อาจารย์นิติศาสตร์ มข.เปิดวิวัฒนาการกฎหมาย-สรุปร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กับสิทธิ LGBTQIA+ ในสังคมไทย

กลายเป็นประเด็นร้อนในสื่อสังคมออนไลน์ จนติดเทรนด์ X และคำค้นหายอดนิยมบน Google ในช่วงนี้ สำหรับ #สมรสเท่าเทียม หลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบ ร่าง ...สมรสเท่าเทียม หรือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในวาระ 3

กว่าจะมาถึงวันนี้ที่ชาวโซเชียลต่างร่วมยินดีกัน ร่าง ...สมรสเท่าเทียม เดินทางมายาวนานกว่า 20 ปี โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้หยิบยกประเด็นนี้มาเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของนักศึกษา ทั้งเป็นแนวคิดหลักเพื่อสะท้อนความไม่เท่าเทียมกันในสังคมผ่านละครเวที 10 ปี บรรพ นิติศาตร์การละคอน การเสวนาเปิดพื้นที่ให้วิทยากรและคนรุ่นใหม่กลุ่ม LGBTQA+ มาร่วมสะท้อนปัญหาและหาแนวทางแก้ไข รวมทั้งการเชิญวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย และกรรมาธิการวิสามัญฯ  นับเป็นอีกกระบวนการที่นำประเด็นสังคมและกฎหมายต่าง ที่น่าสนใจมาปรับใช้ในการเรียนการสอนอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจบริบทในสังคม พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

กว่าจะเป็น ร่าง ...สมรสเท่าเทียม

...สมรสเท่าเทียมใช้เวลากว่า 20 ปี ในการวิวัฒนาการทางกฎหมาย ใช้เวลาของสังคมในการยอมรับเรื่องเพศสภาพ และอัตลักษณ์ส่วนตัวของบุคคล จากคำถามว่า ทำไม LGBTQIA+ ถึงไม่ได้รับสิทธิหรือโอกาสต่าง ที่เท่าเทียมกับคนอื่น ในสังคม

อาจารย์นรากร วรรณพงษ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ ร่าง ...สมรสเท่าเทียม ที่มีการเรียกร้องมาอย่างยาวนาน กระทั่งเมื่อเดือนธันวาคมปี 2566 ...สมรสเท่าเทียมเข้าสู่รัฐสภา และผ่านการพิจารณาจนนำไปสู่ความหวัง ในการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วยคะแนนเสียงข้างมากที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติในสังคมไทยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นทิศทางที่ดีที่จะช่วยให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การเดินทางของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมมาไกลเกินครึ่งทางแล้ว ต่อไปจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาต่อไปในวาระ 2 ตั้งกรรมาธิการ และวาระ 3 ลงมติเห็นชอบ ซึ่งต้องจับตามองต่อไป คาดว่าหากพิจารณาแล้วเสร็จภายในปีนี้ ก็อาจจะมีลุ้นได้เห็นการบังคับใช้จริงอย่างเร็วสุดปีหน้า คงอีกไม่นานเกินรอ แต่โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน อาจจะมีมาตราไหนที่ต้องตีกลับไปแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ แต่หากผ่านความเห็นชอบ ก็ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย เป็นจุดเริ่มต้นที่ประเทศไทยมองเห็นสิทธิของทุกคน บนความเท่าเทียมกัน 


สรุป ร่าง ...สมรสเท่าเทียม LGBTQA+ มีสิทธิอะไรบ้าง

อาจารย์นรากร ยังอธิบายเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่าง ...สมรสเท่าเทียมว่า เป็นการขยายสิทธิสมรสให้ครอบคลุมกับทุกคน โดยมีการแก้ไขเกี่ยวกับคำสำคัญ คือ เมื่อก่อนใช้คำว่าชายและหญิงในการหมั้นและสมรส เช่น คู่หมั้นฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง แต่ครั้งนี้จะมีการแก้ไขให้เป็นคำว่า บุคคลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ผู้รับหมั้น ผู้หมั้น ส่งผลให้ทุกคนในประเทศนี้สามารถจดทะเบียนสมรสได้ เป็นการรับรองสถานะว่าทั้งคู่สมรสกันแล้ว อีกประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยน คือ เรื่องของอายุในการหมั้นและการสมรส จากเดิมอายุ 17 ปี เปลี่ยนให้เป็น อายุ 18 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว สิทธิต่าง ทางกฎหมายของคู่สมรสย่อมตามมา ทั้งสิทธิสวัสดิการ การรักษาพยาบาล สิทธิทางคดีอาญา การลงนามรับรองให้รักษาหรือไม่รับการรักษาพยาบาล หรือแม้แต่การรับมรดก หรือจัดการทรัพย์สิน เป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์และเป็นสาระสำคัญอันเป็นแนวทางที่ดีของคนไทย และสังคมไทย

ร่าง ...สมรสเท่าเทียม ทำให้เห็นว่า ความรักไม่ใช่เฉพาะผู้หญิงกับผู้ชาย แต่ความรัก คือ ความรักกับความรัก

ทั้งนี้ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นส่วนงานที่พร้อมให้ความรู้ ข้อมูลต่าง เกี่ยวกับกฎหมาย รวมถึงยังหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ซึ่งแต่ละวิชาได้บรรจุเนื้อหาอย่างครบถ้วน พร้อมพัฒนาไปตามยุคสมัยมาตลอดระยะเวลา 17 ปี ของคณะ และล่าสุดกับหลักสูตร 4 ปี 2 ปริญญา ที่ผู้เรียนจะได้รับทั้งนิติศาสตรบัณฑิต และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตเมื่อเรียนจบหลักสูตร นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่รอทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสักทอง รั้วมอดินแดงในอนาคต

Scroll to Top