เมื่อวันที่ 11 – 15 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการค่ายมนุษย์ – สังคม ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2563 ขึ้น ณ โรงเรียนบ้านหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้รับเกียรติจากนางสาวเอมอร ผลบุภพ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง เป็นประธานในพิธีเปิด
![นางสาวเอมอร ผลบุภพ (ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/4-นางสาวเอมอร-ผลบุภพ-ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองช้าง-500x333.jpeg)
![ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี สอทิพย์ (รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/23-ผู้ช่วยศาสตราจารย์-ดร.มารศรี-สอทิพย์-รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา-ฯ-500x333.jpeg)
![ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี สอทิพย์ (รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิลปวัฒนธรรม)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/23-ผู้ช่วยศาสตราจารย์-ดร.มารศรี-สอทิพย์-รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา-ฯ-500x333.jpeg)
![ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัสมิลล์ วัชระกวีศิลป (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ฯ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/24-ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัสมิลล์-วัชระกวีศิลป-ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา-ฯ-500x333.jpeg)
![ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัสมิลล์ วัชระกวีศิลป (ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา ฯ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/24-ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัสมิลล์-วัชระกวีศิลป-ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา-ฯ-500x333.jpeg)
โครงการค่ายมนุษย์ – สังคม ครั้งที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ที่จะแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นโดยผ่านกระบวนการของการจัดค่ายอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา มีความรู้และประสบการณ์ กล้าแสดงออก และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
![นางสาวนิรัชพร เขจรจักร (ยู่ยี่)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/5-นางสาวนิรัชพร-เขจรจักร-ยู่ยี่-500x333.jpeg)
![นางสาวนิรัชพร เขจรจักร (ยู่ยี่)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/5-นางสาวนิรัชพร-เขจรจักร-ยู่ยี่-500x333.jpeg)
นางสาวนิรัชพร เขจรจักร (ยู่ยี่) นักศึกษาชั้นปีที่ ๓ หลังสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ฯ กล่าวถึงความสำคัญของการจัดโครงการค่ายมนุษย์ – สังคม ครั้งที่ 6 ว่า “สำหรับค่ายมนุษย์ – สังคม ครั้งที่ 6 เป็นค่ายที่เน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและได้รับประสบการณ์ในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในค่าย และที่ขาดไม่ได้เลยคือการอยู่ร่วมกับคนในชุมชน ในส่วนของชุมชนนั้น เราเน้นให้ทุกคนในค่ายมีกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน คือกิจกรรมจับสลากพ่อฮัก – แม่ฮัก กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ และกิจกรรมพาแลง ชึ่งแต่ละกิจกรรมที่เราทำร่วมกับชุมชนนั้น เราได้ตระหนักถึงการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษากับพ่อฮัก – แม่ฮัก และการศึกษาเรียนรู้การประกอบอาชีพของคนในชุมชน”
![นางคำสอน สระทอง (ศิลปินแห่งชาติ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/18-นางคำสอน-สระทอง-ศิลปินแห่งชาติ-500x333.jpg)
![นางคำสอน สระทอง (ศิลปินแห่งชาติ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/18-นางคำสอน-สระทอง-ศิลปินแห่งชาติ-500x333.jpg)
![นางสาวกชกร ลำพูล (นาขวัญ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/25-นางสาวกชกร-ลำพูล-นาขวัญ-500x333.jpg)
![นางสาวกชกร ลำพูล (นาขวัญ)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/25-นางสาวกชกร-ลำพูล-นาขวัญ-500x333.jpg)
นางสาวกชกร ลำพูล (นาขวัญ) นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาตะวันตก วิชาเอกภาษาสเปน กล่าวถึงสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ ฯ ว่า “จริง ๆ ก่อนไปค่ายได้ตั้งสิ่งที่คาดว่าจะได้รับไว้แล้ว หลัก ๆ คืออยากเจอเพื่อนใหม่ อยากทำความรู้จักกับคนภายในคณะให้มากขึ้น แล้วก็อยากไปทำนุบำรุงโรงเรียน เพราะว่าชอบทำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ได้กลับมาจริง ๆ คือมีมากกว่าที่คิดไว้ค่ะ เราได้เพื่อนใหม่ ได้มิตรภาพใหม่ ๆ เพราะภายในค่ายมีกิจกรรมให้ได้ทำความรู้จักกัน กล้าพูดได้ว่ารู้จักทุกคนในค่ายเลย เพราะพี่ ๆ ในค่ายก็จะพยายามหากิจกรรมให้พวกเราได้ทำร่วมกันให้มากที่สุดแล้วก็พยายามคละคนอยู่เรื่อย ๆ ก็เลยทำให้ได้เห็นหน้าทุกคน แล้วก็ได้รู้จักกันค่ะ อีกอย่างที่ได้คือเรื่องของความอดทนค่ะ การไปค่ายครั้งนี้มีการฝึกความอดทนจากการทำงานต่าง ๆ ภายในค่าย การตากแดดตากลมระหว่างทำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้มีความอดทนอดกลั้นมากขึ้นค่ะ อีกอย่างคือได้ความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่ไปทำค่าย ภายในค่ายก็จะมีกิจกรรมลงชุมชนเพื่อไปพูดคุยกับคนในชุมชน จากการลงชุมชนก็จะได้รับความรู้ต่าง ๆ มากมายเลยค่ะ และการไปค่ายครั้งนี้ก็ยังได้ครอบครัวหรือญาติผู้ใหญ่เพิ่มด้วยค่ะ เพราะว่าจะมีพ่อฮัก – แม่ฮักคอยดูแลพวกเราด้วย ทั้งเรื่องอาหารและความเป็นอยู่ ถึงจะไปอยู่แค่ระยะเวลาสั้น ๆ แต่รู้สึกเหมือนเขาเป็นญาติผู้ใหญ่ที่รู้จักมานานเลยค่ะ และอีกอย่างที่สำคัญที่ได้รับกลับมาจากค่ายคือความสุขค่ะ ระหว่างการอยู่ที่ค่ายหนูมีความสุขมาก ๆ ถึงแม้จะเหนื่อยแต่ก็สนุก และหนูมั่นใจว่าทุกคนที่ค่ายก็รู้สึกเหมือนกันค่ะ การไปค่ายครั้งนี้เหมือนเป็นการไปพักผ่อนสมอง ผ่อนคลายตัวเองจากเรื่องเครียด ๆ ตอนอยู่ค่ายรู้สึกสมองโล่งมากจริง ๆ ค่ะ เหมือนไม่ต้องคิดอะไร แค่สนุกไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ภายในค่ายก็พอ พอนึกถึงช่วงเวลาดี ๆ ภายในค่ายก็ยิ้มออกมาตลอดเลย มีความสุขมากจริง ๆ ค่ะ ขอบคุณพี่ ๆ ที่จัดค่ายดี ๆ แบบนี้ขึ้นมานะคะ และหนูหวังว่าค่ายดี ๆ แบบนี้จะยังมีต่อ ๆ ไป และหนูจะไปสมัครอีกแน่นอนค่ะ”
![นางสาวไปรยา สร้อยสังข์หวาน (สไปร์ท)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/26-นางสาวไปรยา-สร้อยสังข์หวาน-สไปร์ท-500x333.jpg)
![นางสาวไปรยา สร้อยสังข์หวาน (สไปร์ท)](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/26-นางสาวไปรยา-สร้อยสังข์หวาน-สไปร์ท-500x333.jpg)
นางสาวไปรยา สร้อยสังข์หวาน (สไปร์ท) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาตะวันออก วิชาเอกภาษาจีน กล่าวถึงความประทับใจในการเข้าร่วมโครงการ ฯ ว่า “ค่ายนี้เป็นค่ายเเรกในรั้วมหาวิทยาลัยสำหรับตัวน้องเลยก็ว่าได้ น้องไปค่ายมาเยอะก็จริง แต่สิ่งที่น้องสัมผัสได้คือค่ายนี้มันต่างออกไปมาก มากแบบมากจริง ๆ ไม่เหมือนที่ไปมาและไม่เคยได้รับความรู้สึกแบบพิเศษแบบนี้จากค่ายไหนมาก่อน มันมีทั้งความอบอุ่น ความรัก ความสนุก ได้เรียนรู้และสัมผัสวิถีชุมชน ความมีน้ำใจช่วยเหลือกัน ไม่รู้ว่าจะหาความพิเศษแบบนี้ได้จากที่ไหนอีก ต้องขอขอบคุณพี่ ๆ สโมสรนักศึกษาทุก ๆ คน ที่จัดค่ายนี้ขึ้นมา พี่ ๆ ทุกคนเหนื่อยกันมากกว่าจะมาเป็นค่ายที่สมบูรณ์ได้ขนาดนี้ ถ้าไม่มีพวกพี่ ๆ ค่ายนี้ก็คงไม่เกิด ขอบคุณที่ทำให้น้องได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เข้าใจวิถีชุมชน (ชาวบ้านน่ารักเเละดูแลดีมาก ๆ) ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้เด็กใต้คนนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค่าย มาทำกิจกรรมดี ๆ ขอบคุณค่ะ”
ทั้งนี้ กิจกรรมในโครงการ ฯ ประกอบด้วย กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และพัฒนาภายในโรงเรียน (สร้างลาน BBL, ทาสีสนามกีฬา, ทำความสะอาดภายในโรงเรียน) กิจกรรมวิชาการและนันทนาการร่วมกับน้อง ๆ นักเรียน และการลงพื้นที่ศึกษาเรียนรู้ชุมชน และกิจกรรมที่พิเศษมากกว่าทุกปีคือ กิจกรรมพ่อฮัก – แม่ฮัก สำหรับนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เป็นกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ และการประกอบอาชีพของผู้คนในชุมชนบ้านหนองช้าง ด้วยการที่ให้นักศึกษาได้ไปมีส่วนร่วมกับครอบครัวของพ่อฮัก – แม่ฮักของแต่ละคนแม้จะเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ที่ได้อยู่ร่วมกัน แต่ก็เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างนักศึกษากับพ่อฮัก – แม่ฮักเป็นการร่วมกันสร้างความทรงจำที่ดีควรค่าแก่การระลึกถึงของทุกคน
ข่าว: นายกิตติชัย กองแก้ว
ภาพ: สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์