__________เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีมอบรางวัลจากเวทีแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงความสำเร็จและความภาคภูมิใจ ครั้งที่ 11 (KKU SHOW and SHARE 2022) ซึ่งเป็นรางวัลผลงานที่เป็นเลิศมีความโดดเด่นในการพัฒนาองค์กร พัฒนาศักยภาพของคน และพัฒนาประสิทธิภาพของงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 รางวัล โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี และ รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคล กล่าวรายงานต่อประธาน และมีผู้ได้รับรางวัลจากความสำเร็จร่วมเป็นเกียรติ และรับรางวัล ณ ห้องสิริคุณากร 3 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
__________รศ.ดร.เกรียงไกร กิจเจริญ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเครื่องมือ “การจัดการความรู้” หรือ Knowledge Management (KM) มาใช้เพื่อพัฒนาองค์กร พัฒนาศักยภาพของคน พัฒนาประสิทธิภาพงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นฐานสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ กอปรกับยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2563-2566 กำหนดวิสัยทัศน์ คือ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก”(A World-Leading Research and Development University)” ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนการรวบรวมและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
__________โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงความสำเร็จและความภูมิใจ ครั้งที่ 11 KKU SHOW and SHARE 2022 จัดขึ้นเพื่อผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้โอกาสผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยได้เสนอผลงานที่เกิดจากการพัฒนางานประจำและมีการพัฒนาจนเกิดเป็นวิธีปฏิบัติงานที่ดี แนวทางการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ภายในหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมบุคลากรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน อันจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำงาน”
__________“ในการจัดโครงการครั้งนี้กำหนดกิจกรรมให้มีการประกวดแสดงผลงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการจัดแสดงผลงานความสำเร็จและเป็นเลิศและการพัฒนางานของบุคลากรในการปฏิบัติงานในรูปแบบโปสเตอร์ออนไลน์ โดยมีผู้นำเสนอผลงาน จำนวนทั้งสิ้น 140 ผลงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการบูรณาการความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของภาคอีสาน จำนวน 7 ผลงาน ผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานประจำ ด้านกระบวนการ (Process Innovation) จำนวน 49 ผลงาน ด้านการบริการ (Service Innovation) จำนวน 53 ผลงาน และด้านผลิตภัณฑ์/สิ่งประดิษฐ์/IT (Product Innovation) จำนวน 31 ผลงาน โดยวันนี้ เป็นพิธีการมอบรางวัลผลงานที่เป็นเลิศมีความโดดเด่นในการพัฒนาองค์กร พัฒนาศักยภาพของคน และพัฒนาประสิทธิภาพของงาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 21 รางวัล พร้อมทั้งรับฟังการนำเสนอจากผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภท จำนวน 4 ผลงาน”
__________รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวว่า “กิจกรรมในวันนี้ พบว่ามีคีย์เวิร์ดสามเรื่องคือ 1. Benchmarking คือเทียบเคียงสมรรถนะ หรือแนวผลงานปฏิบัติที่เป็นเลิศ คีย์เวิร์ดคำที่สองคำว่า Knowledge management คือการสามารถถ่ายทอดกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นความรู้ความชำนาญเฉพาะตัว (tacit knowledge) สู่การถ่ายทอดความรู้ชัดเจนที่สามารถถ่ายทอดได้ (explicit knowledge) จนเกิดเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งได้ และเรื่องที่สามคือ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม โดยเรื่องของ Benchmarking ปัจจุบันถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญมาก ซึ่งทฤษฏีด้าน human resource development (ทฤษฎีด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) ให้น้ำหนักในการอบรม สัมมนาที่ 10% และ 20-30 % นั้นมาจาก learning from peers หรือ การเรียนรู้จากเพื่อน เพราะจะเรียนรู้ได้ลึกซึ้งกว่าการฟังบรรยาย ที่เหลือเป็น on the job training คือการเรียนจากปฏิบัติจริง นี่คือทฤษฏีใหม่ของ human resource development ซึ่งผมคิดว่า best practice ในวันนี้จะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะถือว่าเราได้เรียนรู้จากเพื่อนที่ทำงานแล้วประสบผลสำเร็จและนำไปปรับใช้กับงานของเรา ส่วนสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ อย่าจบเพียงการทำ show&share เราควรต้องมีการนำความรู้จากที่ show&share นี้มาสังเคราะห์ และรวบรวมไว้ให้เป็นคลังความรู้ และสร้างระบบที่คนสามารถเข้าถึงและนำไปเรียนรู้และปรับใช้งานได้ ส่วนเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะสิ่งประดิษฐ์มีคุณค่าในตัวเองเป็นนวัตกรรม เป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะสร้าง high performance organization หรือองค์กรแห่งความเป็นเลิศ ซึ่งคำว่านวัตกรรมอาจจะไม่หมายถึงสิ่งประดิษฐ์อย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึงกระบวนการทำงานของเราทำให้ดีขึ้น ก็นับว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง ขอชื่นชมต่อผลงานของทุกท่าน และแสดงความยินดีต่อผู้รับรางวัล ขอบคุณฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จัดกิจกรรมประจำปีนี้ขึ้น หวังว่าทุกคนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุขกับกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้”
__________โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงความสำเร็จและความภาคภูมิใจ ครั้งที่ 11 (KKU SHOW and SHARE 2022) นับเป็นเวทีแห่งความรู้ประสบการณ์ ที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับจากการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผลงานที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี และเป็นเลิศของบุคลากรในหลากหลายด้าน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานประจำ ที่สอดคล้องอย่างเหมาะสมกับบริบทและธรรมชาติของหน่วยงาน เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการจัดการความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดความคิด เพื่อพัฒนาองค์กร พัฒนาศักยภาพของคน พัฒนาประสิทธิภาพงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO) ตามวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก”(A World-Leading Research and Development University)”
__________รับชมผลงาน E – Poster ทั้ง 140 ผลงาน ได้ที่ https://km.kku.ac.th/?page_id=741
ผลการตัดสินการประกวดผลงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประเภทผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการบูรณาการความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบริการวิชาการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของภาคอีสาน
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
1-05 | “ยางนา” พืชท้องถิ่นกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น | ผศ.ดร.สมพร เกษแก้ว
นางลักษิกา พิลาโท |
น.ส.สาวิตรี ศรีมงคล
น.ส.นันณิชา จำใบ |
ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานอธิการบดี |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 7,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
1-02 | โครงการบริการวิชาการทางพยาธิวิทยาสู่ชุมชน | นายสมบูรณ์ มาตุ้ม
นายสุวิทย์ บาลไธสง |
นางพันเพชร น้อยเมล์
น.ส.จิราภา สุทธิประภา |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
1-07 | กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางงานหัตถกรรมสู่นวัตกรรม
ผ้าไหมมอดินแดง |
นายชนะชัย ฤทธิ์ทรงเมือง | นายชาลี พรหมอินทร์ | สำนักบริการวิชาการ |
ประเภทผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานประจำ
- 1. ด้านกระบวนการ (Process Innovation)
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
2-25 | การพัฒนากระบวนการจ่ายยาผู้ป่วยใน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยา ด้วยเครื่องจัดยาอัตโนมัติ | นางสุภาพร อ่อนสนิท
น.ส.พิธุพร อุทธา น.ส.นุจรินทร์ สุวรรณไกรษร |
น.ส.ภัทรพร ตั้งสุจริต
น.ส.ศิริรัตน์ แสงพันธ์ น.ส.เนาวคุณ อริยพิมพ์ |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
2-26 | กล่องยาพร้อมใช้ รวดเร็วทันใจ เพิ่มความปลอดภัย แถมไม่เอ็คซไพร (EXP) | น.ส.สินาธร คชพันธ์
นางปฏิมาพร โยโส นายบุญทวีศักดิ์ ราชสีห์ |
น.ส.นุชรีย์ ยมดำ
นางนรนันท์ พองพรหม |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
2-15 | รปภ.ตู้แดง QR code. | นายบดินทร์ธร กุตัน | คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
2-19 | การพัฒนาโปรแกรมการลงทะเบียน รับ-ส่ง ชุดเอกสารการแจ้งหนี้ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วย ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน | นางกนิภัทร์ ศรีธรรมมา | คณะแพทยศาสตร์ | |
2-30 | ระบบขออนุมัติใช้ทุนส่งเสริมประสิทธิภาพด้านวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | น.ส.คณิศร แป้นจัตุรัส | คณะบริหารธรกิจและการบัญชี | |
2-48 | การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชน ตำบลวังสวาบแบบมีส่วนร่วม ผ่าน แอพพลิเคชั่น VISITWANGSAWAB | น.ส.เสาวลักษณ์ ราชำ | สำนักบริการวิชาการ |
ด้านการบริการ (Service Innovation)
- รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
3-30 | การพัฒนาระบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนป้องกัน
โควิด-19 สำหรับประชาชน ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
ศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล
อาจารย์เสาวนันท์ บำเรอราช นางรัชฎาพร สุนทรภาส นางจันจิราภรณ์ สิงห์ครุธ น.ส.ลัดดาวัลย์ นาสถิตย์ |
ผศ.นพ.ปริวัฒน์ ภู่เงิน
นางสายสมร ลีลดาภัทรกุล นางนุชจรี หอมนาน น.ส.ศรารัตน์ คนเพียร น.ส.ณัฐภรณ์ หาดี |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
3-50 | ระบบการขอเอกสารสำคัญทางการศึกษาฉบับดิจิทัล และการตรวจสอบย้อนกลับอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยี Digital Signature | นายกฤษณพล แสงประชุม | รศ.ดร.วรารัตน์ สงแป้น | สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
3-31 | การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ โดยให้บริการแบบกึ่งนัดติดตามการรักษาและกึ่งติดตามทางไกล เชื่อมต่อผ่านระบบสื่อสังคม ในภาวะปกติวิถีใหม่ในคลินิกรอปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลศรีนครินทร์
Quality Improvement by Offline-Online Hybrid Kidney Transplantation Waiting list Clinic in the New Normal in Srinagarind Hospital. |
น.ส.ศศิพร ยงเยื้องพันธุ์
นางทัศนีย์ พิมพ์สวัสดิ์ |
พญ.จิตรานนท์ จันทร์อ่อน
ทีมแพทย์อายุรศาสตร์สาขาวิชาโรคไต |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
3-19 | การพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการจัดระบบบริการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการมีส่วนร่วมของทีมสหสาขาวิชาชีพ | น.ส.ลัดดาภรณ์ ชินทอง | คณะแพทยศาสตร์ | |
3-33 | คลินิกดูแลและให้คำปรึกษาผู้บริจาคโลหิตทางไกล คลังเลือดกลาง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
(elemedicine in Donor clinic of Blood Transfusion Center, Faculty of Medicine, Khon Kaen University) |
ผศ.พญ.จินตนา พัวไพโรจน์
นพ.รณฤทธิ์ บุญรัตน์ นางพูนทรัพย์ ศรีพารา น.ส.น้ำริน บุญมาวงษา นายธเนต ทนุการ น.ส.ภัควรินทร์ จิระสาครพัฒน์ |
รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ เจนวิถีสุข
ผศ.พญ.วิยะดา ปัญจรัก พญ.ณัฏฐริกา กมลเลิศ นายบุญส่ง เบญจางคประเสริฐ น.ส.สุภาวดี ศรีชัย |
คณะแพทยศาสตร์ |
3-44 | กล่องรักษ์ยาและระบบบริการสุขภาพทางไกล | รศ.ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร
ผศ.ภาณุพงษ์ วันจันทึก |
รศ.ดร.สุณี เลิศสินอุดม
นางพิชามญชุ์ คงเกษม |
คณะพยาบาลศาสตร์ |
- 3.ด้านผลิตภัณฑ์/สิ่งประดิษฐ์/IT(Product Innovation)
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
4-28 | การพัฒนาดิจิทัลแพล็ตฟอร์ม KKUx เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน | ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร
นายระบิล ภักดีผล นางนฤมล น้อยนรินทร์ น.ส.นาราภัทร คำสวาท |
ดร.ยุทธนา สุมามาลย์
ดร.สามารถ สิงห์มา นายเตมินทร์ เดชพิพัฒน์ภูวดล น.ส.มณฑิชา พิทยาเสถียร |
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน
สำนักงานอธิการบดี |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 3,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อผู้ส่งผลงาน/หัวหน้าทีม/ผู้ร่วมทีม | สังกัด | |
4-5 | การพัฒนาระบบติดตามทักษะประสบการณ์ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (MDKKU-Life) และต่อยอดสู่ระบบ KKU-Life ในนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น |
อ.นพ.นราทัศพล ลิขิตดี
นายวรพงษ์ ทองพุทธ นายกฤษฏ์ ศรีภักดี น.ส.ธัชพรรณ จัดสนาม |
รศ.พญ.จุฬาพรรณ อิ้งจะนิล
น.ส.สรวงสุดา คงมั่ง นายขจรศักดิ์ แสงโทโพธิ์ |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อเจ้าของผลงาน | สังกัด | |
4-12 | แอปพลิเคชั่น PharmaGO : ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลยาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วย | ดร.ภก.ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์
ภญ.ภัทรพร ตั้งสุจริต ภญ.สุภาพร อ่อนสนิท ภญ.ศิริพร จันทฤาไชย ภก.เอกวิทย์ ไชยวงศษ์ |
ภญ.เนาวคุณ อริยพิมพ์
ภญ.ธิติมา สามแก้ว ภญ.สุภาวิณี สีพาลา ภก.พงษ์สุวัฒน์ โอษฐ์งาม ภญ.พิมพ์สุดา คนใหญ่ |
คณะแพทยศาสตร์ |
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล เงินรางวัล 1,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อเจ้าของผลงาน | สังกัด | |
4-16 | บทเรียนออนไลน์สำหรับภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาชีพแพทย์ (Structured online learning courses for Medical English) | Dr.Radhakrishnan Muthukumar
นายศราวุธ วงศ์ใหญ่ นายศราวุธ วงใหญ่ นายขจรศักดิ์ แสงโทโพธิ์ |
ผศ.ดร.พญ.อิสราภรณ์ เทพวงษา
รศ.พญ. กมลวรรณ เจนวิถีสุข.น.ส.กัญญาณัฐ ราชสีห์ |
คณะแพทยศาสตร์ |
4-27 | ระบบการทดสอบสมรรถนะความฉลาดทางดิจิทัล บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. | ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร
ว่าที่ ร.ต.ชินาธิป ชาติพุดซา |
ดร.ยุทธนา สุมามาลย์
น.ส.นาราภัทร คำสวาท นายเตมินทร์ เดชพิพัฒน์ภูวดล |
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน
สำนักงานอธิการบดี |
รางวัล Popular Vote จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 2,000 บาท ได้แก่
ลำดับ | ชื่อผลงาน | ชื่อเจ้าของผลงาน | สังกัด | |
2-04 | กระบวนการจำหน่ายแบบรวมศูนย์ สำนักงานอธิการบดี | นายอุดม โลมาอินทร์
นายอภิสิทธิ์ บัวหอม |
นางอารยา จินกสิกิจ | กองคลัง
สำนักงานอธิการบดี |
ข่าว : วัชรา น้อยชมภู
ภาพ : ณัฐวุฒิ จารุวงศ์