มนุษย์-สังคม มข. ผนึกกำลังชุมชน สร้างผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ดร.แก้วตา  จันทรานุสรณ์ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการบริการวิชาการ มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์สู่ชุมชน “ส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ” ณ ห้องประชุมน้ำผุดนาเลา อบต.ทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสื่อสารความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการบริหารวิชาการและรับทราบความต้องการของชุมชนผู้รับบริการในพื้นที่ 5 ตำบลที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว  พร้อมระดมความร่วมมือกับชุมชนดงบังเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ณ ลำห้วยใหญ่ หรือ  เวนิสอีสาน ตำบลดงบัง และสำรวจเส้นทางนิเวศป่าลำธาร ตำบลห้วยยาง ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม พร้อมเตรียมพื้นที่อบรมเชิงปฏิบัติการและถอดบทเรียนจากวิทยากรผู้ประกอบการชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอาหารและบ้านพักโฮมสเตย์ ระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2566

กิจกรรมการอบรมวันที่ 22 กรกฎาคม เริ่มต้นจาก คุณจงรัก จารุพันธุ์งาม ผู้ก่อตั้งสวนเกษตรมีกิน (มีกินฟาร์ม)    ได้แบ่งปันประสบการณ์การต่อยอดวิถีเกษตรแนวใหม่ในบริบทการท่องเที่ยว ประเด็น “ถอดบทเรียนการต่อสู่สู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม” ที่จะนำไปสู่การสร้างทั้งคุณค่าและมูลค่าให้กับวิถีเกษตร ซึ่งเป็นวิถีสำคัญของชาวคอนสาร  ต่อมา คุณมยุรินทร์ พันสนิท นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชน และคณะทำงานพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ ร่วมเป็นวิทยากรในโครงการบริการวิชาการ เพื่อสื่อสารกับพี่น้องไทคอนสารในประเด็น “ทบทวนแผนพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและนิเวศวัฒนธรรม” ตามเป้าหมายโครงการ “ส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการชุมชนเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ”  และคุณรัฐเขตต์ มีสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมควบคุมและคณะกรรมทำงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จังหวัดชัยภูมิ ได้ให้แนวคิดสำหรับ “การออกแบบพื้นที่เชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมความโดดเด่นของพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมชุมชนคอนสาร” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมอบรมอย่างยิ่ง

คุณจงรัก จารุพันธุ์งาม
คุณมยุรินทร์ พันสนิท
คุณรัฐเขตต์ มีสุข

ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม ได้รับเกียรติจากคุณรัตตนา บุญสิทธิ์ และคุณอุเทน ทักษี ผู้ผลักดันธุรกิจครอบครัว “ดอกไม้ฟาร์ม ไก่ย่างเขาสวนกวาง” ด้วยความรักครอบครัว รักชุมชน และรักธรรมชาติ ร่วม “ถอดบทเรียนผู้ประกอบการธุรกิจอาหารท้องถิ่นครบวงจร” พร้อมยังสาธิตการย่างไก่ให้แก่พี่น้องไทคอนสารได้ลิ้มรสความสุขจากอาหารอร่อย ถัดมา คุณยุพดี นครพรหม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ที่ได้ทำหน้าที่สื่อสาร “ทิศทางการท่องเที่ยวคอนสารกับงานส่งเสริมวิถีเกษตรมูลค่าสูง” เพื่อให้ไทคอนสารได้เตรียมความพร้อมกับบริบทการท่องเที่ยวที่กำลังจะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของคอนสาร

คุณรัตตนา บุญสิทธิ์ และคุณอุเทน ทักษี

คุณยุพดี นครพรหม

คุณพีรญา รัตนปัญญา ผู้บริหาร P-raya Green Product  และโอโซน การ์เดนท์   รีสอร์ทแอนด์สปา พร้อม ดร.รุ่งศักดิ์ ศิวาชัญ ที่ปรึกษาการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและที่ปรึกษาด้านการท่องเที่ยว ได้นำเสนอตัวอย่างการจัดการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จและให้แนวคิดในการต่อยอด “มรดกภูมิปัญญาไทคอนสารกับการท่องเที่ยวและการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่สากล” พร้อมยกตัวอย่างพื้นที่ประสบความสำเร็จด้านการท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรมเพื่อให้ไทคอนสารมีส่วนร่วม ด้วยความมีชีวิตชีวาและสนุกสนานอย่างยิ่ง

คุณพีรญา รัตนปัญญา

ผู้จัดโครงการฯ ขอขอบพระคุณ ดร.วารา ปวีณวัชร์  พร้อมคุณคมกฤษ กล่อมพงษ์ ผู้บริหารวาราวิลเลจและกัลยาณมิตร ที่มามอบเกียรติบัตรและร่วมบันทึกความทรงจำ ความหมายอันดีงามกับเยาวชนคอนสาร ภายใต้กิจกรรม “Kids Dee me’ OMO” โครงการมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์สู่ชุมชนเพื่อบริการวิชาการ ท่านผู้นำท้องถิ่น นายธนกฤต มาตรวงษ์ นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลทุ่งนาเลา นายวรกิจ รัตนะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคอนสาร ท่าน สจ.รณชัย นามวิจิตร บ้านสวน อ.ศิลป์ชัยฟาร์มสเตย์ ตลอดทั้งตัวแทนผู้ประกอบการทั้ง 5 ตำบล ได้แก่ ต.ดงบัง ต.คอนสาร ต.ทุ่งนาเลา ต.ห้วยยาง และ ต.ทุ่งลุยลาย ที่เป็นเกียรติเข้าร่วมกิจกรรมบริการวิชาการในครั้งนี้

 

 

ข่าว/ภาพ : แก้วตา  จันทรานุสรณ์

Scroll to Top