อุปกรณ์พร้อม ! มข. มอบ Mini Production house หนุน อาจารย์ผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ เร็ว ง่าย ได้คุณภาพสูง

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีมอบชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) ให้แก่ทุกคณะ โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ในการนี้มี คณบดี คณาจารย์ จากทุกคณะ ร่วมกิจกรรม กว่า 60 คน ณ ห้อง Learning Center ชั้น 3 อาคาร 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2564 ฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดพิธีมอบชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างง่ายได้รวดเร็วขึ้น และ ยังเป็นการรองรับการผลิตสื่อดิจิทัล สำหรับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์การเรียนรู้แบบใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

พิธีมอบชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) ให้แก่ทุกคณะในครั้งนี้สืบเนื่องจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบการผลิตบทเรียนออนไลน์ เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างง่ายได้รวดเร็วขึ้น และ ยังเป็นการรองรับการผลิตสื่อดิจิทัล สำหรับการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับกระบวนทัศน์การเรียนรู้แบบใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การมอบ mini production house เกิดจากแนวคิดที่ต้องการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ให้มีศักยภาพและคุณภาพสูงเหมาะสมกับผู้เรียน โดยที่ทุกหน่วยงานสามารถผลิตสื่อของตนเองได้ในระดับที่ดีขึ้น

ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ฝ่ายดิจิตอล และ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน  จัดกิจกรรมการรับมอบ mini production house สืบเนื่องจากแนวคิดสำคัญของท่านอธิการบดีที่อยากให้ทุกคณะ มีส่วนร่วมในการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ให้มีศักยภาพและคุณภาพสูงเหมาะสมกับผู้เรียน กอปรกับสถานการณ์ covid -19 เราจึงคิดว่าทุกหน่วยงานน่าจะมี production house และ สามารถผลิตสื่อของตนเองได้ในระดับที่ดีขึ้น จากแต่เดิมที่อาจารย์ใช้ห้องทำงาน โต๊ะทำงาน ผลิตสื่อการสอนของตนเอง

มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างง่ายได้   อุปกรณ์ ประกอบด้วย ฉากเขียว ชุดไฟ คอมพิวเตอร์ จอ กล้องพร้อมกับขาตั้ง รวมทั้งโต๊ะ ทุกชิ้นเคลื่อนย้ายได้ง่าย พร้อมในการผลิตสื่อนอกสถานที่ 

“ชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) ประกอบด้วย ฉากเขียว ชุดไฟ คอมพิวเตอร์ จอ กล้องพร้อมกับขาตั้ง รวมทั้งโต๊ะ โดยที่อุปกรณ์ชุดนี้สามารถพับ เคลื่อนย้ายได้ง่าย พร้อมในการผลิตสื่อนอกสถานที่ เมื่ออาจารย์ผลิตสื่อการเรียนการสอนเรียบร้อยแล้ว หากเป็นบทเรียนที่อาจารย์ใช้ในรายวิชา ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะนำไปบรรจุเผยแพร่ใน KKU e-learning แต่ถ้าเป็นบทเรียนสำหรับการฝึกอบรมระยะสั้นด้านหลักสูตร Non-Degree จะมี KKU next  รองรับการที่บุคคลทั่วไปจากข้างนอกสามารถเข้ามาเรียนได้ โดยที่ท่านไม่ต้องไปสร้างเซิฟเวอร์ใหม่ของตัวเอง  ซึ่งหลังจากวันนี้ทีมศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะร่วมกันทำงานกับคณาจารย์แต่ละคณะ และ ทีมของผู้ผลิตสื่อ ในการที่จะทำให้ชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) ชุดนี้เป็นประโยชน์มากที่สุด” รองอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าว

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นพยายามที่จะเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยจาก Teaching Paradigm เป็น Learning Paradigm จากเดิมที่อาจารย์เน้นการสอนมาเป็นเน้นการเรียนรู้ เน้นกระบวนการสร้างความคิดให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งมหาวิทยาลัยในต่างประเทศสอนให้เด็กคิดมากกว่ารู้ ตอนจบปริญญาตรีความรู้สู้บัณฑิตไทยไม่ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บัณฑิตเขาจะไปหาความรู้เพิ่ม ขณะที่บัณฑิตเราจะลดลง นอกจากนั้นการที่เราสอนให้บัณฑิตรู้แต่ไม่ได้สอนให้คิด จะทำให้เขาจะไม่สามารถคิดสร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า เป็นเหตุให้ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นความหวังที่เราจะผลิตบัณฑิตออกไปช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงเพื่อที่จะทำให้ประเทศหลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง

Learning Paradigm วิธีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นแปลงเป็นรูปธรรมคือ การเปลี่ยนจากอาจารย์ที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่อาจารย์เป็นที่เป็นโค้ช ซึ่ง online learning ตอบโจทย์การสร้างกระบวนการเรียนรู้ในข้อนี้ การที่เด็กเรียนในชั้นเรียนอาจจะเข้าใจแค่ 20% แต่ถ้าเด็กไปนั่งอ่าน นั่งดู ความเข้าใจของเขาจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 40 % หากเด็กได้ลงมือทำด้วยจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% เพราะฉะนั้น online learning จะมาช่วยกระบวนการ Learning Paradigm การสร้างความคิดให้แก่ผู้เรียน   แทนที่เราจะมานั่งเลคเชอร์  สามารถปรับใหม่ให้เด็กไปอ่านที่บ้าน และเมื่อถึงชั่วโมงที่ต้องพบปะกัน อาจารย์ต้องมาตรวจสอบว่าที่ไปดูมานั้น รู้เรื่องหรือไม่ ที่เรียกว่า tutorial  hour สร้างคำถามนำให้เด็กตอบ ตอบถูกแปลว่าเข้าใจ ตอบผิดไปว่าไม่เข้าใจ และต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน  จากที่กล่าวมาโครงการนี้จึงเป็นการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานให้คณะไปดำเนินงานต่อ   บางคณะอาจจะมีอุปกรณ์มากกว่านี้ บางคณะอาจจะมีน้อย หรือ ไม่เพียงพอ ฉะนั้น ชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ (Mini Production house) เหล่านี้ จึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะช่วยคณะ ให้คณาจารย์ผลิตสื่อการสอนด้วยตนเอง ที่มีคุณภาพสูง สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ภายหลังการกล่าวเปิด เป็นการมอบชุดอุปกรณ์สำหรับการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ให้ตัวแทนคณะ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปให้คณะ คณาจารย์ พัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

ข่าว : รวิพร สายแสนทอง ภาพ : ณัฐวุฒิ เพชรประไพ

KKU provides the Mini-Production House sets to all faculties to promote quick, simple and quality media production for online instruction

https://www.kku.ac.th/11347

 

 

https://www.youtube.com/watch?v=6oDRVxBkUgw

 

Scroll to Top