เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2565 งานสนับสนุนวิชาการและพัฒนานักศึกษา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ห้อง Innovation park อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ 2 ชั้น 1 จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักสูตรบูรณาการและหลักสูตรระยะสั้นระหว่างสาขาวิชาโดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ แสงอรุณ คณบดีคณะสหวิทยาการ เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ (OKR: Objective and Key Result) โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาบุคคล ดัวยให้มีการพัฒนาหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ (Learning Paradigm Curriculum) ซึ่งหมายถึง หลักสูตรที่มีกระบวนการในการปรับเปลี่ยนจากหลักสูตรเดิมที่เน้นการสอน (Teaching Paradigm Curriculum) มาเป็นหลักสูตรใหม่ การเน้นการเรียนรู้ (Learning Paradigm Curriculum) หรือหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ที่เน้นการเรียนรู้โดยมี 5 องค์ประกอบ โดยมีการปรับเปลี่ยนการสอนและโครงสร้างการเรียนรู้จาก “การได้รับปริญญาเมื่อมีการสะสมหน่วย กิตครบตามหลักสูตร” เป็น “การได้รับปริญญาเมื่อแสดงได้ว่ามีความรู้และทักษะตามที่ได้แสดงในหลักสูตร หรือการเปลี่ยนจาก “การจัดเนื้อหาตามศาสตร์หรือสาขาวิชา” เป็น “การจัดเนื้อหาวิชาที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์หรือสาขาวิชา” ดังนั้น ทางฝ่ายการศึกษาของคณะสหวิทยาการ ได้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรเดิมสู่กระบวนทัศน์ใหม่ จึงได้ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักสูตรบูรณาการและหลักสูตรระยะสั้นระหว่างสาขาวิชา เพื่อพัฒนาอาจารย์เพื่อตอบการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันและสอดคล้องการนโยบายของทางมหาวิทยาลัยและคณะ
วิทยากรบรรยายหัวข้อ “หลักการและแนวทางการออกแบบหลักสูตร Non degree”
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คุณเดช สุริหาร
บรรยายหัวข้อ “การดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร Non degree”
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.คุณเดช สุริหาร
อบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำรายละเอียดการออกแบบหลักสูตร Non degree)”
แบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คุณเดช สุริหาร
กลุ่มที่ 2 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณกรณ์ จงรั้งกลาง
กลุ่มที่ 3 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ จันทร์แก้ว
วันที่ 1 มิถุยายน 2565 มีการบรรยายหัวข้อ “แนวทางการจัดทำหลักสูตรที่แตกต่างจากมาตรฐานการศึกษา (หลักสูตร Sanbox)”และอบรมเชิงปฏิบัติการ “จัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอเชิงหลักการหลักสูตร Sanbox คณะสหวิทยาการ)” สรุปแนวทางการนำไปใช้ และถาม-ตอบ ข้อเสนอแนะ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภัทรียา ลาสุนนท์ รองคณบดีคณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ในการเข้าอบรมครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้หลักสูตรมีการวางแผนปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนทัศน์ใหม่ มีคณาจารย์ สาขาวิชา คณะสหวิทยาการ เข้าร่วมรับฟังบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก
ภาพ / ข่าว : อนิรุต สุทธินันท์