เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 16.30 – 17.30 น. คณะกรรมการบริหารโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุมครั้งที่ 1/2564 โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมการประชุมผ่านการประชุมออนไลน์ พร้อมกันนี้ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.ธนูสิทธิ์ บุรินทร์ประโคน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ รศ.ดร.วิทยา อมรกิจบำรุง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรม วัสดุนาโนเพื่อพลังงาน คณะวิทยาศาสตร์ ผศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง สถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน คณะวิทยาศาสตร์ พร้อมคณะกรรมการบริหารโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ชั้น 5 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การประชุมคณะกรรมการบริหารโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 1/2564 ประกอบด้วย 5 วาระ โดยวาระที่ 1 เป็นเรื่องแจ้งเพื่อทราบ อาทิ การขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (มอก.) ของแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออนขนาด 18650 การแต่งตั้ง ศาสตราจารย์วิทยา อมรกิจบำรุง เป็นที่ปรึกษาโครงการ โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น การแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์นงลักษณ์ มีทอง เป็นคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ และ แผนการดำเนินงาน “โครงการแบตเตอรี่สำรองสำหรับ PAPR และแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ได้”
วาระที่ 2 เป็นการรับรองรายงานการประชุม ประกอบด้วยรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 3/2563 วันพุธ ที่ 21 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 – 15.00 น.
วาระที่ 3 เป็นเรื่องสืบเนื่อง อาทิ แผนการส่งมอบผลิตภัณฑ์ของโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ฯ การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2564
วาระที่ 4 เป็นเรื่องพิจารณา อาทิ พิจารณาการร่วมโครงการวิจัยและการจัดทำ MOU กับ บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน)เกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System, ESS) ขนาด 50kW/300kWh พิจารณาการร่วมโครงการวิจัยกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หัวข้อหลักๆ ประกอบด้วย 1) การใช้งานแบตเตอรี่ลิเทียมไออนกับระบบ ESS 2) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ Solid state battery 3) การ Recycle battery 4) การวิจัยและพัฒนาอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ และ การขอรับมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล (IEC) ของผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
วาระที่ 5 เป็นการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในครั้งต่อไป
ทั้งนี้ในการประชุมในหัวข้อ แผนการดำเนินงาน “โครงการแบตเตอรี่สำรองสำหรับ PAPR และแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ได้” นับเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ โดยโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับการอนุมัติโครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 โดยมีแหล่งทุนจากเงินกู้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563
โดยโครงการแบตเตอรี่สำรองสำหรับ PAPR และแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเซลล์แบตเตอรี่สำหรับชุด PAPR และอุปกรณ์การแพทย์เคลื่อนที่ได้ ไม่น้อยกว่า 1,000 ชุด และ ส่งมอบให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อแจกจ่ายโรงพยาบาลทั่วประเทศ และยังเป็นการลดต้นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ได้มากกว่า 25 ล้านบาท ซึ่งโครงการมีแผนการส่งมอบชุดแบตเตอรี่ให้กับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2564
ข้อมูลเพิ่มเติม : แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนจากเถ้าแกลบต้นแบบแบตเตอรี่อัจฉริยะ [KKU]