วิทย์ฯ มข. ชวนน้องภาคอีสาน เรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หนุนคุณค่างานวิชาการสู่สังคม

          งานทางด้านการบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นอีกหนึ่งในพันธกิจสำคัญของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ดำเนินการควบคู่ไปกับงานด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย รวมถึงการสร้างนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน  โดยนอกเหนือจากงานบริการวิชาการที่คณะฯ ได้ดำเนินการในลักษณะการออกค่ายวิทยาศาสตร์ หรือการจัดกิจกรรมเสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ครูและนักเรียนโดยการออกไปบริการวิชาการตามโรงเรียนต่างๆ   ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นต้นมา  สถานศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลายแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีการติดต่อประสานงานมายังสาขาวิชาต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการจัดกิจกรรมเสริมให้แก่นักเรียนในหัวข้อที่นักเรียนสนใจและได้นำนักเรียนมาเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการของสาขาวิชาต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมีความพร้อมด้านอุปกรณ์และบุคลากร

จากการมีโรงเรียนต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสนใจร่วมกิจกรรม กันมากขึ้น   ในปี พ.ศ.2557 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดโครงการเสริมความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะด้านวิทยาศาสตร์และปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ จุลชีววิทยาและชีวเคมี  ทั้งนี้ ตั้งแต่ดำเนินโครงการดังกล่าว มีคณะนักเรียนและครู ของโรงเรียนต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ติดต่อมาเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

และวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ผ่านมา (18 -19 กุมภาพันธ์ 2566) มีคณะครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จาก 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จ.สกลนคร และ โรงเรียนบ้านไผ่  จังหวัดขอนแก่น  ร่วม 150 คน  ได้มาอบรมเชิงปฏิบัติการที่คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยแบ่งการจัดอบรมเป็น 2 วัน คือ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส จ.สกลนคร  พร้อมคณะครู จำนวน 45 คน  เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการสาขาวิชาชีวเคมี ในหัวข้อ การสกัดพลาสมิดดีเอ็นเอ (DNA plasmid) จากแบคทีเรียและการวิเคราะห์และแยกขนาดของพลาสมิดดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส”และ สาขาวิชาจุลชีววิทยา ในหัวข้อ การย้อมสีแบคทีเรียและศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์”  ณ อาคาร SC.07

วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านไผ่  จังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะครู จำนวน 92 คน   เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในสาขาวิชาฟิสิกส์ หัวข้อ โมเมนต์ความเฉื่อยและการหมุน” และ การสั่นพ้องของคลี่นเสียงในท่ออากาศ”  ณ  ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ อาคาร SC.08    สาขาวิชาเคมี หัวข้อ “การไทเทรตกรด-เบส และการเตรียมสารละลายเบสมาตรฐาน” และหัวข้อ ปริมาณสัมพันธ์” ณ อาคาร SC.08     สาขาวิชาชีววิทยา หัวข้อ “ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์” ณ  อาคาร SC.03   สาขาวิชาชีวเคมี หัวข้อ การสกัดพลาสมิดดีเอ็นเอ (DNA plasmid) จากแบคทีเรียและการวิเคราะห์และแยกขนาดของพลาสมิดดีเอ็นเอด้วยเทคนิคอะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟเรซีส”  ณ อาคาร SC.07

KKU Sciences train young school students in science and technology to strengthen social academic service

https://www.kku.ac.th/16055

Scroll to Top