สารสกัดผักแพว ใบหม่อน เพิ่มความจำขณะทำงาน ปรับสมดุลการสร้างและสลายกระดูก ในวัยทอง
สารสกัดผักแพว ใบหม่อน เพิ่มความจำขณะทำงาน ปรับสมดุลการสร้างและสลายกระดูก ในวัยทอง Read More »
Li-ion Battery Pilot Plant Khon Kaen University โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโรงงานต้นแบบการผลิต “นาโนซิลิกอน” จากแกลบและเถ้าแกลบเพื่อใช้ในขั้วแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานได้มากกว่าคาร์บอนถึง 12 เท่า ซึ่งมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา สามารถกักเก็บพลังงานได้สูงที่สุด เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ประจุไฟใหม่อื่น ๆ ที่มีจำหน่าย ในเชิงพาณิชย์ และมีระยะเวลาใช้งานก่อนจะประจุไฟใหม่ยาวนาน ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
innovation cafe ตอน โรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน มหาวิทยาลัยขอนแก่น Read More »
เครื่องกักละออง Dental Chamber เครื่องมือใหม่ในทางการแพทย์ สำหรับทันตกรรม ใช้กักเก็บละอองฝอยเพื่อไม่ให้ฟุ้งกระจายไปในอากาศ ลดโอกาสการติดเชื้อโควิด-19
เครื่องกักละออง Dental Chamber Read More »
เชื้อโรคอะไรก็ไม่หวั่นกำจัดให้เรียบด้วย“เครื่องกำเนิดก๊าซโอโซน Prozone” | Innovation Cafe EP 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ จับมือ อินเตอร์ วอเตอร์ ทรีทเม้นท์ หรือ iwater พัฒนาเครื่องกำเนิดก๊าซโอโซนเพื่อใช้ในการกำจัดเชื้อโรคและไวรัส โดยเฉพาะโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอของโรคโควิด-19 มั่นใจกับนวัตกรรมการกำจัดเชื้อโรคที่ใช้ได้ทั้งในการแพทย์ และประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา และโรงแรม รวมถึงต่อยอดสู่ครัวเรือนในอนาคต
เชื้อโรคอะไรก็ไม่หวั่นกำจัดให้เรียบด้วย “เครื่องกำเนิดก๊าซโอโซน Prozone” Read More »
นวัตกรรมไม่ได้หมายถึงเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ศิลปะก็สามารถนำมาพัฒนาให้กลายเป็นนวัตกรรมได้เช่นเดียวกัน ซึ่งการแสดงหุ่นร่วมสมัย เรื่อง สินไซรู้ใจตน ที่พัฒนาขึ้นจากโครงการวิจัยเรื่อง “สินไซเด็กเทวดา-มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ฝึกทักษะชีวิตและความเข้าใจผ่านกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงหุ่นร่วมสมัย” เป็นนวัตกรรมเชิงการแสดงอีกชิ้นหนึ่งที่ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกัน ระหว่าง อาจารย์ นักศึกษา การละคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศิลปิน ชาวบ้าน เยาวชนในชนบท ที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเองให้กับเยาวชนในภาคอีสาน
สินไซรู้ใจตน จากนวัตกรรมการแสดง สู่ความภาคภูมิใจในรากเหง้าตนเอง Read More »
ประเทศไทยประสบกับปัญหาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ที่มีอัตราสูง โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเกิดสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 600 รายต่อปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งด้านร่าง กาย ด้านจิตใจ รวมไปถึงการสื่อสารร่วมกับคนในสังคม หาวิทยาลัยขอนแก่นจึงคิดค้น อุปกรณ์ปรับแต่งจมูกสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ หรือ Nasal Creator Device โดยทีมวิจัยสหสาขาวิชาชีพจากคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ต้องการใช้นวัตกรรมทางการแพทย์ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น รศ.ทพ.ดร. พูนศักดิ์ ภิเศก หัวหน้าทีมผู้คิดค้นอุปกรณ์ปรับแต่งจมูกสำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า การออกแบบอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ได้ทำการวิจัยร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งเริ่มจากนักศึกษาทันตแพทย์ระดับปริญญาตรีได้ทำการศึกษาออกแบบพัฒนาเครื่องมือเป็นตัวต้นแบบ ตามมาด้วยการศึกษาวิจัยต่อยอดทางคลินิกโดยนักศึกษาหลังปริญญาในหลักสูตรทันตแพทย์ประจำบ้านสาขาทันตกรรมจัดฟันได้ศึกษาผลของอุปกรณ์นี้ในเชิงคลินิก ซึ่งเป็นการศึกษาต่อเนื่องที่ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยคณาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการวิจัย “คนไข้ปากแหว่งเพดานโหว่ หลังจากที่เราทำการรักษาไปแล้ว เขายังขาดความมั่นใจ รู้สึกว่ายังมีจมูกที่ผิดรูปร่าง ดังนั้น นักวิจัยจึงได้วางแผนการรักษาออกแบบและพัฒนาเครื่องมือ ที่จะทำให้รูปร่างจมูกคนไข้ดีขึ้นโดยใช้อุปกรณ์ตัวนี้ในการรักษา ร่วมกับการเย็บแต่งจมูกและริมฝีปากครั้งแรกในช่วงแรกเกิด ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากที่สุด เดิมทีอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ยังไม่มีการผลิตขึ้นมาในประเทศ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาชิ้นละ 3,500 – 4,000 บาท ต่อชิ้น ซึ่งคนไข้ปากแหว่งเพดานโหว่ 1 คนต้องใช้ประมาณ 3 ชิ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อผู้ป่วย 1 คน อยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท