มหาวิทยาลัยขอนแก่นทำโครงการควบคุมจำนวนประชากรประชากรสุนัขและแมวจรจัดปี 2563

    เน้นควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและแมวในกลุ่มสร้างความเดือดร้อนและกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยการทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
จัดทำทะเบียนประวัติและปล่อยกลับถิ่นอาศัยเดิม

        กองจัดการสาธารณูปโภค พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กำลังดำเนินโครงการควบคุมจำนวนประชากรสุนัขและปล่อยสัตว์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 เพื่อควบคุมจำนวนประชากรประชากรสุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ลดลงด้วยการทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จัดทำทะเบียนประวัติและปล่อยกลับถิ่นอาศัยเดิม รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ลดอัตราเสี่ยงการเจ็บป่วยและตายของประชาชนด้วยโรคดังกล่าวและสร้างสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

นาย ชัยนิยม สินทร ผู้อำนวยการกองจัดการสาธารณูปโภค พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น

      นาย ชัยนิยม สินทร ผู้อำนวยการกองจัดการสาธารณูปโภค พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหาสุนัขและแมวจรจัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่นถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นยาวนาน โดยเฉพาะสุนัขจรจัดได้สร้างปัญหา เช่น วิ่งข้ามถนนตัดหน้ารถทำให้เกิดอุบัติเหตุสร้างสกปรกด้วยการขับถ่ายมูลและคุ้ยเขี่ยขยะ บางตัวมีนิสัยก้าวร้าวไล่กัดทำร้ายคน กัดทำลายข้าวของ กัดลูกโคเนื้อ โคนม สุกร สัตว์ปีก ขุดทำลายแปลงทดลองของคณะเกษตรศาสตร์ที่สำคัญเป็นพาหะนำโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งสามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2559-2562 ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม โดยกองจัดการสาธารณูปโภค พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับนโยบายให้มีการบริหารจัดการเพื่อควบคุมปัญหาดังกล่าวโดยได้ดำเนินการทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมวจรจัด จัดทำทะเบียนประวัติและปล่อยกลับถิ่นเดิมแล้วทั้งสิ้น180 ตัว
      นายสมฤกษ์ บุญพรหมมา เลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการสัตว์จรจัดและสัตว์ก่อเหตุรำคาญมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวว่าสำหรับโครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อควบคุมจำนวนประชากรสุนัขในกลุ่มสร้างความเดือดร้อนและกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งบุคลากรภายใน นักศึกษาและบุคคลภายนอกที่ผ่านเข้าออกมาใช้พื้นที่ให้ มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น ซึ่งคาดว่ามีจำนวนกว่า 500 ตัวด้วยการทำหมันเพื่อไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนและมีการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สะดวกในการกำกับติดตามเนื่องจากมีการจัดทำทะเบียนประวัติทั้งนี้ได้มีการสื่อสารอย่างไรเพื่อทำความเข้าใจกับบุคลากรและผู้เลี้ยงสุนัขถึงเจตนารมณ์ของโครงการด้วยการพบปะพูดคุยกับกลุ่มผู้ให้อาหาร กลุ่มผู้รักสุนัข องค์กรที่เกี่ยวข้อง บุคลากรภายในและภายนอกให้มีความเข้าใจในขั้นตอนแลวิธีการในการดำเนินโครงการ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือการดำเนินการของมหาวิทยาลัย

      ในส่วนของปัญหาอุปสรรคการดำเนินโครงการ นายสมฤกษ์ บุญพรหมมา กล่าวว่า ลักษณะทางกายภาพของมหาวิทยาลัย มีประตูเข้า-ออกหลายช่องทาง ทำให้มีสุนัขจรจัดเข้ามาอาศัยในมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก ยังมีความยุ่งยากในการดักจับสุนัข บางพื้นที่มีข้อจำกัดในเรื่องภูมิประเทศในการหลบซ่อนตัวของสุนัข ทำให้ดำเนินการได้ลำบาก รวมทั้งยังมีบุคลากรหรือบุคคลบางส่วนไม่เข้าใจในเจตนารมณ์ของโครงการ หรือ ไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควรในด้านการดักจับสุนัขนำส่งทำหมัน รวมทั้งไม่มีสถานที่กักกันหรือส่งต่อสุนัขจรจัด กรณีปัญหาสุนัขจรจัดดุร้าย หรือทำร้ายบุคคล แต่ทั้งนี้ยังมีความพยายามสร้างความร่วมมือกับคณะหน่วยงาน บุคลากรทั้งภายในและภายนอก ให้ทุกส่วนงานมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนห้ามนำสุนัขและแมวมาปล่อยทิ้งในพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยเด็ดขาด สำหรับแผนงานในอนาคตนอกเหนือจากการทำหมัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัขและแมวจรจัดในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว จะมีการสร้างสถานกักกันสุนัขเพื่อเฝ้าระวังโรค (ชั่วคราว) ขึ้น สำหรับดูแลสุนัขจรจัด เฝ้าระวังโรค เพิ่มระดับความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าให้กับนักเรียน นักศึกษาและบุคลากรในพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้และวางแผนออกแบบก่อสร้าง


        ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ของจำนวนสุนัขและแมวจรจัดที่ได้ดำเนินการทำหมัน ฉีดวัคซีน และจัดทำทะเบียนประวัติ

ปีงบประมาณ                                     จำนวน (ตัว)
              สุนัข            แมว รวม
เพศผู้ เพศเมีย เพศผู้ เพศเมีย
2559 4 26 30
2560 16 14 30
2561 17 23 40
2562 18 44 7 11 80
รวมทั้งสิ้น 180

 

อุดมชัย สุพรรณวงศ์ / ข่าว
กองจัดการสาธารณูปโภค พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น / ภาพ

Scroll to Top