โจทย์สำคัญในการพัฒนายกระดับแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย คืออะไร?
.
รายการ “ฟังเสียงประเทศไทย” เปิดวงสนทนามองภาพอนาคต “แรงงานอีสานกลางกระแส Soft Power” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ณ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มข. ร่วมกับเครือข่ายศิลปิน ผู้ประกอบการ นักวิชาการ คนรุ่นใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตั้งต้นสนทนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อีสาน
.
…การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในการจัดการสนับสนุน หนุนเสริม รวมถึงงบประมาณ / เรื่องทักษะที่น่าจะเชื่อมต่อสถาบันการศึกษา / เรื่องสวัสดิการที่ยังเป็นโจทย์ / ความมั่นคงรายได้-อาชีพ/ เรื่องการสร้าง Eco system ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ ถูกนำมาพูดถึงในวงสนทนา “แรงงานอีสาน กลางกระแส Soft Power”
ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขามคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นหัวหน้าทีมวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
.
“…มีสองส่วน ทั้งรัฐที่ต้องช่วยขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเราต้องทำผลงานของเราให้มีคุณภาพ ยกตัวอย่างประเทศเกาหลี ถือเป็นตัวอย่างที่ดี เวลาจะส่งเสริมอะไรสักอย่าง เขาจะรวมทุกอย่างในนั้น ทั้งอาหาร ท่องเที่ยว ดนตรี ศิลปะ เพลงในนั้น …อย่างของไทยเรา หนังเรื่อง “ลูกอีสาน” ก็เป็นตัวอย่างที่ดีอีกเรื่องเช่นกัน และสิ่งเหล่านี้ จำเป็นต้องมีพื้นที่ในการสื่อสาร
ผมเห็นด้วยว่า มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่พัฒนาทักษะได้ดี ต่อให้รัฐบาลจะเปลี่ยนไปอย่างไร แต่มหาวิทยาลัยยังอยู่ และสามารถเก็บและพัฒนาองค์ความรู้เหล่านี้ให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่นได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องคนผลิตและเซลล์ที่จะเอาของไปขาย และสำคัญที่สุดคือเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฉะนั้นรัฐบาลอาจต้องกลับไปมองให้ อปท.สามารถจัดการเองได้ ต่อไปอาจจะมีแผนของท้องถิ่นในการจัดสรรงบประมาณเรื่องนี้ได้ เพราะท้องถิ่นมีรายได้ และสามารถตัดสินใจเองได้ ทำให้เกิดวงจร Eco system…” ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าทีมวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าว
คุณสุมาลี สุวรรณกรประธานเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน
.
คุณสุมาลี สุวรรณกร ประธานเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน กล่าวเสริมว่า “น่าจะมีการปลดล็อกให้ อบต. อปท. สนับสนุนศิลปินในนามบุคคลได้ นอกจากนี้ยังมีการขับเคลื่อนเรื่องศิลปวัฒนธรรม มีทั้งเรื่องกฎหมายเรื่องแรงงานอิสระกะเป็นความหวัง และเรากำลังจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาปัญญาแผ่นดิน เพื่อดูแลผู้ทำงานด้านศิลปิน เพื่อดูแลสมาชิก มีสวัสดิการดูแลศิลปิน อนาคตแรงงานสร้างสรรค์อย่างเราควรมีสังกัดอย่างชัดเจน ตอนนี้ส่งเรื่องไปกระทรวงวัฒนธรรม แต่จริงแล้วเราอยากให้ส่งไปที่กระทรวง อว. เพื่อให้มีการส่งเสริมศิลปินให้มีความยั่งยืน”
คุณภัคพงศ์ แสนชาติเครือข่ายเยาวชน (KK-VOY)
.
คุณภัคพงศ์ แสนชาติ เครือข่ายเยาวชน (KK-VOY) ร่วมสะท้อนในมุมของเยาวชน นศ. ว่า“ตัวเลขที่ นศ.จบใหม่จะเข้าสู่แรงงานสร้างสรรค์ 4-5 หมื่นคน แต่ปัจจุบันเราไม่เห็นว่าเราจะอยู่ตรงไหน ฉะนั้นมองกลุ่มเด็กด้อยโอกาสที่เขาจะเข้ามาตรงนี้ กลุ่มคนเหล่านี้ไม่กล้ามีความฝันที่จะเข้ามาเป็นกลุ่มแรงงานสร้างสรรค์เหมือนคนที่มีต้นทุนเพราะเขากลัวว่าจะเอาอะไรกิน พอพูดถึงแรงงานสร้างสรรค์มันไม่ใช่อาชีพของคนแก่ คือเราไม่สามรถทำได้ตลอด เป็นอาชีพคล้ายงานอดิเรก เป็นฟรีแลนซ์ไปไม่มั่นคง มันต้องมีระบบนิเวศให้มั่นคง ต้องมีกฎหมาย มี พ.ร.บ.ต่าง ๆ …ถ้าวิศวกรทำให้มนุษย์ไปถึงดวงจันทร์ กวีจะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น แรงงานสร้างสรรค์เราอาจจะมองแค่มูลค่าไม่ได้ อาจจะต้องมองเรื่องคุณค่าด้วย”
.
“เราทุกคนคือแรงงาน” ขณะที่รัฐบาลและหลายฝ่ายกำลังมะรุมมะตุ้มหาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในระดับนโยบาย 11 อุตสาหกรรม โจทย์การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานจะเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นและศักยภาพแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
รับชมรายการย้อนหลังได้ที่ https://web.facebook.com/youdeemeehang/videos/439025335362536/
Department of Foreign Trade at KKU to launch the “AGRI PLUS AWARD 2024” Project that creates added values to innovative agri-products to reach international market
KKU COLA joins a forum on “Isan Labor amid Soft Power”, to find the key problem in upgrading labor in Thai creative industry, at Listen to Thailand Program (Thai PBS)
.
——————————