นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 3 คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 2 ทีม จำนวน 12 คน ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วม โครงการ Wildlife Heroes ความร่วมมือไทยลาวสร้างสรรค์นวัตกรรมเยาวชนเพื่อต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการนี้จัดโดย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประจำปี 2566
การแข่งขันในโครงการ Wildlife Heroes ประกอบด้วยทั้งสิ้น 10 ทีม โดยมีทีมจากประเทศไทย 5 ทีม และทีมจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 5 ทีม ผลปรากฏว่า นักศึกษา คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้าย (Finalists) ของโครงการ Wildlife Heroes จำนวน 2 ทีม ได้แก่ทีม Miss. Wildlife และทีม MEANWILD ได้รับเงินทุนสนับสนุนโครงการจำนวนทีมละ 30,000 บาท เพื่อนำมาสร้างสรรค์โครงการ คัดเลือกให้เข้ารอบต่ปไป โดยจะมีการแข่งขันรอบสุดท้ายในวันที่ 1 กันยายน 2566 หากผลการแข่งขันเป็นอย่างไรจะรายงานให้ทราบต่อไป
นายสุทธิภัทร อาชามุกดา (ขวา) นักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 3 คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย เผยว่า รู้สึกดีใจมากที่ผ่านเข้ารอบ 2 ทีมสุดท้ายเป็นตัวแทนประเทศไทย แนวคิดของการเสนอโครงการนี้คือ เวทีการประกวดนางงามเริ่มเป็นกระแสขับเคลื่อนสื่อสังคมโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก เป็นสื่อความยันเทิงที่เข้าถึงเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วโลก หากว่านำความรู้รณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้กฏหมายเพื่อต่อต้านการค้าสัตว์ป่าเข้าไปในเวทีประกวดนางงามจะทำให้เข้าถึงผู้จนจำนวนมากได้ ทางทีมคณะจัดทำโครงการจึงมีแนวคิดนี้ และผ่านการคัดเลือกในที่สุด
“อย่างไรก็ตามอยากให้คณาจารย์หลักสูตรสนับสนุนนักศึกษาเข้าสู่เวทีการประกวดเพื่อได้รับประสบการณ์นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียนได้นำแนวคิดธุรกิจไปปรับใช้กับพื้นที่จริง ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ปรึกษาที่ช่วยผลักดันจนประสบความสำเร็จ ฝากถึงน้อง ๆ อยากให้ร่วมโครงการประกวดเพื่อจะได้รับประสบการณ์จริงที่หาไม่ได้ในห้องเรียนอย่างแน่นอน” สุทธิภัทร กล่าว
รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระวัฒน์ เจริญราษฎร์ เป็น อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ฯ เผยว่าWildlife Heroes มีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้กฏหมายเพื่อต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและนำไปสู่ความริเริ่มในการสร้างความร่วมมือกับเยาวชนของ ไทย-ลาว เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหารูปแบบใหม่ ๆ ผ่านการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาการล่า ค้า และบริโภคสัตว์ป่าผิดกฎหมายระหว่างไทย – ลาว และ เพื่อการบูรณาการความรู้นอกห้องเรียนจากการเรียนรู้การทำงานจริง และการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงเพื่อเป็นประสบการณ์ในการเข้าทำงานในอนาคต เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป
ข่าว : จิราพร ประทุมชัย ,นายอนิรุต สุทธินันท์
ภาพ : คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
Terrific! Students of the Faculty of Interdisciplinary Sciences, Nongkhai Campus, enter the Finalists Round in the Wildlife Heroes Project by UNDP