สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชง ที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น
สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์ ระหว่างวันที่ 3 – 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชง ที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัยด้านกัญชงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างแพร่หลาย
โดย กิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 วันที่ 3 เมษายน 2564 การประชุมวิชาการและเสวนาวิชาการ “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 16.30 น. สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ลงทะเบียนท่านละ 3,000 บาท ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความรู้ด้านกัญชงหลากหลายมิติ โดยทีมวิทยากรมากความสามารถจากหลากหลายสถาบัน ได้เข้าร่วมชมแปลงกัญชงและร่วมรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชง และกัญชา พร้อมรับของที่ระลึกที่ผลิตจากใยกัญชง รีบสมัครด่วน !!! รับจำนวนจำกัด เพียง 80 คน เท่านั้น
กิจกรรมที่ 2 วันที่ 3 เมษายน 2564 เปิดแปลงกัญชง สำหรับผู้เข้าร่วมชมกิจกรรมภายในงาน (ประเภททั่วไป) รับผู้เยี่ยมชม จำนวน 100 คน/ วัน อัตราค่าเข้าชมท่านละ 50 บาท สามารถเข้าชม แปลงได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 18.00 น. มีจำหน่ายบัตรเข้าชมแปลงกัญชงหน้างาน และ ในวันที่ 4 – 5 เมษายน 2564 เข้าชมแปลงกัญชงได้ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 18.00 น. พร้อมชิมชากัญชง และรับชมนิทรรศการความรู้ด้านกัญชง และกัญชา
สำหรับกัญชง หรือ เฮมพ์ (Hemp) ในประเทศไทยยังถูกจำแนกเป็นพืชเสพติดประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เพราะพืชกลุ่มนี้มีสาร Tetrahydrocannabinol (THC) สารเสพติดที่ ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท Cannabinol (CBN) และ Cannabidiol (CBD) สารต้านการออกฤทธิ์ของสาร THC ซึ่ง ในเฮมพ์มีปริมาณของสาร THC ต่ำกว่ากัญชามาก จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับเฮมพ์ จากทางลบกลายเป็นบวก เฮมพ์ จึงเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่โดดเด่นเรื่องของเส้นใย รองลงมา คือสาร CBD ใน เมล็ด ซึ่งเส้นใยเฮมพ์สามารถให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกฝ้าย ให้คุณภาพสูงกว่า ใช้แรงงานในการปลูกน้อยกว่า ไม่ต้องใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชปริมาณมาก เจริญเติบโตได้ง่าย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กัญชงเป็นพืชที่น่าจับตามองใน เรื่องพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ อีกทั้งยังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในการนำเส้นใยกัญชงเข้ามาทดแทน เส้นใยสังเคราะห์ทั้งหมดในอนาคต สาเหตุมาจากปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัญหาสุขภาพ อาจกล่าวได้ว่า เฮมพ์สามารถสร้างมูลค่านับแสนล้านจากการนำทุกส่วนของเฮมพ์ไปแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลาย ประเภทในระดับอุตสาหกรรม เช่น สิ่งทอเครื่องนุ่มห่ม อาหารมนุษย์ อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ผลิตกระดาษ ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และผลิตพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น ทำให้ต้องมีการส่งเสริมการปลูก ผลิต และจำหน่ายมากขึ้น แต่เนื่องจากพื้นที่ปลูกในประเทศไทยมีสภาพแวดล้อม สภาพ ภูมิอากาศค่อนข้างร้อน ส่งผลต่อปริมาณของสาร THC โดยตรง อาจทำให้ปริมาณของสาร THC ในเฮมพ์ที่ปลูกนั้น มีปริมาณค่อนข้างสูง ปัจจุบันปลูกได้ใน 6 จังหวัด 15 อำเภอของภาคเหนือของประเทศไทย
การจะเริ่มต้นปลูกเฮมพ์ แบบอุตสาหกรรมเส้นใยได้นั้น ต้องเป็นไปตามที่กฎกระทรวง ร ะบุไ ว้ซึ่งต้องมีปริมาณ Tetrahydrocannabinol (THC) ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง การปลูกเฮมพ์จึงเน้นระยะห่างระหว่างต้นให้ใกล้กันที่สุดซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีลำต้นยาวตรงสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้อง หรือข้อยาวเพื่อนำเส้นใย แกนลำต้น เมล็ด และใบจากเฮมพ์มาใช้ประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีการศึกษาค้นคว้างานวิจัย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีทั้งงานวิจัยพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์และทางคลินิก ตลอดจนมีนักวิจัย และเครื่องมือการวิจัยที่มีศักยภาพที่จะดำเนินการวิจัย ต่างๆ ทุกด้านและทุกสาขาวิชา มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัย แคนนาบิสครบศาสตร์ เพื่อดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับพืชกัญชง และกัญชา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับอนุญาตให้ผลิต (ปลูก) กัญชง ใน พื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวนประมาณ 2 ไร่ ณ หมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะทำการปลูกกัญชงเพื่อการศึกษาวิจัยกัญชง เพื่อปลูกประเมินลักษณะประจำพันธุ์ และปริมาณสาระสำคัญในกัญชง (THC) และ (CBD) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัฒนาระบบการผลิตกัญชงให้เหมาะสมกับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2563 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา และกองบริหาร งานวิจัยจึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการและงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชง ไทย” ขึ้นในวันที่ 3 – 5 เมษายน 2564 เพื่อให้ความรู้ด้านการปลูกและการใช้ประโยชน์จากกัญชง ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้วิจัยและพัฒนากัญชง ที่ได้มาตรฐานแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัยด้านกัญชงของมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นที่รู้จักของประชาชนอย่างแพร่หลายนั่นเอง
รวบรวมข่าว : เบญจมาภรณ์ มามุข
ข้อมูล : สถาบันวิจัยแคนนาบิสครบศาสตร์ กองบริหารงานวิจัย และฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา
กำหนดการพิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการ และงานเปิดแปลงกัญชง มข. “ร่วมคิด ร่วมฝัน ปลุกปั้น กัญชงไทย” ณ หมวดพืชผักคณะเกษตรศาสตร์