คณะแพทย์ มข.แถลงความสำเร็จสู่ผู้นำการวิจัยเชิงสังเคราะห์ จากข้อมูลระดับโลกช่วยชีวิตผู้ป่วย

ในวันที่  21 มีนาคม 2567 เวลา 9.00 น.  รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ .นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์   รศ.วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ แถลงข่าวความสำเร็จในการก้าวเป็นผู้นำในเรื่องการวิจัยเชิงสังเคราะห์และการนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มารักษาผู้ป่วยและสร้างนักวิจัยในไทยและต่างประเทศ  ในการนี้มี รศ.วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ .นพ.บุญพันธ์  บุญมาก ภาควิชาวิสัญญี  และรศ.ดร.เชษฐา  งามจรัส สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมทีมนักวิจัย ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ณ ห้องประชุมหนองแวง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์  คณบดีคณะแพทยศาสตร์

รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์  ได้กล่าวถึงความสำเร็จก้าวเป็นผู้นำในเรื่องการวิจัยเชิงสังเคราะห์และการผลิตและนำข้อมูลที่เชื่อถือได้มารักษาผู้ป่วยและสร้างนักวิจัยในไทยและต่างประเทศ โดยคณะแพทยศาสตร์ได้ให้ความสำคัญกับ เวชศาสตร์เชิงประจักษ์” (Evidence Based Medicine – EBM)  ที่ว่าด้วยการเลือกวิธีการรักษาโดยใช้ “หลักฐาน” จากงานวิจัย เป็นศาสตร์ที่ใกล้ชิดกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพมากและมีความเกี่ยวพันกันหลายด้าน โดยเน้นให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรของคณะแพทยศาสตร์ โดยที่ผ่านมามีความร่วมมือกว่า 20 ปีกับองค์กรระดับนานาชาติในการทำวิจัยเชิงสังเคราะห์ในประเทศและเอเชีย

“งานวิจัยเชิงสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่เพิ่งเกิดมาใหม่ประมาณ 20 ปี โดยเกิดจากการใช้ข้อมูลที่มีอยู่มาจัดการวิจัยเชิงสังเคราะห์ทำวิจัยเพิ่มเติมด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องมีขนาดตัวอย่างเพียงพอในระดับโลก ข้อมูลแบบนี้ช่วยชีวิตคนนับแสนนับล้านคน เพื่อเกิดประโยชน์กับผู้ป่วย การสอนนักเรียนแพทย์  บริการวิชาการ และการวิจัยในอนาคต  ผลจากงานวิจัยเชิงสังเคราะห์  จะสามารถทำให้เราเลือกการรักษาพยาบาลเพื่อเกิดประโยชน์กับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์สูงสุดกับทั้งตัวองค์กรและผู้ป่วย  อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าการจัดการวิจัยเชิงสังเคราะห์ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ  อดีตเราไม่เคยมีนักวิทยาศาสตร์การข้อมูล  แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคนกลุ่มนี้เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่มากมายในคณะ หรือในระบบบริหารจัดการขององค์กรใดองค์กรหนึ่งได้อย่างมากมาย  ช่วยเติมเต็มนักวิจัยเชิงสังเคราะห์ มาช่วยแพทย์ ในเรื่องการรวบรวมข้อมูล ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาทางการปฏิบัติงานที่ต้องมีเครื่องมือพิเศษชนิดใดเพื่อรองรับการทำงาน”  รศ.นพ.อภิชาติ  จิระวุฒิพงศ์ กล่าว

ศ.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์

กว่า 20 ปีที่ .นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ และทีมงานได้มีการก่อตั้ง Thai Cochrane Network ขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลกเพื่อการสังเคราะห์งานวิจัยด้านอนามัยการเจริญพันธุ์  และเป็น WHO HRP Alliance  HUB Cochrane Thailand โดยมีจุดแข็งในการทำงานร่วมกันของตัวแทน Cochrane ทั่วโลก สนับสนุนการใช้หลักฐานการวิจัยจาก Cochrane เป็นแนวทางกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติด้านสุขภาพ มีการแปลบทคัดย่อ และบทสรุปของ Cochrane Review มากกว่า 1,000 เรื่อง เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และองค์การอนามัยโลก

.นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์   กล่าวว่า “ปัจจุบันการทำวิจัยเชิงสังเคราะห์มีการทำงานร่วมกับสหสถาบัน เมื่อร่วมมือจากหลายภาคส่วน จะเกิดข้อมูลอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การดูแลหญิงตั้งครรภ์  มีหลายประเด็นที่มีการเก็บข้อมูล อาทิ รูปแบบการดูแลของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง การคลอดโดยการใช้เครื่องดูดสุญญากาศปกติใช้เวลา 20 นาที มีข้อมูลพบว่าใช้เวลาเพียงแค่ 1 นาที ก็สามารถทำคลอดได้จากงานวิจัยมีความปลอดภัย  เมื่อมีข้อมูลวิจัยเชิงสังเคราะห์แล้ว แพทย์ประจำบ้านก็ได้ความรู้จากตรงนี้ไปด้วยจากการรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงสังเคราะห์”

“ปัจจุบันเรามีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ต้องการความร่วมมือจากนักวิจัยในสาขาต่าง ๆ จำนวนมาก เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย อัตราการรักษาหาย  ความรู้ความเชี่ยวชาญของนักเรียนแพทย์ บริการวิจัย วิชาการ จากงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ โดยได้รับความร่วมมือ จากคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ นอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เชื่อว่าในอนาคตจะพัฒนาความร่วมมือได้อีกมากมาย”  .นพ. ภิเศก ลุมพิกานนท์ กล่าว

รศ.วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์

ด้าน รศ.วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวว่า “ฝ่ายวิจัยให้การสนับสนุนการวิจัยเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ โดยมุ่งให้แพทย์ได้เลือกวิธีการรักษาที่ดี และเหมาะสมต่อผู้ป่วยที่สุด โดยใช้หลักฐานที่เชื่อถือได้มากที่สุดเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากนำไปสู่นโยบายด้านสุขภาพที่คนไทยสามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน  เป็นเวชศาสตร์เชิงประจักษ์ ที่เป็นแนวปฏิบัติเพื่อค้นหาการรักษาที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดทั้งแพทย์และผู้ป่วย”

ข่าว/ภาพ   :   วัชรา  น้อยชมภู

Faculty of Medicine, KKU, releases news about the success in synthetic research that will lengthen patients’ lives

https://www.kku.ac.th/17667

Scroll to Top