มข. ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดขอนแก่น เสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบพื้นที่แก่งละว้า

                
                  สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ประมงจังหวัดขอนแก่น และ เทศบาลตำบลโคกสำราญ จัดโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบท้องถิ่นแก่งละหว้า ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ณ ร้านอุทธยานข้าวแกง คณะเกษตรศาสตร์ มข. ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.พงษ์พันธ์ ศรัทธาทิพย์ อาจารย์สาขาวิชาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ ดร.ธีรวีร์ ดิษยะไชยพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมเชฟแห่งประเทศไทย หรือ เชฟจากัวร์ รางวัลชนะเลิศท็อปเชฟไทยแลนด์ ซีซั่น 3 และ อาจารย์อดิศร อรรคบุตร หัวหน้าเชฟร้านไซแอนด์เลควิว
 
                 นางสุคนธา วิชัย ปลัด เทศบาลตำบลโคกสำราญ เปิดเผยว่า “แก่งละว้า เราได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว วัตถุดิบในแก่งละว้ามีความอุดมสมบูรณ์ กุ้ง หอย ปู ปลา โดยเฉพาะปลาบู่ ที่สำคัญคือ กุ้งแม่น้ำ ซึ่งถือว่าเป็นราชินีของแก่งละว้า แต่ยังขาดความรู้ในการปรุงอาหารเพื่อรับแขก วันนี้จึงเกิดโครงการเพื่อเรียนรู้การประกอบอาหารจากวัตถุดิบพื้นถิ่นแก่งละว้า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนต่อไป”
               อาจารย์ ดร.ธีรวีร์ ดิษยะไชยงษ์ เปิดเผยว่า “การท่องเที่ยวเชิงอาหาร หรือ Gastronomy Tourism จะคำนึงถึง 4 ประเด็นด้วยกัน คือ 1) วัตถุดิบความปลอดภัย ที่ไปที่มาของวัตถุดิบ การเกษตร การประมง 2) เรื่องราวของอาหาร มีการนำเสนอที่น่าสนใจ 3) การนำเสนอแบบสร้างสรรค์ การจัดจาน การนำเสนอผ่านสื่อ เสียงเพลง การแต่งกาย และ 4) ความยั่งยืน ความมีส่วนร่วมของสังคม การบริโภคอย่างยั่งยืน และการบริหารจัดการขยะ”
                อาจารย์ ดร.พงพันธ์ ศรัทธาทิพย์ ได้บรรยายเกี่ยวกับการบริการอาหารว่า “อาหารแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1) อาหารเช้า อาหารประเภทไข่ อเมริกันเบรคฟัช ซีเรียล 2) อาหารมื้อหลัก และ 3) น้ำปั่น น้ำสมูทตี้ ค้อกเทล ม็อคเทล เราต้องจัดบริการอาหารให้ครบ เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า” จากนั้น เชฟจากัวร์ และเชฟตาล ได้นำผู้เข้าอบรมเรียนรู้การทำน้ำปั่น น้ำสมูทตี้ กาแฟเพื่อจำหน่าย ส่วนรอบบ่าย ได้นำผู้เข้าอบรมประกอบอาหารจากวัตถุดิบที่นำมาจากพื้นถิ่น ประกอบด้วยเมนูกุ้งแม่น้ำเผา ต้มยำกุ้ง กุ้งมะขาม ปลาบู่นึ่งมะนาว ข้าวผัด ผัดไหลบัว ผัดกระเพา ข้าวต้มเนื้อปลาบู่ทั้งแบบแห้งและแบบน้ำ
                  นางปัญญา พิลาโท ผู้แทนผู้เข้าอบรม กล่าวขอบคุณว่า “ขอขอบคุณวิทยากร สำนักบริการวิชาการ คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ประมงจังหวัดขอนแก่น และ ทต.โคกสำราญ เป็นอย่างยิ่ง เรามีวัตถุดิบในท้องถิ่น วันนี้ได้รับความรู้เพื่อนำไปประกอบอาหารต้อนรับแขก พร้อมยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

KKU joins Khon Kaen Agricultural Technology and Innovation Center to enhance circular economy by adding values to raw materials in Kang Lawa

https://www.kku.ac.th/16368

 

 
 
 
Scroll to Top