ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2566 ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสมาพันธ์องค์การวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ 2024-2026

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีกับ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 17 สาขาวิชาฟิสิกส์ (เข้าศึกษา พ.ศ.2532) ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 26 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานสมาพันธ์องค์การวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ 2024 -2026

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ในที่ประชุม The 3rd General Assembly (GA) of ANSO (Alliance of International Science Organizations)  ณ นครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีสมาชิกกว่า 70 องค์กร จาก 55 ประเทศ ได้มีมติเลือกให้ ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  เป็น President of ANSO Governing Board นับเป็น President คนที่ 2 ของ ANSO ต่อจาก Prof. Chunli Bai, President ของ Chinese Academy of Science (CAS) ซึ่งเป็น President ผู้ก่อตั้ง

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาเอก D. 1999 (Physics), Case Western Reserve University, USA
  • ปริญญาโท S. 1996 (Physics), Case Western Reserve University, USA
  • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2536 (เกียรตินิยมอันดับ 1 ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หลักสูตรนักบริหารระดับสูงเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย (นบม.) รุ่นที่ 25

 

ประสบการณ์การทำงาน

ปี 2565 – ปัจจุบัน               ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ปี 2561 – 2565                   ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ปี 2564 – ปัจจุบัน              กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยบูรพา

ปี 2564 – ปัจจุบัน               กรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

ปี 2556 – 2561                   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปี 2552 – 2556                   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปี 2552 – 2556                   ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางฟิสิกส์คำนวณและทฤษฎี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

ปี 2549 – 2561                   ศาสตราจารย์ประจำสาขาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปี 2566 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)

ปี 2566 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการบริหารการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิยาลัยบูรพา

ปี 2566 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ

ปี 2566 – ปัจจุบัน                ที่ปรึกษา ในคณะกรรมการ BCG & ESG ประจำปี 2566-2567 ของหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ปี 2566 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการวิชาการสถาบันไทยโคเซ็น

ปี 2566 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(National AI Committee)

ปี 2566 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในบัญชีนวัตกรรมไทย

ปี 2565 – ปัจจุบัน                ที่ปรึกษา ในคณะกรรมการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model)

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model)

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee)

ปี 2565 – ปัจจุบัน                ที่ปรึกษา สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์เเก้ไขความพิการบนใบหน้าเเละกะโหลกศรีษะ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการจัดระบบรูปแบบการบริหารโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไข ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2560

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ปี 2565 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยบูรพา

ปี 2565 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคลสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ปี 2565 – ปัจจุบัน                ประธานอนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนเครื่องที่สอง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ปี 2564 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของส่วนงาน และการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา

ปี 2564 – ปัจจุบัน                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

ปี 2559 – 2566                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ปี 2563 – 2565                   กรรมการ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.)

ปี 2563 – ปัจจุบัน                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปี 2565 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม

ปี 2563 – ปัจจุบัน                อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการบริหารงานบุคคล สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ปี 2563 – 2565                   กรรมการ ในคณะกรรมการที่ปรึกษาของศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์หารรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปี 2563 – 2565                   กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) แห่งชาติ

ปี 2564 – 2565                   อนุกรรมการและเลขานุการ ในคณะอนุกรรมการ Coding เพื่อการปฏิรูปประเทศ ภายใต้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ปี 2562 – 2565                   Vice Chair of PISA Governing Board, OECD

ปี 2562 – 2565                   รองประธานกรรมการ ในคณะกรรมการ PISA แห่งชาติ

ปี 2561 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

ปี 2561 – ปัจจุบัน                กรรมการ ในคณะกรรมการบริหารโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย

ปี 2561 – 2565                   กรรมการ ในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ปี 2561 – 2565                   กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น

ปี 2558 – 2565                   กรรมการ ในคณะกรรมการกำหนดนโยบายการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปี 2556 – 2560                   นายกสมาคมฟิสิกส์ไทย

ปี 2555 – 2559                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ปี 2555 – 2559                   กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

ปี 2554                               Research Associate ณ Oak Ridge National Laboratory        สหรัฐอเมริกา

ปี 2549                               ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ณ University of California, Santa Barbara สหรัฐอเมริกา

ปี 2546 – 2550                  Research Associate ณ National Renewable Energy Laboratory สหรัฐอเมริกา

ปี 2543 – 2545                   Postdoctoral Fellow ณ Xerox Palo Alto Research Center สหรัฐอเมริกา

 

หัวข้องานวิจัยที่สนใจในปัจจุบัน

  • อัลลอยของสารกึ่งตัวนำ และ การเปลี่ยนโครงสร้างผลึกของวัสดุนาโนภายใต้ภาวะความดันสูง
  • สมบัติทางไฟฟ้าเนื่องจากความบกพร่องและสารเจือในสารกึ่งตัวนำ
  • การระบุโครงสร้างของความบกพร่องและสารเจือในสารกึ่งตัวนำและโลหะออกไซด์โดยเทคนิคต่าง ๆ
  • การใช้แสงซินโครตรอนในการระบุโครงสร้างและสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุ

เกียรติยศและรางวัลด้านการวิจัย

  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2554 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปี 2552 จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น ประจำปี 2562 จาก สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย (สนร.)
  • ได้รับการเชิดชูเกียรติ เข้าสู่หอเกียรติยศ พสวท. (DPST Hall of Fame) จาก สสวท.
  • เป็นกรรมการบริหาร APCTP (General Council Member) สามสมัย 2551-2553, 2554-2556, 2557-2559 แห่ง Asia Pacific Center for Theoretical Physics (APCTP), POSTECH, Pohang, South Korea
  • เป็นภาคีสมาชิก TWAS (Young Affiliate) 2550-2555 Regional Office for East and South-East Asia
  • รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2548 จาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของสภาวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2547 (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) จาก Third Word Academy of Science ร่วมกับ สภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัล 2005 Corbett Prize for Young Scientists มอบในการประชุมวิชาการนานาชาติ 23rd International Conference of Defects in Semiconductors (ICDS-23) ประเทศญี่ปุ่น
  • รางวัลบุคลากรดีเด่น ด้านงานวิจัย ประจำปี 2549 จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • รางวัลศิษย์เก่าเกียรติยศ ด้านการวิจัย ประจำปี 2553 จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จาก โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2561 จาก โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
  • รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2560 จาก โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ
  • ผู้รับทุนวุฒิเมธีวิจัย สกว. ประจำปี 2546 2548 และ 2551 จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2546 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น ประจำปี 2556 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2548 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ จาก สภาวิจัยแห่งชาติ

ผลงานเด่น

ในวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สสวท. ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ได้ผลักดันและริเริ่มการดำเนินงานทางการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นจำนวนมาก โดยมีผลงานดีเด่นในขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สสวท. ได้แก่

  • การผลิตหนังสือเรียนและอบรมครูด้านวิทยาการคำนวณ/Coding ให้สามารถบรรจุเป็นวิชาบังคับของนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกชั้นปีทั่วประเทศ และนำเทคโนโลยีการอบรมครูออนไลน์ มาอบรมครูทั่วประเทศในด้าน Coding ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีครูได้เข้าอบรมในโครงการ มากกว่า 200,000 คน
  • การผลักดันให้มีโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (KOSEN) หรือโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค ในกรอบวงเงิน 4,700 ล้านบาท (เงินไทย 2,000 ล้านบาท และเงินกู้ JICA 2,700 ล้านบาท) เพื่อจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น 2 แห่ง ซึ่งปัจจุบันได้ทำการเรียนการสอนแล้ว ได้แก่ โคเซ็น สจล. และ โคเซ็น มจธ. เพื่อพัฒนากำลังคนให้เป็นวิศวกรนักปฏิบัติ นักเทคโนโลยีและนวัตกรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญสูงในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม และสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ สนับสนุนการต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมและการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
  • ริเริ่ม Digital Transformation ของหนังสือเรียนเป็นคลิปบทเรียนออนไลน์ที่รู้จักกันในชื่อของ “Project 14” เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนออนไลน์ที่มีมาตรฐานได้อย่างทั่วถึง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อช่วยบรรเทาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์
  • ริเริ่มพัฒนาเครื่องมือทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้เน้นการคิดวิเคราะห์มากขึ้น และได้ร่วมมือกับ ทปอ. เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง สสวท. ให้เน้นการคิดวิเคราะห์ตามแนวทาง PISA มากขึ้นด้วย

ต่อมาเมื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. ได้จัดกระบวนทัพนำความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญที่ สวทช. บ่มเพาะมานานกว่า 30 ปี มาสร้างกระบวนการวิจัยและกลไกที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือประชาชนและชุมชนต้องเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง ด้วยปัญหาคอขวดที่งานวิจัยของประเทศไทยจำนวนมากยังไม่สามารถผลักดันไปสู่การใช้จริงในภาคส่วนต่างๆ ได้ จึงได้ริเริ่มการพัฒนา NSTDA Core Business โดยคัดเลือกผลงานวิจัยที่สามารถเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้งานให้เกิดประโยชน์จริงกับประชาชนจำนวนมาก โดยในระยะแรกได้คัดเลือกงานวิจัยที่เป็นความเชี่ยวชาญและตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมี 4 เรื่องหลัก คือ

  • Traffy Fondue แพลตฟอร์มบริหารจัดการปัญหาเมืองที่นำแนวคิด Platform Revolution มาปรับปรุงกระบวน (User Journey) การรับแจ้ง การแก้ไข และบริหารจัดการปัญหาเมือง ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยหน่วยงานของรัฐรับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและช่วยให้เจ้าหน้าที่บริหารจัดการปัญหาต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • FoodSERP แพลตฟอร์มให้บริการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชัน ผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์กลุ่มสารให้ประโยชน์เชิงหน้าที่ (Functional ingredient) โดยให้บริการตลอดห่วงโซ่การผลิตตามโจทย์ที่เป็นความต้องการเฉพาะ (Tailor made) ของลูกค้า ในรูปแบบ One stop service ที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกฎระเบียบและมาตรฐาน และหน่วยงานภาควิชาการ และกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ Startup กลุ่ม SMEs และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ รวมถึงเครือข่ายผู้ประกอบการผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • Digital Healthcare Platform แพลตฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) เพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนในเรื่อง ความแออัดของหน่วยบริการสาธารณสุข ในมุมของหน่วยบริการสาธารณสุข โดยพัฒนาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข ทั้งในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุข และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสภาวิชาชีพด้านการแพทย์ เน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปยกระดับการให้บริการของหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ
  • Thailand i0 Platform แพลตฟอร์มที่ให้บริการ Digital transformation สำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบครบวงจรเพื่อแก้ปัญหาในภาคการผลิตของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยยกระดับภาคการผลิตอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นแรกคือการประเมินความพร้อมในปัจจุบัน ขั้นที่ 2 คือการวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติการ (Transformation roadmap) ที่มีรายละเอียดในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และขั้นที่ 3 คือการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ในโรงงาน โดยมีบริการจาก Thailand i4.0 Platform ให้บริการตลอดทั้งกระบวนการ

 

ผลงานที่จากการบริหารหน่วยงาน/องค์กรในระดับชุมชน/ระดับชาติ/ระดับนานาชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ได้เริ่มการทำงานในประเทศไทยด้วยการเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีผลงานวิจัยจนได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ตั้งแต่อายุ 34 ปี ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางฟิสิกส์คำนวนและทฤษฎี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (ThEP Center) และ เป็นนายกสมาคมฟิสิกส์ไทย พร้อมทั้งเป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้งสถานร่วมวิจัย สร้างระบบลำเลียงแสง 5.2 ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีร่วมวิจัย มทส-นาโนเทค-สซ. จนสามารถให้บริการแสงซินโครตรอนแก่ผู้ใช้บริการและนักวิจัยถึงทุกวันนี้ เพื่อการใช้แสงซินโครตรอน ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการสร้าง สถานีทดลอง SUT-NANOTEC-SLRI Beamline เป็นสถานีทดลอง Synchrotron X-ray Absorption Spectroscopy

ในขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มีผลงานโดดเด่นในวาระการทำงานหลายเรื่อง เช่น (1) เป็นแกนหลักในการผลักดันให้มีโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (KOSEN) ซึ่งเป็นการนำการพัฒนาวิศวกรนักปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาของญี่ปุ่นมาใช้ โดยโครงการผ่าน ครม. ในงบประมาณโครงการ 4,700 ล้านบาท มีการเจรจาร่วมมือกับสถาบัน National Institute of Technology ของญี่ปุ่น และ JICA ในการร่วมสนับสนุน (2) การนำเทคโนโลยีการอบรมครูออนไลน์ มาอบรมครูทั่วประเทศในด้าน Coding ร่วมกับ สพฐ. ทำให้อบรมครูได้มากกว่า 200,000 คน และ (3) การแปลงหนังสือเรียนเป็นคลิปเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ เทคโนโลยี ที่ครบสมบูรณ์ทุกระดับทั้งประถมและมัธยม โดยเปิดให้ ครู นักเรียนและ ผู้ปกครองจากทั่วประเทศเข้าถึงได้ฟรีทั้งทาง YouTube และ Facebook เป็นครั้งแรก

และเมื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์  เข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สวทช. ได้กำหนดวิสัยทัศน์และวางยุทธศาสตร์ให้ “สวทช. เป็นขุมพลังหลักของประเทศในการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของรัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมให้ตอบโจทย์สำคัญ นำสู่การพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด” เพื่อให้ สวทช. นำความรู้ เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญมาสร้างกระบวนการวิจัยและกลไกที่จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นโจทย์สำคัญเร่งด่วนของประเทศ ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือประชาชนและชุมชนต้องเข้าถึงงานวิจัยที่ใช้ได้จริง รวมถึงได้ปรับแผนยุทธศาสตร์ของ สวทช. ให้สอดรับกับที่นายกรัฐมนตรีวางแผนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ผสานความร่วมมือกับทุกภาคฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ยังได้รับการยอมรับด้านการวิจัยทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ มีผลงานการตีพิมพ์งานวิจัยโดดเด่นที่ปรากฏในฐานข้อมูล Web of Science จำนวนกว่า 100 เรื่อง ได้รับการอ้างถึงรวมแล้วกว่า 7,000 ครั้ง และมีค่า h-index = 40 ซึ่งผลงานวิจัยหลายเรื่องได้สร้างผลกระทบในการพัฒนาวัสดุสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงแสงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และได้รับได้รางวัลเชิดชูเกียรติอีกหลายรางวัล เมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (TWAS Prize for Young Scientist) ถัดมาในปี พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการเชิดชูเมธีวิจัยอาวุโส จากสำนักงานส่งเสริมการวิจัย (สกว.) และในปี พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์  ยังได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2566 อีกด้วย

 

 

ขอขอบคุณ
ข้อมูลข่าว/ภาพประกอบข่าวจาก facebook : Sukit Limpijumnong 
ข้อมูลประวัติการทำงาน จาก ศ. ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์

 

ข่าว : สุชาติ เทพภูเขียว

 

 

Scroll to Top