มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแผนกพัฒนาธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (University BootCamp) ภายใต้โปรแกรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเร่งการเป็นผู้ประกอบการจากมหาวิทยาลัยในเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศ (World Class Opportunity with Experiential Learning Program) ปีที่ 2 ในพิธีเปิด ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและกล่าวเปิดกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร 2 ท่าน ดังนี้ 1) ดร.รณกร ไวยวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมแห่งสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation hub) Head of seed and sustainable development specialization, Integrated innovation, CHULALONGKORN UNIVERSITY และ 2) นายธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน อุปนายกสมาคมสตาร์ทอัพไทย และผู้ก่อตั้งบริษัท SEA Bridge และ Really Casper ทั้งนี้ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เข้าร่วมกิจกรรมฯ ผ่านออนไลน์ และออนไซต์ เมื่อวันที่ 27 – 28 เมษายน 2567 ณ Meeting Room 5 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)
ถัดมาเป็นกิจกรรมคัดเลือกสตาร์ทอัพรอบระดับมหาวิทยาลัย (University Pithching) ในวันที่ 29 เมษายน 2567 ณ The Beegins Co-working Space พิธีเปิด รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดกิจกรรมฯ โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการ 3 ท่านดังนี้ 1) รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2) รศ.ดร.ธีระวัฒน์ เจริญราษฎร์ อาจารย์ประจำคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 3) ดร.พีระพงษ์ วงษ์ทหาร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ มีนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความสนใจและเข้าร่วมนำเสนอไอเดียธุรกิจ (ภาคภาษาอังกฤษ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยสู่ตลาดต่างประเทศ ผ่านการเรียนรู้และนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกในโครงการ ELP ทดสอบในตลาดจริงร่วมกับเอกชน 5 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น โดยมีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมคัดเลือกในรอบระดับภูมิภาค จำนวน 15 คน ดังนี้
นักศึกษา ทั้ง 15 คน จะได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมการแข่งขันในรอบระดับภูมิภาค ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในวันที่ 2 – 4 มิถุนายน 2567 เพื่อคัดเลือกตัวแทนภูมิภาค 16 คน เข้าร่วมกิจกรรมในรอบระดับประเทศ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไป
*******
ข่าว : ณัฐกานต์ / ภาพ : ปภาดา