คณะแพทยศาสตร์ จัดประชุมเพิ่มพูนทักษะ “แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกกระทำความรุนแรง”

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการ “แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกกระทำความรุนแรง” โครงการพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรีและครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ประจำปี 2566 ณ ห้องประชุมพิสิฏฐ์ เนตรเฉลียว ชั้น 4 ตึก 89 พรรษา

รศ.รสวันต์ อารีมิตร ประธานโครงการพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรีและครอบครัวมี (สาขากุมารเวชศาสตร์) กล่าวรายงานการประชุม โครงการพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรีและครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 โดยมีวัตุประสงค์หลักคือการให้บริการช่วยเหลือบำบัดฟื้นฟูเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกทารุณกรรมหรือถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งประเภทของการถูกละเมิดแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. Physical Abuse เป็นเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางด้านร่างกาย
  2.  Sexual Abuse เป็นเด็กที่ถูกกระทำอนาจาร ถูกข่มขืน
  3.  Emotional Abuse เป็นเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
  4.  Neglect เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ปล่อยปละละเลย

ด้าน ศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กล่าวว่า โครงสร้างการดำเนินงานของโครงการพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกทารุณกรรม จะได้รับการบริการโดยช่องทางพิเศษที่ดำเนินการโดยทีมสหสาขาวิชาชีพของโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย กุมารแพทย์ สูติแพทย์ จิตแพทย์ อายุรแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว นิติศาสตร์  พยาบาล นักจิตวิทยา และมีนักสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้ประสานงานให้ผู้รับบริการได้รับบริการจากช่องทางพิเศษซึ่งเป็นระบบ One-Stop  Service ให้บริการที่รวดเร็วและรักษาความลับของผู้ป่วยตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆอย่างครบวงจรนอกจากนี้โครงการฯยังมีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น สาธารณสุขจังหวัด ศูนย์พึ่งได้ (OCSS) โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลชุมชน บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น สำนักงานยุติธรรมขอนแก่น สถานีตำรวจภูธรขอนแก่นและหน่วยงานเอกชน ทำให้สามารถประสานความช่วยเหลือแก่เด็กและสตรีได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพภายในการประชุมมีการบรรยาย “แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกกระทำความรุนแรง” โดยภาพรวมของการประชุมจะเป็นการบรรยายให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทารุณกรรมร่างกายและจิตใจ การล่วงละเมิดทางเพศ  การรวบรวมและการตีความหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์  รวมไปถึงกฎหมายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติมิชอบต่อเด็ก ช่วงท้ายจบด้วยการอภิปรายกรณีของผู้ป่วย  จากวิทยากรทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อตระหนักถึงความสำคัญในการช่วยเหลือและบำบัดฟื้นฟูเด็ก สตรีและครอบครัวที่ถูกทารุณกรรมและทอดทิ้งหรือละเมิดสิทธิ นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างเครือข่ายในการดำเนินงานโครงการอีกด้วย

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top