รศ. ดร. นวรัตน์ วราอัศวปติ รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ พร้อมด้วย รศ. ดร. วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ และรศ.ดร.ฑีฆายุ พลางกูร จอร์นส รองคณบดีฝ่ายวิจัย บัณฑิตศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ Global Symposium “Integrating Health Systems: Policies and Programs that Work” ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2566 จัดโดย Harvard School of Dental Medicine ร่วมกับ Harvard’s Global Health Institute และ Mass General Brigham Center for Integration Science โดย รศ. ดร. นวรัตน์ วราอัศวปติ ได้รับเชิญให้เป็น Scientific Advisory Committee ในงานประชุมดังกล่าว อีกทั้ง รศ.ดร.วรานุช ปิติพัฒน์ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง Preparing for Aging Society Through Integrative Healthcare Under UHC in Thailand ในงานประชุมครั้งนี้ด้วย
ในวันที่ 29 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหาร มข. ได้เข้าเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับ Dr. William Giannobile, Dean of Harvard School of Dental Medicine และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและเป็นกันเองจากทีมอาจารย์จาก Harvard School of Dental Medicine ซึ่ง รศ. ดร. นวรัตน์ วราอัศวปติ และ รศ. ดร. วรานุช ปิติพัฒน์ ยังเป็นศิษย์เก่าสถาบันแห่งนี้อีกด้วย
คณะผู้บริหาร มข. ยังได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 30 มีนาคม 2566 ได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับ Tufts University School of Dental Medicine (TUSDM) และหารือความร่วมมือในอนาคตด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร และนักศึกษา, การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยร่วมกันระหว่างสถาบัน ร่วมกับ Dr. Nadeem Karimbux, Dean of TUSDM
ในการนี้ รศ. ดร. นวรัตน์ วราอัศวปติ ยังได้เข้าเยี่ยมชมและเจรจาความร่วมมือด้าน Head & Neck Oncology และ Health AI ร่วมกับ Dr. Lori Wirth, Dr. Shawn Murphy, Dr. Thomas Roberts, Massachusetts General Hospital (MGH) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566
อีกทั้ง ระหว่างวันที่ 4-6 เมษายน 2566 ยังได้เข้าเยี่ยมชมและเจรจาความร่วมมือกับ Dr. Edward Hundert (Dean for Medical Education) และ Dr. David Roberts (Dean for External Education), Harvard Medical School เรื่อง Education Transformation และ online learning
การเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ และการหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยร่วมกับสถาบันชั้นนำของประเทศสหรัฐเมริกาดังกล่าวข้างต้น นับเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัย รวมถึงยังเป็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการแพทย์ระดับสูง เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในระดับประเทศและภูมิภาคต่อไป
ข่าว: อิศรา สุริยกุล ณ อยุธยา นักวิเทศสัมพันธ์ ชำนาญการ กองการต่างประเทศ