สำนักข่าว : thainews.prd.go.th
URL : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210330134732523
วันที่เผยแพร่ : 30 มีนาคม 2564
หลายภาคส่วนร่วมประชุมพิจารณาร่างมติโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น
ที่ โรงแรมอวานี ขอนแก่น นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดการประชุมเพื่อพิจารณาร่างมติโครงการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ จากฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขอนแก่นอากาศสะอาด แนวทางในการจัดการ มลพิษทางอากาศ P.M.2.5” ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่จังหวัดขอนแก่น ได้ให้ความสำคัญและได้มีการดำเนินการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมา อย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ประธานมูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า กล่าวว่า ในฐานะองค์กรประสานงานการจัดประชุมพิจารณาร่างมติ โครงการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ซึ่งประกอบไปด้วย ภาครัฐได้แก่ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ศูนย์สนับสนุน บริการสุขภาที่ 7 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครขอนแก่น ภาควิชาการ ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ภาคเอกชน ได้แก่ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมชาวไร่อ้อย บริษัทรวมเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (โรงน้ำตาลมิตรภูเวียง) บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) สาขาน้ำพอง สมาคมการค้าโลจิสติกส์แห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง บริษัท เค.ซี.เมททอลชีท จำกัด (มหาชน) ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจงัหวัด กลุ่มอากาศสะอาดขอนแก่น มีผู้เข้าร่วมประชุม 80 คน โดยได้รับการสนับสนุนกระบวนการที่เรียกว่าการขับเคลื่อนสมัชชาเชิงประเด็น โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ สช. และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดําเนินโครงการ ด้วยเล็งเห็นว่าปัญหาฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว หรือ PM.2.5 เป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยจะได้พัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่ เรียกว่า “สมัชชาเชิงประเด็น” กรณี PM 2.5 ให้ทุกฝ่ายได้ตระหนักและร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น