หากจะกล่าวว่าประเทศไทยเป็น “ประเทศแห่งเกษตรกรรม” ก็คงไม่ผิด เพราะจำนวนพี่น้องเกษตรกร 8.7 ล้านคน ประกอบกับพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตรกว่า 142.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 44.5 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด ส่งผลให้สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) วิเคราะห์มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) พบว่าภาคเกษตรกรรมมีมูลค่า 1,531,120 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.81 ของ GDP รวมของประเทศ แต่จากปัญหาทางทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลง และปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกษตรกรที่มีรายได้น้อยอยู่แล้วประสบปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรบางส่วนจึงหันไปพึ่งการทำการเกษตรแบบ “เกษตรเคมี” มากกว่า โดยหวังจะช่วยให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทว่านี่อาจเป็นการสร้างความเสียหายต่อที่ดินทำกิน และส่งผลต่อความยั่งยืนในการทำการเกษตรในอนาคต จากปัญหานี้เองทำให้มีนักวิชาการหันมาสนใจศึกษาถึงวิธีการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีสภาพที่ดินทำกินที่เอื้อต่อการผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ซึ่งความสนใจนี้ทำให้ รศ.ดร.นันทวัน ฤทธิ์เดช อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาแบบ “เกษตรอินทรีย์” โดยการนำแกลบมาหมักกับเชื้อจุลินทรีย์เพื่อบำรุงดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการนำแกลบที่ใช้ปรับปรุงดินอยู่แล้วไปต่อยอดให้มีประสิทธิภาพที่ดีขื้นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรไทย งานวิจัยนี้ได้นำแกลบดิบมาทำการปรับสภาพด้วยน้ำประปา โมลาส(กากน้ำตาล) ปูนขาว กรดอะซิติก(กรดน้ำส้ม) เป็นเวลา 30 วัน และนำแกลบดิบผสมกับปุ๋ยคอกและหัวเชื้อแบคทีเรีย (Co-inoculums) เป็นระยะเวลา 2