มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน” ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม โดยมี ดร.ลัดดาวัลย์ สีพาชัย รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กล่าวต้อนรับ และ ผศ.ดร.สุรกานต์ รวยสูงเนิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าวรายงานโครงการ พร้อมด้วย ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อ.อภิญญา อาษาราช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม อ.กานต์ธิดา บุญเสริม รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โดยมี กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมอบรมในโครงการ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม คุ้มสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน เป็นการให้บริการแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งสอดคล้องกับพื้นฐานและศักยภาพของชุมชนรวมทั้งทรัพยากรภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะพื้นที่ อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนารูปแบบและคุณภาพให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นจุดเด่น เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสามารถเป็นแหล่งรายได้ของชุมชนอันจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนได้
โดยมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์ชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม และเป็นการให้บริการวิชาการในการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน อย่างสร้างสรรค์ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น สู่การพัฒนาชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม อีกทั้งได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย เกิดการพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ และเกิดชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยคณะวิทยากรจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย อาจารย์ภาคินี เปล่งดีสกุล อาจารย์อรรคพล ล่าม่วง และคณะ ซึ่งมี 10 กลุ่มผู้ประกอบการร่วมอบรม ได้แก่ กลุ่มจักสานพังทุย โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าป้อง กลุ่มจักสานไม้ไผ่ไดโนเสาร์ กลุ่มทอเสื่อกกไดโนเสาร์ กลุ่มทอผ้าโคกภูตากา กลุ่มผลิตภัณฑ์จากต้นกกบ้านนาโน กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง กลุ่มบ้านสบายจิตร กลุ่มผ้าไหมสมใจนึก และกลุ่มจักสานกระติบข้าวไผ่ตะวัน
ทั้งนี้ผลงานสร้างสรรค์จากโครงการการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน จะนำไปจัดนิทรรศการแสดงผลงานในวันที่ 20 – 22 สิงหาคม 2564 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์และร่วมสมัย การสร้างสรรค์เศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์ในชุมชนโดยได้รับความร่วมมือระหว่างศูนย์ศิลปวัฒนธรรม และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสังคม ชุมชน และมีการเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานวัฒนธรรม สังคม ศาสนา และเศรษฐกิจ จึงเน้นเรื่องการสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการสร้างมูลค่าเพิ่มของงานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน โดยใช้แนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่ภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติได้ โดยโครงการ“อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน” เป็นการให้บริการแก่สังคม เยาวชน และบุคคลที่สนใจเข้าร่วม ที่ช่วยส่งเสริมความเจริญทางความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การจินตนาการ และยังได้เห็นคุณค่าของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หล่อหลอมให้เป็นผู้มีจิตสํานึกที่ดีต่อสังคมในทางอ้อม ได้มุมมองทางด้านศิลปะและนําความรู้ไปใช้ได้จริง
ผศ.ดร.สุรกานต์ รวยสูงเนิน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าวว่า ด้วย ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่นได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์ชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรม เป็นการให้บริการวิชาการในการถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น ได้ชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย เกิดการพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคคลากรในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ได้ชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เชิงวัฒนธรรมของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ม.ขอนแก่น โดยมีการจัดโครงการเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แล้วนำไปจัดนิทรรศการโชว์ผลงานในวันที่ 20 – 22 สิงหาคม 2564 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการประกอบด้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 กลุ่มซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีการผลักดันทางด้านภูมิปัญญา และมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบให้กับ กลุ่มอื่นๆในอนาคต ซึ่งได้แก่ กลุ่มจักสานพังทุย โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา กลุ่มผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านหนองหญ้าป้อง กลุ่มจักสานไม้ไผ่ไดโนเสาร์ กลุ่มทอเสื่อกกไดโนเสาร์ กลุ่มทอผ้าโคกภูตากา กลุ่มผลิตภัณฑ์จากต้นกกบ้านนาโน กลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง กลุ่มบ้านสบายจิตร กลุ่มผ้าไหมสมใจนึก และกลุ่มจักสานกระติบข้าวไผ่ตะวัน
ดร.ลัดดาวัลย์ สีพาชัย รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการให้บริการแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย ในจังหวัดขอนแก่น ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ และนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน เป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งสอดคล้องกับพื้นฐานและศักยภาพของชุมชนรวมทั้งทรัพยากรภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะพื้นที่ อีกทั้งส่งเสริมการพัฒนารูปแบบและคุณภาพให้ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นจุดเด่น เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคสามารถเป็นแหล่งรายได้ของชุมชนอันจะนําไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนได้
KKU transfers knowledge in creative product development and community involvement
https://www.kku.ac.th/11615