มข. ร่วมหารือทางวิชาการร่วมกับ Professor จาก University of Toyama และ Keio University ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องรับรองพิเศษ ชั้น 6 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ พร้อมด้วย รศ.ดร.เยาวเรศ ชูลิขิต รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ และ ผศ.ดร.ขวัญเกศ กนิษฐานนท์ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ ร่วมหารือความร่วมมือกับ Assoc.Prof. Suresh Awale จาก University of Toyama ประเทศญี่ปุ่น และ Professor MotoKo Kanke, Guest Professor จาก Keio University Faculty of Pharmacy, Tokyo, Japan โดยมีวัตุประสงค์เพื่อหารือความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัย และแลกเปลี่ยนการสอน ในด้านการแพทย์และเภสัชศาสตร์ และตลอดจนมีส่วนช่วยส่งเสริมด้านการตีพิมพ์ Publication และเพิ่มฐาน H-index citation มากยิ่งขึ้น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้อภิปรายประเด็นปทางการแพทย์ เรื่อง ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน และปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ซึ่งหัวข้อการศึกษานี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ Assoc. Prof. Suresh Awale จาก University of Toyama ประเทศญี่ปุ่น ยังได้รับเกียรติมาแลกเปลี่ยนในโครงการ Reinventing University ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ How to find a cure for pancreatic cancer? Strategies and leads from natural medicine และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 บรรยายในหัวข้อ “ Innovate to elevate: Optimizing research impact”

ในการนี้ คณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีบันทึกข้อตกลงทางวิชาการ MOU กับ University of Toyama ประเทศญี่ปุ่น

ข่าว/ภาพ: กองการต่างประเทศ มข.

สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัดยโสธร จัดหลักสูตร Upskill ให้กับบุคลากรภาครัฐ ด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ เพื่อลดข้อขัดแย้งและคดีความที่เกิดขึ้น และ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ ของกระทรวงยุติธรรม

คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

Scroll to Top