วนงาน ได้แก่ 1) คณะเกษตรศาสตร์ 2) คณะเทคนิคการแพทย์ 3) คณะเทคโนโลยี 4) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี 5) คณะพยาบาลศาสตร์ 6) คณะเภสัชศาสตร์ 7) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 8) คณะศิลปกรรมศาสตร์ 9) คณะเศรษฐศาสตร์ 10) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 11) สหการวิทยา 12) คณะสัตว แพทยศาสตร์ 13) คณะสาธารณสุขศาสตร์ 14) วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น 15) วิทยาลัยนานาชาติ และ 16) สำนักบริการวิชาการ และส่วนงานรับผิดชอบหลักสูตรฝึกอบรมแก่ผู้ถูกจ้างงาน จำนวน 3 ส่วนงาน ได้แก่ 1) คณะวิทยาศาสตร์ 2) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 3) คณะศึกษาศาตร์
……….ในส่วนของแนวทางการบริหารโครงการ ประกอบไปด้วย การจ้างงาน (20 อัตรา ต่อ 1 ตำบล) การดำเนินโครงการและกิจกรรมเป็นไปตามรูปแบบในแต่ละพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยกำหนดระยะเวลาการจ้างงานเป็นเวลา 11 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม 2564 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น (U2T) คาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป
ข้อมูล : ดรุณี ชูคันหอม โครงการยกระดับเศรษรูกิจและสังคมแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T
รวบรวมข่าว : เบญจมาภรณ์ มามุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://th.kku.ac.th/55933/