ศึกษาศาสตร์ KickOff แผนยุทธศาสตร์ปีงบ 65 ตอบสนองความท้าทายที่สำคัญของการศึกษาหลังโควิด19 “The NEXT Normal Education” พร้อมทั้งถ่ายทอด OKRs ลงสู่หน่วยงานภายในและบุคคลากรรายบุคคล

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564  คณะศึกษาศาสตร์จัดกิจกรรม KickOff แผนยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ 2565 ตอบสนองความท้าทายที่สำคัญของการศึกษาหลังโควิด19 “The NEXT Normal Education” พร้อมทั้งถ่ายทอดผลลัพธ์ที่สำคัญ (OKRs) ลงสู่หน่วยงานภายในและบุคคลากรรายบุคคล โดย รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ฉายภาพวิสัยทัศน์และเป้าหมายของคณะศึกษาศาสตร์ที่จะเป็นคณะชั้นนำ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มุ่งเน้นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถยกระดับการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพ

รศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เผยว่า ในปีงบประมาณ 2565 นี้จะมีการปรับยุทธศาสตร์และออกแบบโครงการสำคัญเพื่อให้สอดรับกับนโยบายทางการศึกษาของชาติและนโนบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การผลิกโฉมหน้าอุดมศึกษา การยกระดับคุณภาพการวิจัยทางการศึกษาสู่ Q1 และ Q2 ไปพร้อมกับการวิจัยที่แก้ปัญหาสังคมและสร้างนวัตกรรมที่ทนต่อการใช้งาน การบริการวิชาการที่เน้นการสร้างคุณค่าร่วมในรูปแบบ CSV และขับเคลื่อนสู่ SDGs โดยเฉพาะ SDGs 4 ที่เน้นการสร้างการศึกษาที่มีคุณภาพเปิดโอกาสให้กับทุกคนทุกกลุ่มด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาจะเดินหน้าเติมที่ให้เกิดการพลิกโฉมการเรียนรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่เน้นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้มากกว่าการถ่ายทอด ได้แก่ โครงการ การจัดการเรียนรู้ตามกรอบการพัฒนาคุณลักษณะวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ เช่น TPACK/STEM/PLC/ Computational Thinking/ AI / Research/การคิด และรวมไปถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่ให้ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นฐาน เช่น ยกระดับห้องเรียนสู่ Hybrid Classroom สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม (EDINNO Space) เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาหลักสูตรผลิตครูแห่งอนาคต (การสร้าง/ปรับปรุงหลักสูตรตามกระบวนทัศน์ใหม่) และสร้างทักษะและสมรรถนะบัณฑิตเพื่อการแข่งขันผ่านโครงการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการทางการศึกษาใหม่ให้แก่นักศึกษา การสร้างและพัฒนาสมรรถนะ ขีดความสามารถของคณาจารย์เพื่อการผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศด้วยโครงการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ที่สนองตอบต่อการทำงานและการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคม (Disruptive Educator) และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยประสานความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
อีกทั้งคณะฯยังได้จัดตั้งกองทุนฯเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว 3 กองทุนฯคือ กองทุนวิจัย นวัตกรรมและบริการวิชาการฯ คณะศึกษาศาสตร์ กองทุนพัฒนาวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ (ทุนตำรา/ทุนศึกษาต่อ/ทุนฝึกอบรม ฯลฯ)  และกองทุนสวัสดิการฯคณะศึกษาศาสตร์ (ดูแล/ห่วงใย/ใส่ใจและผูกพัน) ยุทธศาสตร์ด้านความเป็นนานาชาติและการต่างประเทศมุ่งเน้นสร้างชื่อเสียง (reputation) คณะศึกษาศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติผ่านงานการศึกษาและงานวิจัย

นอกจากนี้ยังสร้างบรรยากาศและสิ่งสนับสนุนเพื่อตอบสนองความเป็นนานาชาติ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เป็นเลิศ โดยใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนด้วยโครงการสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ และแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management) การสร้างและพัฒนาระบบบริหารบุคคลที่สนับสนุนการขับเคลื่อนไปสู่คณะชั้นนำของประเทศด้วยโครงการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงานโครงการพัฒนาทักษะของบุคลากรให้มีความพร้อมสําหรับการทํางานในอนาคต (Future skill Development) ผ่านโครงการระบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับ OKRs รายบุคคล

 

อีกทั้งยังได้มองถึงโอกาสที่น่าลงทุนเพื่อการสร้างระบบรายได้ที่ยั่งยืนเพื่อสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อสร้างรายได้ด้วยโครงการสร้างผู้ประกอบการทางการศึกษาเชิงสังคมและเชิงพานิชย์ (Educational Entrepreneurs for Social Enterprise and Business Challenge) โดยความร่วมมือกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์สุดท้ายคือยกระดับโรงเรียนสาธิตให้มีความเป็นเลิศเพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะ โดยการปรับวิสัยทัศน์ใหม่และเดินหน้าเต็มที่สู่การเป็นโรงเรียนชั้นนำด้านวัตกรรมการศึกษา ผลิตนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล

 

Scroll to Top