ความเท่าเทียมทางเพศกับบทบาทธุรกิจและเศรษฐกิจ

ปัจจุบันโลกเปิดกว้างและให้การยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น โดยฉพาะอย่างยิ่ง “ความหลากหลายทางเพศ” จะเห็นได้ว่าในเดือนมิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ” หรือ “Pride Month” นอกจากนี้ “สีรุ้ง” ก็ได้ถูกนำมาใช้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับคนเหล่านี้อย่างแพร่หลายและใช้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ โดยมีผู้คนและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกออกกิจกรรมหรือแคมเปญ เพื่อส่งเสริม “กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ” ซึ่งจะเห็นได้จากการเดินขบวนพาเหรดของกลุ่ม LGBTQ+ รวมถึงหลายคนต่างเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในโซเชียลของตนให้มีสีรุ้งแทรกอยู่นั่นเอง ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการยอมรับและเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดและอุปสรรคอยู่บ้าง แต่การที่สังคมไทยมีการยอมรับและสนับสนุน LGBTQ+ มากขึ้น ส่งผลให้มีการพัฒนาทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการแสดงออกถึงรวมถึงผลักดันสิทธิและเสรีภาพสำหรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ หนึ่งในนั้นคือการผลักดันเรื่อง “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา มติที่ประชุมสมาชิกวุฒิสภา ได้เห็นชอบให้มี “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” โดยจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศใน 120 วัน ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย และเป็นก้าวสำคัญของสังคมไทย ที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้ใช้สิทธิของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ธุรกิจบริการที่จะมีโอกาสเติบโตจากการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีหลากหลายธุรกิจ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยวและร้านอาหาร ธุรกิจประกันภัยและธุรกิจทางการเงิน ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงาน เช่น ธุรกิจสตูดิโอถ่ายภาพ ธุรกิจเช่าชุดแต่งงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีธุรกิจอื่น ๆ เฉพาะกลุ่ม เช่น ธุรกิจการให้คำปรึกษาและการวางแผนครอบครัวสำหรับคู่รักหลากหลายเพศ […]

ความเท่าเทียมทางเพศกับบทบาทธุรกิจและเศรษฐกิจ Read More »