สาขาวิชาการออกแบบร่วมจัดนิทรรศการในงาน Chiang Mai Design Week 2020

สาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเชิญจากทาง TCDC เชียงใหม่ เข้าร่วมจัดวางแสดงผลงานของนักศึกษา ในงาน Chiang Mai Design Week 2020
ในโซน Acadamic Pavilion พาวินเลี่ยนอยู่ด้านหลังหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่  จัดแสดงถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2563  โดยมี ผศ.ดร.ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบและคณะทำงาน เป็นผู้ดูแลประสานงานภายในบูธนิทรรศการ โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงนั้นเป็นผลงานของ นศ.สาขาวิชาการออกแบบ ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2563 โดยคัดเลือกผลงานจำนวน 5 ผลงาน นำมาแสดงดังนี้

ผลงานของ นางสาวเกษนภา เทพมณี  
การออกแบบอัตลักษณ์และเรขศิลป์บนผลิตภัณฑ์แฟชั่นเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ภายใต้แบรนด์ มันส์ดี
IDENTITY AND GRAPHIC DESIGN PROJECT ON FASHION PRODUCTS FOR PROMOTING CONSERVATION OF ANIMALS AFFECTED BY GLOBAL WARMING UNDER “MUN’z DEE” BRAND
โครงการออกแบบอัตลักษณ์และเรขศิลป์บนผลิตภัณฑ์แฟชั่นเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ภายใต้แบรนด์ มันส์ดี โดยแบรนด์มีจุดเด่นคือ การใช้ขยะมาผลิตผลงานสร้างสรรค์ลวดลายเรขศิลป์ ผ่านกระบวนการ Upcycle กระบวนการแปลงวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุที่ไม่สามารถใช้งานตามหน้าที่เดิม ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประโยชน์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีการอัดรีดความร้อนหลอดดูดน้ำพลาสติกมาใช้เป็นส่วนประกอบบนผลิตภัณฑ์แฟชั่นเพื่อตอกย้ำแนวคิดที่ว่า “แบรนด์มันส์ดี ดีต่อโลก ดีต่อผู้ใช้”

ผลงานของ นางสาวกัญญาณัฐ กุลมงคล
โครงการออกแบบของที่ระลึก ผีตาโขน จากเซรามิก
The design of souvenirs Phi Ta Khon from ceramics
ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีของชาวด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งภายในงานจะมีการแสดงต่าง ๆ ให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม และมีของที่ระลึกมากมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกสรรกลับไป แต่เนื่องจากของที่ระลึกในปัจจุบันเป็นของที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่นทำให้ไม่คงทนเกิดการชำรุดและเก่าได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการพัฒนาทำของที่ระลึกผีตาโขนจากเซรามิก เพื่อจัดจำหน่าย อีกทั้งของที่ระลึกในปัจจุบันยังมีการออกแบบที่ไม่หลากหลาย ผู้ศึกษาจึงเกิดแนวคิดในการออกแบบ ของที่ระลึกผีตาโขนจากเซรามิก โดยมีการประยุกต์ นำเรื่องราวของผีตาโขนมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก

ผลงานของ นางสาวภัทริญาร์ มีแสงแก้ว
โครงการออกแบบของสะสมหุ่นกระบอกเซรามิก จากวรรณกรรมเรื่องสินไซ
The Design Collecttables Puppet Ceramic From Sin Chai Literature
ของสะสมหุ่นกระบอกเซรามิกมีแนวคิดโดยมีแรงบันดาลใจมาจากหุ่นกระบอกไทยบวกกับวรรณกรรมของภาคอีสานเรื่องสังข์สินชัย(สินไซ)ซึ่งศิลปะวัฒนธรรมการละเล่นหุ่นกระบอกมีความนิยมลดน้อยลงและกำลังหายสาบสูญ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมการละเล่นหุ่นกระบอกให้คงอยู่จึงมีความคิดอยากให้คนรุ่นใหม่สนใจและรู้จักวัฒนธรรมนี้ จึงออกแบบหุ่นกระบอกในรูปแบบของสะสมโดยใช้วัสดุจากเซรามิกเพื่อเป็นการทดลองกระบวนการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม และออกแบบให้มีความร่วมสมัยมากขึ้นแต่ยังคงมีเอกลักษณ์ของความเป็นอีสาน โดนนำลวดลายจิตรกรรมฝาผนังบนสิม (โบสถ์)วัดสนวนวารีพัฒนาราม จ.ขอนแก่น ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องสินไซ และโดยรอบโบสถ์มีการเขียนลวดลายดอกไม้ ซึ่งมีการเขียนและการลงสีที่มีเอกลักษณ์ จึงนำมาเป็นแรงบันดาลในการออกแบบชุดหุ่นกระบอก

ผลงานของ นายธีรเดช สุขนาแซง
การออกแบบแอคชั่นฟิกเกอร์ยุค 80s ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก รามเกียรติ์ ภายใต้แบรนด์ อ็อคเฮด OcHEAD
The project design of 80s action figure inspire by RAMAKIEN for OcHEAD brand
เรื่องราวของรามเกียรติ์ที่ตีความใหม่ ในยุค1980s ยุคบุกเบิกของวัฒนธรรมฮิปฮอปในสหรัฐอเมริกา เมื่อตัวละครต่างๆได้ตื่นขึ้นนมาในคนละสถานที่ คนละสัญชาติทั้ง อเมริกันผิวสี บราซิล ไทย และจีน เป็นเรื่องราวที่ถูกเชื่อมเข้าหากันด้วยวัฒนธรรมฮิปฮอปในยุค 1980s RAMA80s by OcHEAD Studio

ผลงานของ นายกิตติพัฒน์ โสภณประพาศ
โครงการออกแบบตราสัญลักษณ์ประจำกระทรวงในไทยในรูปแบบกึ่งทางการ เพื่อรองรับการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
The Project of Thailand Ministry Logo Design in Semi-Formal Style for 21st Century
แนวคิดในการพัฒนาภาพลักษณ์ในลักษณะ”กึ่งทางการ”ให้แต่ละกระทรวงในไทย ด้วยการออกแบบตราสัญลักษณ์ที่สามารถนำไปใช้บนสื่อดิจิทัลต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมแนวทางการนำไปใช้ของแต่ละตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้เป็นการออกแบบโดยแยกการนำไปใช้งานจากตรากระทรวงเดิมที่มีลักษณะเป็นแบบทางการอย่างชัดเจน

ข้อมูล/ภาพ : ผศ. ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร
ข่าว : กรรณภัสส์ สิริเกียรติ

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top