ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์เกียรติศักดิ์ ศรภิรมย์ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณีเป็นประธานกล่าวเปิดงานและต้อนรับนักเรียนค่ายที่ได้การคัดเลือกจากผู้สมัคร 200 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนทั่วทุกภูมิภาค ได้ผู้เข้าร่วม 30 คน จาก 29 โรงเรียน ด้วยการทดสอบวิชาการด้านธรณีวิทยาพื้นฐานและจิตวิทยาความสนใจในกิจกรรม
ค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 จัดทำโดยนักศึกษาทีมงานปี 2-3 ในความดูแลของ อ.ดร.วิมลทิพย์ สิงห์เถื่อน ที่ร่วมวางแผน จัดเตรียมงาน และจัดงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยค่ายวิชาการนี้นับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติของการศึกษาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนหลักจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- งบสนับสนุนจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- งบสนับสนุนจาก งานวิจัยเรื่องการศึกษาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการท่องเที่ยวเชิงธรณีของอุทยานธรณีแห่งชาติ ขอนแก่น โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน.
- สถานที่ ตัวอย่างแร่ หิน กล้องจุลทรรศน์ฯ เครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น และอุปกรณ์สารสนเทศจากสาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- อุปกรณ์สารสนเทศและชุดการถ่ายทอดสดจากฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ลิขสิทธิ์ ZOOM ในการถ่ายทอดสดจากสำนักเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- การอำนวยความสะดวกในการถ่ายทำวีดีทัศน์ภาคสนามจากอุทยานแห่งชาติภูเวียง
- และขอขอบคุณ เพจ Mitrearth เพจ แคมป์ฮับ และ เพจ Dek-D ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ค่ายวิชาการของเราให้นักเรียนทั่วประเทศ
โดยกิจกรรมค่ายวิชาการ Geo Explosive Camp 2022 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
- การเรียนรู้ภายในสาขาวิชาผ่านห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ในสาขาวิชา แบบ Virtual Laboratory
- ห้องปฏิบัติการแร่และหิน
- ห้องปฏิบัติการศิลาวิทยา (กล้องจุลทรรศน์)
- ห้องปฏิบัติการบรรพชีวิน
- ห้องปฏิบัติการธรณีวิศวกรรม
- การออกสนามที่อุทยานธรณีขอนแก่น ส่วนของอุทยานแห่งชาติภูเวียง แบบ Virtual Fieldtrip
- การทำกิจกรรมกลุ่มนักเทคโนโลยีธรณีในอนาคต Geo Exclusive Job โดยนักเรียนทั้ง 6 กลุ่มได้นำเสนอแนวคิดที่สร้างในการพัฒนางานจากองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยา ดังนี้
- กลุ่ม1 JadyPOW Thailand Co., Ltd รับสำรวจทรัพยากรใต้ผิวโลกด้วยเครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ที่หลากหลายและครบถ้วนในรูปแบบองค์กรมหาชน เช่น GPR EM Resistivity คลื่นไหวสะเทือน multibeam หยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์ ฯลฯ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเป็นผู้ควบคุมงานหลักและสร้างเครือข่ายไปทั่วโลก
- กลุ่ม 2 บริษัทผลิตและขุดเจาะน้ำบาดาล รับสำรวจน้ำบาดาล ปรับปรุงคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำบาดาลนั้นสู่การตลาดสากล โดยมีหน่วยงานหลักอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางด้านทรัพยากรน้ำบาดาล
- กลุ่ม 3 การทำเหมืองเเร่ดีบุกที่จังหวัดภูเก็ต สำรวจและผลิตแร่ดีบุกบริเวณจังหวัดภูเก็ต อีกทั้งยังเป็นศูนย์การเทรดแร่ทองคำ แร่เงิน และแร่ทองแดงในระดับแนวหน้า
- กลุ่ม 4 GMT INDUSTRY (Green Mining and Technologies) สำรวจทรัพยากรธรณีจากภาพถ่ายทางอากาศและการสํารวจระยะไกล หรือ Remote Sensing อีกทั้งยังให้บริการพัฒนาและปรับปรุงแร่เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- กลุ่ม 5 Geology is lifestyle (Geotourism) การใช้ทรัพยากรธรณีวิทยาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอาหาร ผ่านการจัดทริป ผลิตภัณฑ์ สถาปัตยกรรมของร้าน และเครื่องแบบพนักงาน โดยให้ชุมชนและชาวบ้านมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- กลุ่ม 6 INSIDE EARTH COMPANY รับสำรวจทรัพยากรธรณี งานวิศวกรรมธรณี และศูนย์การเรียนธรณีวิทยาเพื่อชุมชน โดยมีหน่วยงานหลักอยู่ที่ประเทศเยอรมันและพัฒนาองค์ให้มีเครือข่ายระดับสากล
- กิจกรรมสันทนาการเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อพี่และน้องค่าย
นักเรียนจะได้รับของที่ระลึกและอุปกรณ์ค่ายก่อนถึงวันจัดกิจกรรมจริง ได้แก่ เสื้อ กระเป๋า คู่มือค่าย และของที่ระลึกอื่น ๆ อีกทั้งค่ายฯ ยังมีการมอบรางวัลให้นักเรียนค่ายที่มีความสามารถโดดเด่นในการร่วมกิจกรรมตลอด 2 วันที่ผ่านมา ประกอบด้วย
รางวัล The best geo knowledge ประมวลผลการเรียนรู้ด้านธรณีวิทยาพื้นฐาน
- นางสาวกนกวรรณ เสือป่า (โอ๋เอ๋) จากโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
รางวัล The best geo mapper ประมาวลผลกิจกรรมลงตำแหน่ง ทำแผนที่ จากภาคสนาม
- นายกฤษฎา สุขกมล (เจ๋ง) จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
รางวัล Teamwork: Geo Exclusive Job กลุ่ม 5 Geology is lifestyle (Geotourism) ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
- นางสาวศิริพร แก้วฉลาด (โม) จากโรงเรียนสิรินธร
- นางสาวภัคพสุตม์ กันทรากรณ์ (ข้าวฟ่าง) จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล
- นางสาวกาลดาว วิจารณ์ปรีชา (ดาว) จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- นางสาวกุลสินี สีนอเพีย (บูม) จากโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ฯ
- นายชยณัฐ จูมสิมมา (กาย) จากโรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://te.kku.ac.th/?p=23555