วันที่ 13 สิงหาคม 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) จัดกิจกรรมการประกวด “RSP INNOVATION AWARDS 2023” ในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2566 : TechnoMart 2023 พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการที่ได้รับบริการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคมาจำหน่ายในโซนทดลองตลาด ระหว่างวันที่ 11 – 15 สิงหาคม 2566 โดยมีนางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มอบรางวัลแก่ผู้ประกอบการและนักวิจัยที่มีผลงานโดดเด่นทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ณ Hall 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมการประกวด “RSP INNOVATION AWARDS 2023”
นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า “สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค (Regional Science Park) มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งสถานที่ ห้องปฏิบัติการ โรงงานต้นแบบ ขณะเดียวกันก็ยังมีกลไกในการบ่มเพาะทางธุรกิจ ผสานความร่วมมือกับภาคเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
“การประกวด RSP INNOVATION AWARDS 2023 ครั้งนี้ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้ประกอบการได้เผยแพร่ความสำเร็จงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีศักยภาพ ถือเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้รับบริการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ที่สามารถพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ ให้สังคมเห็นถึงคุณค่าของการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปปรับใช้จริง แบ่งเป็น 2 สาขาได้แก่ สาขานักธุรกิจนวัตกรรม และสาขานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ภายในงานยังได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และผลงานที่หลากหลายของผู้รับบริการจากอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีโอกาสได้ทดลองตลาดและรับข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือผู้ที่มีความสนใจเข้ารับบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเพื่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมในระยะยาว” นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวทิ้งท้าย
นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผลการประกวดโครงการประกวดนวัตกรรม ระดับประเทศ 2566 (RSP Innovation Awards 2023)
สาขา นักธุรกิจนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ SUWAN Spray นวัตกรรมสกัดสารแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด
โดย นางณฐมน ปิยะพงษ์ Suwan Spray by Bensu Co.,Ltd. มหาวิทยาลัยบูรพา ผลิตภัณฑ์ SUWAN Spray นวัตกรรมสกัดสารแก้ปวดจากเบต้าไพนีนพัฒนาสูตรเพื่อเป็น สเปรย์สามัญประจำบ้านทดแทนการใช้ยาแก้ปวดใช้ได้กับทุกคนทุกวัยและเป็นทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่ต้องระวังเรื่องการทานยาแก้ปวด สุวรรณสเปรย์ ช่วยคลายอาการปวดลดอักเสบจากภายนอกแทนการทานยาได้ เราตั้งใจทำสินค้าเพื่อสุขภาพ ด้วยConcept BCG ใช้สินค้าจากเกษตรมาแปรรูป เพิ่มมูลค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ Recycleเพื่อลดปริมาณขยะให้กับสิ่งแวดล้อม
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัด ออซ-พี
โดย ภญ.ชญานิษฐ์ ชูแข บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอม ออซ-พี Oz-P น้ำมันหัวหอม หอมแดง ออร์แกนิคใช้นวัตกรรมในการสกัดสารสำคัญจากหอมแดงและหัวหอม ใช้ได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดบรรเทาอาการหวัด น้ำมูกไหล เป็นภูมิแพ้ช่วยให้หายใจคล่อง ผ่อนคลายช่วยให้หลับสบายตลอดคืน บำรุงผิวอย่างอ่อนโยนผ่านการทดสอบการระคายเคืองdermscan asia ปราศจากน้ำหอม เมนทอล การบูร พิมเสนทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจผ่านการทดสอบการระคายเคืองจากสถาบัน dermscan asiaสามารถทาบนผิวหนังได้โดยตรงเช่นกัน
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ พรี-ไอออนิคส์ ปุ๋ยอินทรีย์แม่นยำ
โดย คุณทิวา จามะรี บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บริษัทได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่อง N-Machine คือเครื่องผลิตปุ๋ยไนโตเจนอินทรีย์ประสิทธิภาพสูงผลิตปุ๋ยไนโตเจนอินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคงที่เทียบเท่าปุ๋ยเคมีได้ทำให้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เร็วกว่าการหมักแบบเดิมมากถึง 30 เท่า บริษัทได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่อง N-Machine
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ SUWAN Spray นวัตกรรมสกัดสารแก้ปวดจากเบต้าไพนีนในมะกรูด โดย นางณฐมน ปิยะพงษ์ Suwan Spray by Bensu Co.,Ltd.
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำมันหัวหอมสกัด ออซ-พี โดย ภญ.ชญานิษฐ์ ชูแข บริษัท พีร์ชญาลี้
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ พรี-ไอออนิคส์ ปุ๋ยอินทรีย์แม่นยำ โดย คุณทิวา จามะรี บริษัท พีร์ชญาลี้ จำกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สาขา นวัตกรรมเชิงพาณิชย์
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วีโฟลว์บำรุงและดูแลหลอดเลือด โดย คุณวิสิษฐ กอวรกุล บริษัท เจดับบลิว เฮอร์เบิล จำกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์ V Flow 3 สมุนไพร ขิง พุทราจีน เห็ดหูหนูดำ ดูแลสุขภาพและหลอดเลือดนวัตกรรมจากงานวิจัยและพัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ได้มีการพัฒนารูปแบบสารสกัดให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทานสะดวก และง่ายขึ้นทั้งชนิดชงดื่มและชนิดเม็ดรับประทานโดยยังคงคุณสมบัติที่มีประโยชน์ไว้อย่างครบถ้วนเพื่อหลอดเลือด โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ Zingiber officinale ที่ช่วยป้องกันเกล็ดเลือดแข็งตัว มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant)
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ZEREE A นวัตกรรม Jelly Gummy จุลินทรีย์สำหรับทางเดินอาหารและสมองโดย นายสัตวแพทย์ณฐวัธน์ เอกศิริวรากิตติ์ บริษัท นาโนเซรี่ จำกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์การทำ Encapsulated เชื้อจุลินทรีย์ Probiotic ที่มีประโยชน์สองชนิด ร่วมกับการเสริมสาร Prebiotic จากสารสกัดขมิ้นชันด้วยเทคโนโลยีสีเขียวแล้วผ่านด้วยนวัตกรรมให้เกิดการละลายน้ำที่สูงขึ้นในรูปของ Curcuminoids rich extraction (CRE-SD) แล้วผ่านการ Nano-encapsulation อีกชั้นเพื่อให้ส่งสารสกัดไปตรงเป้าหมายยังบริเวณลำไส้ ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ออกฤทธิ์ได้ดีและไม่ถูกทำลายด้วยสภาพกรดรุนแรงที่กระเพาะอาหาร อีกทั้งยังนำส่งสารสกัดดูดซึมเข้าร่างกายได้ง่ายขึ้นทำให้เกิดการบำรุงเซลล์ลำไส้ได้ดี และมีประสิทธิภาพดี
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งในระดับเบื้องต้น โดย รศ. ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้นนี้มุ่งเน้นตรวจวัดดีเอ็นที่พบในเลือดและจัดเป็นตัวบ่งชี้ชนิดทั่วไป (Universal biomarker) ของมะเร็งมะเร็งเกือบทุกชนิดดังนั้นจึงเหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งในระดับเบื้องต้นซึ่งแตกต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบันที่มุ่งเน้นตรวจวัดตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีความจำเพาะกับมะเร็งแต่ละชนิด จึงทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็งหลายชนิดในแต่ละครั้งสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้ระยะเวลาในการตรวจวัดนาน
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วีโฟลว์บำรุงและดูแลหลอดเลือด โดย คุณวิสิษฐ กอวรกุล บริษัท เจดับบลิว เฮอร์เบิล จำกัด
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ZEREE A นวัตกรรม Jelly Gummy จุลินทรีย์สำหรับทางเดินอาหารและสมองโดย นายสัตวแพทย์ณฐวัธน์ เอกศิริวรากิตติ์ บริษัท นาโนเซรี่ จำกัด
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ ผลงาน ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งในระดับเบื้องต้น โดย รศ. ดร.ธีระพงษ์ พวงมะลิ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เขียนโดย : นางสาวณัฐกานต์ อดทน
ภาพ : นายนภดล กลิ่นศรีสุข
อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น