OPSCD COLA KKU สร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการ ประชุมทางไกลผ่าน “ซูม” หาคำตอบโลกหลัง Covid-19 และส่งความห่วงใยสู้ภัยโควิด-19

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU สร้างเครือข่าย ความร่วมมือทางวิชาการ ประชุมทางไกลผ่าน “ซูม” หาคำตอบโลกหลัง Covid-19 และส่งความห่วงใยสู้ภัยโควิด-19

ด้วยวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU โดย ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ Covid-19 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบครั้งยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ประเด็นที่เป็นความห่วงใย คือ จะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยภายหลังสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 และเพื่อหาคำตอบและเป็นการเตรียมการรองรับในอนาคต  ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  จึงได้กำหนดจัดการประชุมสัมมนาเพื่อหาคำตอบ “โลกหลัง Covid-19” ภายใต้หลักสูตร “ผู้นำพัฒนาเมืองอัจฉริยะ” (Smart City Development Leaders) ผ่านระบบ Zoom Meeting  ซึ่งได้กำหนดจัดติดต่อกันทุกสัปดาห์ ในช่วงเดือน เมษายน ถึง เดือนมิทุนายน 2563 ในเวลา 13.30 น. – 14.30 น.

โดยเนื้อหาในการประชุมสัมมนาเพื่อหาคำตอบ “โลกหลัง Covid-19” จะกล่าวถึง ความถดถอยที่เกิดอย่างรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของแต่ละยุค ดังจะเห็นได้จาก ในญี่ปุ่นมีประชาธิปไตยแบบไทโซ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นเผด็จการรัฐทหาร เช่นเดียวกันกับในยุโรป ที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า ฟาสซิสต์และนาซี และสำหรับการสัมมนาในแต่ละครั้งนั้น ได้รับเกียรติจาก วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่มีความพร้อม และมีชื่อเสียงหลายท่าน มาถ่ายทอดมุมมอง แนวความคิด ความรู้ และประสบการณ์

วันที่ 16 เมษายน 2563 ถือเป็นวันแรกของการจัดกิจกรรม รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติมากล่าวเปิดกิจกรรม อันมีใจความโดยสังเขปว่า “ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบอนาคตของประเทศไทยร่วมกับทุกท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนาคตที่เป็นผลกระทบของ Covid-19 ซึ่งทุกท่านทราบดีว่า สถานการณ์ Covid-19 ก่อให้เกิดผลกระทบครั้งยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ประเด็นที่เป็นความห่วงใย คือ จะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยภายหลังสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 เพื่อหาคำตอบและเป็นการเตรียมการรองรับในอนาคต ซึ่งจะจัดติดต่อกันทุกสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นภาพในอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง สิ่งที่เกิดนั้นเป็นโอกาสหรือเป็นภาวะคุกคาม แล้วเราจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร”

ตามต่อด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ วิทยากรท่านแรกของการจัดประชุมระบบซูมออนไลน์ โดยได้บรรยายเรื่อง “มองโลกหลัง COVID-19” ว่า การเมืองโลก การเมืองไทยเปลี่ยนอย่างไร และควรทำยังไง ซึ่งส่วนหนึ่งของการบรรยาย รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ กล่าวว่า “เรื่องของโควิด-19 เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนมีความกังวล ทั้งในระดับบุคคล ท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับโลก โควิด-19 เป็นเรื่องที่ผมคิดว่า เป็นเรื่องที่เราน่าจะประสบสักเพียงหนึ่งครั้งในชีวิตน่ะครับ คือ ถ้าคิดไปแล้วเนี้ย ไข้หวัดใหญ่สเปนประมาณ 102 ปีที่แล้ว รอบนี้โควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสเนี้ย มันเป็นไวรัสตัวหนึ่ง แต่ว่า มันเป็นตัวใหม่ Normal Coronavirus เขาไปตั้งชื่อเล่นว่า เป็นโควิด-19 ผมคิดว่า เราอาจจะต้องดูอย่างนี้ครับ สักสามถึงสี่ระดับ อันแรกก็คือ ดูระดับของประเทศเราเองในกรอบของบริบทของโลกน่ะครับ ในภาพรวม คือ ตอนนี้คนติดเชื้อสองล้านกว่าคนแล้วทั่วโลกน่ะครับ ตัวเลขดูไปแล้วน่ากลัว ขณะเดียวกันตอนนี้ที่คิดว่า เป็นความท้าทายของประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย เราจะชั่งน้ำหนักหาความสมดุลความลงตัว ความพอเหมาะพอเจาะว่า ตรงไหนเป็นความพอดีสมน้ำสมเนื้อในการรับมือ คือ หลาย ๆ ประเทศเป็นอย่างเราครับ ปิดประเทศแล้วมีแบบเก็บตัวกันเอง แต่ตอนนี้ผมคิดว่า กระแสมันเริ่มพลิกแล้วครับ…” ทั้งนี้ ท่านที่สนใจตดตามเนื้อหาเพิ่มเติม สามารถรับชมกิจกรรมย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/Qqg8yE35Pew

ครั้งที่ 2 คือ วันที่ 17 เมษายน 2563 นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการตลาด รักษาการ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานสื่อสารองค์กรและ CSR ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร บรรยาย เรื่อง พฤติกรรมของผู้บริโภคหลังยุคโควิด-19  โดยส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนมุมมอง ได้กล่าวว่า “โควิด-19 มันเป็นหนึ่งใน Factor ที่เร่งกระบวนการที่เรียกว่า Disruptions  ให้มันเร็วขึ้นไปอีก อย่าลืมว่า ก่อนที่จะมีโควิด-19 เราก็เหนื่อยกันอยู่แล้วเรื่องเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเห็นมั้ยครับว่า มันมีอะไรหลาย ๆ อย่าง โควิด-19 ผมว่า มันเร่งหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเราจะเห็นอย่างแรกเลยหลังโควิด-19 เห็นแน่ ๆ คือ Super Applications  ที่จะมีพลังอย่างมหาศาล เพราะว่า ตอนนี้เราอยู่กระบวนการที่นักวิชาการเรียกว่า Social Experiment ครั้งใหญ่ที่สุดของโลกที่เราจะต้องอยู่กับบ้านพร้อม ๆ กันทั้งโลกเนี้ยครับ ซึ่งมันทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนเยอะ ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยจากที่ผมฟังมาจากนักวิชาการระดับโลกเนี้ย “เขาบอกว่า มหาวิทยาลัยทุกมหาวิทยาลัย เราจะสอนออนไลน์กันอย่างไร ซึ่งเราพูดกันมา 20 ปี แล้ว แต่เราเพิ่งจะมาทำจริงกันประมาณ 1 สัปดาห์นี้น่ะครับ” หรือเรียกว่า เป็นมหกรรมของการทดลองที่เราไม่รู้ว่าทำอะไร แล้วเราก็มาทำอย่างนี้ภายในหนึ่งอาทิตย์ แล้วเราก็มาทำอย่างนี้ …” ทั้งนี้ ท่านที่สนใจตดตามเนื้อหาเพิ่มเติม สามารถรับชมกิจกรรมย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/gBGjSGC8euo

ครั้งที่ 3 คือ วันที่ 20 เมษายน 2563 นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร บรรยาย เรื่อง“COVID-19 เปลี่ยนคน BLOCKCHAIN เปลี่ยนโลก” โดยมีประเด็นพอสังเขป คือเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็น ระบบสนับสนุนหนึ่งที่จะทาให้การพัฒนาเมือง ส่วนตัวไปได้อย่างชาญฉลาด ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาพลเมือง การใช้ชีวิต การพัฒนาพลังงาน การบริหารจัดการภาครัฐ การคมนาคมขนส่ง แต่การออกแบบ เรื่องนี้ต้องคานึงถึง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง “People Centric” โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน …” ทั้งนี้ ท่านที่สนใจตดตามเนื้อหาเพิ่มเติม สามารถรับชมกิจกรรมย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/4KHEfYXa6CY

ครั้งที่ 4 คือ วันที่ 21 เมษายน 2563 เป็นการเสวนาเรื่อง “การปรับตัวของท้องถิ่น หาก COVID-19 ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคของคนแล้ว ท้องถิ่นจะมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร”  โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย 1) นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น 2)  นายกมลพงศ์ สงวนตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น 3)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล 4) นายวิพัฒนาชัย พิมพ์หิน เลขาสภาองค์กรชุมชนจังหวัดขอนแก่น 5)  นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) CHO และ รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 6) รองศาสตราจารย์ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ (ผู้ดำเนินรายการ) สำหรับสาระส่วนหนึ่งของการบรรยาย คือ การบริหารในท้องถิ่นส่วนใดที่ต้องปรับรูปแบบ เพื่อให้การรับมือกับสถานการณ์วิกฤติเช่นโควิดเป็นไปอย่างราบรื่นและส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด ประสิทธิภาพการรับมือจะเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่หากท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณมาจัดการเองได้มากขึ้น ในกรณีดังกล่าวจะมีมาตรการอย่างไรเพื่อรักษาความโปร่งใสของการจัดการรายรับรายจ่าย ความเป็นไปได้ในการจัดการมาตรการให้ความช่วยเหลือสำหรับภาคธุรกิจและประชาชนในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด และระบบการสร้างคนภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่จะต้องเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ท่านที่สนใจตดตามเนื้อหาเพิ่มเติม สามารถรับชมกิจกรรมย้อนหลังได้ที่: https://youtu.be/Dk_CyzoCXNs

ครั้งที่ 5 คือ วันที่ 22 เมษายน 2563

สำหรับส่วนสร้างสรรค์รายการ ในการประชุมสัมมนาเพื่อหาคำตอบ “โลกหลัง Covid-19” ในแต่ละครั้งนั้น อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  มข. และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) CHO พร้อมด้วย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ได้ให้เกียรติ ทำหน้าที่เป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการ และควบคุมการผลิต ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ขอขอบคุณ Zoom ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ เป็นโปรแกรมออนไลน์สำหรับการ conference Share Screen รองรับผู้เข้าร่วมพร้อมกันได้เป็นจำนวนมาก ใช้งานง่าย ผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตได้ ด้วยขั้นตอนไม่ยุ่งยาก โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้ license Zoom for Education โดยเปิดให้ใช้งานฟีเจอร์ที่มากกว่า basic เพราะ การประชุมสัมมนาเพื่อหาคำตอบ “โลกหลัง Covid-19” ได้รับความสนใจเกินคาด จากผู้เข้าร่วมที่มีมาก ถึง 300 คน ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถ บันทึกกิจกรรมทั้งหมดได้ ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามรายการ การประชุมสัมมนาเพื่อหาคำตอบ “โลกหลัง Covid-19” ในครั้งถัดไปสามารถสอบถามได้ที่ คุณสุภาวดี แก้วคำแสน 092-964-4088 ksupaw@kku.ac.th

 

 

 

ภาพ/ข่าว:ภาภรณ์ เรืองวิชา

Scroll to Top