นักศึกษา CWIE นานาชาติ นำเสนอผลงาน ภาคต้น ปีการศึกษา 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 ณ ห้อง รับขวัญ ชั้น 3 โรงแรมบายาสิตา จังหวัดขอนแก่น รองศาสตราจารย์ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการเป็นประธานกล่าวโครงการ Presentation for International CWIE KKU โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ กล่าวรายงานความว่า การจัดโครงการ Presentation for International CWIE KKU มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

1) เพื่อให้นักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุน CWIE นานาชาติ ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 ได้นำเสนอโครงงาน/วิจัย CWIE หลังออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ

2) เพื่อคัดเลือกผลงานของนักศึกษาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการประกวดผลงาน CWIE นานาชาติ ในระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และระดับประเทศต่อไป

3) เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมรับฟังเกิดความรู้ความเข้าใจกระบวนการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน นานาชาติ ซึ่งกลไกในการพัฒนายกระดับคุณภาพอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง และมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และตลาดแรงงานทุกระดับ

รูปแบบการจัดโครงการเป็นการนำเสนอผลงาน Oral Presentation ของนักศึกษา CWIE ที่ออกปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ จำนวน 23 คน โดยแยกเป็นคณะ ดังต่อไปนี้

1. คณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 4 คน

2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 8 คน

3. วิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 3 คน

4. คณะสหวิทยาการ จำนวน 10 คน

โดยแบ่งออกเป็นประเทศ ดังต่อไปนี้

1.ออสเตรีย (Austria) จำนวน 1 คน

2.มาเลเซีย (Malaysia) จำนวน 3 คน

3.สปป.ลาว (Laos) จำนวน 4 คน

4.เวียดนาม (Vietnam) จำนวน 15 คน

สำหรับการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติและกลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ ซึ่งมีคณะกรรมการตัดสินผลงาน กลุ่มละ 3 คน และมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ดังนี้

1) รางวัลนำเสนอโครงงานและผลการปฏิบัติงาน CWIE จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

– รางวัลดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 2,000 บาท 2 รางวัล

– รางวัลรองรองดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 1,000 บาท 2 รางวัล

2) รางวัลนักศึกษา มียอดview ยอด like จากการทำคอนเทนต์บน TIKTOK หัวข้อ “CWIE นานาชาติ ดี๊ดี กับชีวิตที่ต่างแดน” จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

-รางวัลสูงสุด อันดับที่ 1 พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 2,000 บาท 1 รางวัล

-รางวัลรองลงมา อันดับที่ 2 พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 1,000 บาท 1 รางวัล

-รางวัลพิเศษ ถูกใจกรรมการ พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล 1,000 บาท 1 รางวัล

ซึ่งในโครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 6 ท่าน ได้แก่

1. ด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติฟ้า ตั้งใจจิต จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ จันทร์แก้ว จากคณะเกษตรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ชญาดา สุระวนิชกุล จากคณะสหวิทยาการในนามผู้ประกอบการ บริษัท บัวบก สมุนไพรไทย จำกัด

2. ด้าน มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ ประกอบ ด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระวัฒน์ เจริญราษฎร์ จากคณะสหวิทยาการ ดร.วันวิสาข์ วรรณพิพัฒน์ จากวิทยาลัยนานาชาติ และดร.พงศ์พันธุ์ ศรัทธาทิพย์ จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ในนามผู้ประกอบการ บริษัท แพชชั่น ฮอสพิทอลลิตี้ แอนด์ คูซีน กรุ๊ป จำกัด

หลังจากการนำเสนอมีผู้ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้

          รางวัลระดับดีเด่นอันดับที่ 1 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ ได้แก่ นางสาวอชิรญา ภูหงส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน ผลกระทบของความชื้นในเชื้อเพลิงและอัตราส่วนอากาศต่อเชื้อเพลิงกับคาร์บอนมอนนอกไซด์ในก๊าซไอเสีย จากสถานประกอบการ Thien Phuoc Manufacturing and Trading Co.,Ltd, สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)

          รางวัลระดับดีเด่นอันดับที่ 2 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ ได้แก่ นางสาวณัฐธิดา พาลโนรี คณะเกษตรศาสตร์ ชื่อผลงาน ผลของการใช้สารกระตุ้นทางชีวภาพที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของเมล่อนในระยะต้นกล้าและระยะการเจริญเติบโตทางลําต้นและใบ จากสถานประกอบการ Green World Genetics Sdn. Bhd. ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          รางวัลระดับดีเด่นอันดับที่ 1 ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ ได้แก่ นางสาวปฏิมากร หลวงราชา วิทยาลัยนานาชาติ ชื่อผลงาน ผลประโยชน์ของประเทศไทยจากการเข้าไปมีบทบาทในขั้นตอนการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและการลงทุนระหว่างประเทศ ภายใต้คณะกรรมาธิการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ คณะทำงานที่สาม จากสถานประกอบการ The Royal Thai Embassy and the Permanent Mission of Thailand in Vienna ประเทศออสเตรีย (Austria)

          รางวัลระดับดีเด่นอันดับที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ ได้แก่ นายธนัยภพ เทีย คณะสหวิทยาการ ชื่อผลงาน การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการการให้บริการ จากสถานประกอบการ Mixay Paradise Hotel สปป.ลาว

รางวัลนักศึกษา มียอดview ยอด like จากการทำคอนเทนต์บน TIKTOK หัวข้อ “CWIE นานาชาติ ดี๊ดี กับชีวิตที่ต่างแดน”

อันดับที่ 1 นายสุรกานต์ แก้วพินึก จากคณะสหวิทยาการ ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

อันดับที่ 2 นางสาวณัฐธิดา พาลโนรี จากคณะเกษตรศาสตร์ ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

อับดับที่ 2 นางสาวอภิชญา บำรุงรส จากคณะสหวิทยาการ ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

รางวัลถูกใจกรรมการ นางสาวเจนจิรา ปานิเสน จากคณะสหวิทยาการ ประเทศเวียดนาม (Vietnam)

ซึ่งการดำเนินโครงการนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work-Integrated Education: CWIE) ตามแนวทาง CWIE Platform ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะผู้เรียน ให้พร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง ตามความต้องการของตลาดงาน ผ่านการร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิต และเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนกระบวนงานการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาบูรณาการการทำงานแต่ละคณะ วิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างกำลังคน ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มุ่งหวังส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดมุมมองและขีดความสามารถในการเป็นพลเมืองโลก และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก (Global citizen)

ภาพ : หน่วยสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล งานรับเข้าและการตลาด

ข่าว : หน่วยประชาสัมพันธ์และการตลาด งานรับเข้าและการตลาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปลื้มรับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ TQC ประจำปี 2566 จัดกิจกรรมแสดงความยินดีและบรรยายเส้นทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ในอนาคต

Scroll to Top