คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดเสวนาเครือข่ายและคัดเลือกฟาร์มต้นแบบติดตั้งระบบ Smart Framโครงการเครือข่ายผู้เพาะเลี้ยงเห็ด สมาร์ทฟาร์ม (SMART FARMING) สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดในเขตพื้นที่ “ร้อยแก่นสารสินธุ์” (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) ณ อาคาร TE06 คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมัครฟรี!!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
ถ้าคุณใช่… เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ด
ถ้าคุณมี… ฟาร์มเพาะเลี้ยงเห็ดอยู่
มาร่วมเป็นเครือข่ายกับเรา… เรามี ระบบ Smart Farm ช่วยสนับสนุน
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอเชิญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ด เข้าร่วมเสวนาเครือข่ายและคัดเลือกฟาร์มต้นแบบติดตั้งระบบ Smart Fram โครงการเครือข่ายผู้เพาะเลี้ยงเห็ด สมาร์ทฟาร์ม (SMART FARMING) ในเขตพื้นที่ “ร้อยแก่นสารสินธุ์” (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์) เสวนาเครือข่ายและคัดเลือกฟาร์มต้นแบบติดตั้งระบบ Smart Fram โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
วันที่ 23 เมษายน 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ อาคาร TE06 คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ – 22 เมษายน 2564
หากได้รับการคัดเลือกเป็นฟาร์มต้นแบบ ฟรี!! ระบบ Smart Fram ประกอบด้วย ระบบแสงสว่าง ระบบรดน้ำ และระบบควบคุม อุณหภูมิและความชื้น การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพื้นที่
พร้อมให้คำปรึกษา
หรือ https://forms.gle/hV2iFr3yKYWZf2GaA
สอบถามเพิ่มเติม : อาจารย์ ดร.ธัญญา จันทร์ประสพชัย
เบอร์โทรศัพท์ : 08-7945-9922 หรือ E-mail : thacha3@gmail.com
สำหรับอาชีพเกษตรกรรมในประเทศไทย ถือว่าเป็นอาชีพที่จำเป็นและขาดไม่ได้ แต่เป็นอาชีพที่พึ่งพาธรรมชาติสูง แต่เมื่อธรรมชาติเกิดการแปรปรวนในแต่ละปี ทำให้ ผลผลิตที่ได้ ไม่แน่นอน เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการพึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้น จึงต้องอาศัยเทคโนโลยี ช่วยในการผลิต เพาะปลูก เพื่อช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เกษตรกรในเมืองไทย ส่วนใหญ่ ยังคงมีการศึกษาที่ไม่เพียงพอ ทำให้การศึกษาด้วยตัวเองนั้นเกิดความยากลำบาก ในการหาความรู้ และหาแหล่งความรู้ โครงการนี้ จะช่วยให้เกษตรกร ได้มีโอกาสในการใช้งานเทคโนโลยี Smart farm เพื่อช่วยในการเพาะปลูกพืชต่างๆได้ แต่โครงการนี้จะเน้นไปที่การเพาะปลูกเห็ด เพื่อเป็นต้นแบบในเบื้องต้น และสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับพืชหรือสัตว์ชนิดอื่นๆได้
โครงการนี้ เกษตรกรจะได้มีโอกาศใช้งาน Smart farm ทำให้ต้องมีการฝึกฝน และศึกษาถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่น่าสนใจที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตัวเกษตรกร ทำให้มีการศึกษาตามอัธยาศัย และเกิดโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นการศึกษาตลอดชีวิตของเกษตรกรเองได้
โครงการนี้ เกษตรกร จะได้สัมผัสกับเกษตรสมัยใหม่ที่เป็นปัจจุบัน เท่าเทียมกับต่างประเทศ ได้มีการเข้าสังคมที่มีผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกันมากมาย ได้เกิดเป็นเครือข่ายสังคมที่เป็นวิชาชีพเดียวกัน ได้มีการพูดคุย ปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกัน เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง สามารถที่จะรับรู้ถึงการตลาด และกลไกการตลาดที่อยู่นอกเขตพื้นที่ของตัวเองได้ผ่านทางเครือข่าย มีโอกาศที่จะโยกย้ายผลผลิต ที่เกิน ไปสู่พื้นที่ที่ขาดแคลนผลผลิตที่อยู่นอกพื้นที่ตัวเอง ไปสู่พื้นที่ของเครือข่าย ท้ายที่สุด เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จะเกิดการพัฒนาตัวเอง และ สามารถที่จะเพิ่มผลผลิตของตัวเองที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 5-10%
รวบรวม ข่าว : เบญจมาภรณ์ มามุข