เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ. ดร.นวรัตน์ วราอัศวปติ เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ผศ.ดร.อัจฉราวรรณ โตภาคงาม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ พร้อมด้วย นางสาวเนตรดาว จำเริญดารารัศมี รักษาการแทนผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ และ นางวิลาวัณย์ อังสุนันทวิวัฒน์ หัวหน้างานการต่างประเทศ ร่วมแสดงความยินดีกับนายสุริยัน วิจิตรเลขการ เนื่องในโอกาสเนื่องในโอกาสรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ในการนี้ คณะผู้บริหารได้ร่วมแลกเปลี่ยนหารือถึงประเด็นความร่วมมือต่างๆ ทางด้านการต่างประเทศ การศึกษา และวิจัย และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง รวมถึงยุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาร่วมกันในอนาคต
รศ. ดร.นวรัตน์ วราอัศวปติ เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ กล่าวว่า ในนามผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดีต่อท่าน เนื่องโอกาสดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และนับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้มีโอกาส ทำงานร่วมกัน และพัฒนาความร่วมมือด้านการต่างประเทศในด้านต่างๆ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษา และกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นนานาชาติ เรามีกองการต่างประเทศ ที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อเครือข่ายนานาชาติ และให้บริการนักศึกษาต่างชาติ บุคลากร คณาจารย์ต่างชาติ รวมถึงทุนการศึกษาต่างๆ เช่น ทุน ASEAN- GMS ที่เป็นทุนมอบให้นักศึกษาในภูมิภาคอาเซียน และ ลุ่มน้ำโขงมา เพื่อศึกษาต่อและทำวิจัย ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังเป็น Medical Hub Center และ ปัจจุบันมีการสนับสนุนนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่อง AI for healthcare ที่นับเป็นหนึ่งในโครงการที่กองการต่างประเทศ กำลังจะดำเนินการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้จริง
นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง กล่าวว่า “กระผมขอขอบพระคุณ ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นอย่างสูง ที่ให้เกียรติร่วมแสดงความยินดีและต้อนรับกระผม อย่างอบอุ่น สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute : MI) มีภารกิจ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างศักยภาพในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนและการขจัดความยากจนให้แก่ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (MI Charter 2003) โดยดำเนินงานภายใต้กรอบกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาทางการเกษตรและการพาณิชย์ (Agricultural Development and Commercialization) 2) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation) และ 3) นวัตกรรมและการเชื่อมโยงเทคโนโลยี (Innovation and Technological Connectivity) นอกจากนั้น กระผม มีความประสงค์ ที่ผลักดันการใช้องค์ความรู้ ไปประยุกต์ใช้จริงในการพัฒนานโยบาย และเปิดโอกาสให้นักวิจัย นำผลงานไปใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม ในอนาคต ทางสถาบัน ฯ มีแนวคิดที่จะพัฒนาลุ่มน้ำโขง สร้างความร่วมมือ ความเข้าใจ เพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนา รวมถึงการสนับสนุนประเทศสมาชิก มีการขับเคลื่อนบทบาท สถาบันฯ ในการนำเงินสนับสนุนจากประเทศเกาหลี มาทำ Program “Post Covid Recovery” เพื่อ แลกเปลี่ยน และสร้างความเข้มแข็งด้านการให้บริการด้านสุขภาพ โดย กำหนดมีทั้ง Regional Activity and National Activity เน้น การให้บริการทางการแพทย์ และจัดประชุมนานาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน”
ทั้งนี้ สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute : MI) เป็นองค์กรอิสระที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ของภูมิภาค โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในปี 2546 รัฐบาลของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีน
ข่าว/ภาพ : พราวแสง ภูสิงหา