กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. จับมือ บ.ไอบิทซ์ ประยุกต์ใช้ ‘JetStream’ ระบบจัดการข้อมูล real-time หนุนอาคารอนุรักษ์พลังงาน

ในอดีตมนุษย์รู้จักขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นลงบนวัสดุธรรมชาติเพื่อบันทึกและจัดเก็บข้อมูล ต่อมาจึงคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ แท่นพิมพ์ หนังสือ ดิสก์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จนเกิดเป็นเทคโนโลยีในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้ปัจจุบันมีการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถรับรู้และรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ปัจจุบัน ข้อมูลส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาข้อมูล กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ เหล่านี้เราสามารถเรียกโดยรวมได้ว่าเป็นอุปกรณ์ด้าน IoT (Internet of Things) แต่ด้วยระบบฐานข้อมูลแบบเดิมไม่สามารถรองรับข้อมูลขนาดใหญ่และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ รวมทั้ง ข้อมูลที่มีอยู่มีความหลากหลายและซับซ้อนซึ่งเกิดจากอุปกรณ์ที่แตกต่างกันทั้งวิธีการสื่อสารและบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ ทำให้ยากต่อการนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จึงเริ่มมองหาเครื่องมือที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวและสนับสนุนให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น บริษัท ไอบิทซ์ จำกัด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศ หนึ่งในบริษัทผู้ใช้พื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาชื่อว่า “JetStream” เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือเรามักเรียกกันว่า ข้อมูลเรียลไทม์ (Real-Time) JetStream สามารถขยายตัวเพื่อรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังสามารถรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ที่มีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลายได้ คุณสมบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลตามความต้องการก่อนจัดเก็บเข้าระบบ หรือการแจ้งเตือนผ่านตามเงื่อนไขที่กำหนด พร้อมทั้งให้บริการข้อมูลในรูปแบบ Open API (มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน) อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) เป็นพื้นที่ให้บริการภาคเอกชนในการทำวิจัยและพัฒนาบนพื้นฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีพื้นที่ใช้สอย 18,000 ตารางเมตร […]

อุทยานวิทยาศาสตร์ มข. จับมือ บ.ไอบิทซ์ ประยุกต์ใช้ ‘JetStream’ ระบบจัดการข้อมูล real-time หนุนอาคารอนุรักษ์พลังงาน Read More »

อุทยานวิทย์ มข.ปรับกลยุทธ์สู้โควิด เน้นเยียวยาเศรษฐกิจอีสาน ผสานวัตกรรมด้านความปลอดภัย

‘ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)’ เป็นคำนิยามใหม่ที่ทุกคนรู้จักและคุ้นชินเป็นอย่างดีในระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมานี้ เราทราบกันดีว่าทั่วทุกมุมโลกได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะปัญหาปากท้องของประชาชนและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มดีขึ้นในบางประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ ด้านสถานการณ์ในประเทศไทย หลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 โดยให้มีการเปิดสถานที่ กิจการ กิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น รวมทั้งการอนุญาตให้ผู้ที่อยู่ต่างประเทศเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้บางส่วนนั้น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มีภารกิจสำคัญในการพัฒนาประเทศเพื่อก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ผ่านกลไกอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้สังกัดสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 (มีผลตั้งแต่เดือนมีนาคม– 30 กันยายน 2563) ดังนี้ 1) การลดอัตราค่าสมาชิกอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60% ของค่าบริการสมาชิกแต่ละพื้นที่ 2) การลดค่าบริการวิเคราะห์องค์ประกอบของอาหาร (Food Analysis Laboratory) และค่าบริการโรงงานต้นแบบสำหรับแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร (Food Pilot Plant) 50 % 3) การลดค่าบริการใช้พื้นที่ห้องประชุม 60%    

อุทยานวิทย์ มข.ปรับกลยุทธ์สู้โควิด เน้นเยียวยาเศรษฐกิจอีสาน ผสานวัตกรรมด้านความปลอดภัย Read More »

thไทย