มข. จับมือ อบจ.ขอนแก่น/ชมรมมัคคุเทศก์ขอนแก่น ขับเคลื่อนขอนแก่นจีโอปาร์ค

มข. จับมือ อบจ.ขอนแก่น/ชมรมมัคคุเทศก์ขอนแก่น ขับเคลื่อนขอนแก่น
จีโอปาร์ค เน้นพัฒนาการออกแบบเพื่อชุมชน/วิทยาศาสตร์ดิจิทัลเทคโนโลยี/การท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์  2563 เวลา 11.30 น. องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนขอนแก่น จีโอปาร์ค ระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ศูนย์ภูมิสารสน
เทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  และชมรมมัคคุเทศก์ขอนแก่น ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยมี นายสิทธิกุล ภูคำวงศ์  รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานและร่วมลงนาม

ผู้ร่วมลงนามในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ ผศ. ดร.สมเกียรติ  ศรีจารนัย  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์  รศ. ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  ผศ. ดร.ธนูสิทธิ์  บุรินทร์ประโคน  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ ผศ. ดร.อุราวรรณ จันทร์เกษ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในส่วนของชมรมมัคคุเทศก์ขอนแก่น มีนางสาวธนวรรณ พันเทศ ประธานชมรม นายวิฑูรย์ ไตรรัตนวงศ์ ประธานผู้ก่อตั้งชมรมฯ ร่วมลงนาม นอกจากนี้ มี นางพัฒนาวดี วิริยปิยะ รองผู้อำนวยการอุทยานธรณีขอนแก่น/ปลัด อบจ.ขอนแก่น ร่วมลงนามด้วย

“ขอนแก่นจีโอพาร์ค” หรือ “อุทยานธรณีขอนแก่น”  ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561  ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง  อำเภอเวียงเก่าและอำเภอภูเวียง รวมเนื้อที่ประมาณ 1,038 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ หน่วยงานที่ร่วมลงนามใน MOU ดังกล่าวข้างต้น จะร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาขอนแก่นจีโอปาร์ค ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่
1.ด้านการพัฒนางานออกแบบเพื่อชุมชน  ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.ด้านวิทยาศาสตร์ดิจิทัลเทคโนโลยี  ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์ภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนและมัคคุเทศก์ ร่วมกับ ชมรมมัคคุเทศก์ขอนแก่น

โครงการจีโอปาร์ค เป็นโครงการ 1 ใน 3 ของ UNESCO มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการพื้นที่ซึ่งมีคุณค่าทางทรัพยากรธรณีโดดเด่นในระดับโลกด้วยหลักการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาโดยใช้การท่องเที่ยวเชิงธรณีเป็นเครื่องมือหลักในการขับเคลื่อนภายใต้หลักการสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การสร้างเครือข่าย  และการพัฒนาจากล่างขึ้นบนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาการบริหารจัดการพื้นที่คือทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านการท่องเที่ยว การศึกษา  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  และเศรษฐกิจของท้องถิ่นไปพร้อม ๆกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณี  ทรัพยากรธรรมชาติ  ประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  และวิถีชีวิตชุมชน  นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป


 

 

ภาพ/ข่าว โดย สุขทวี คลังตระกูล

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top