มข.เผย 3 มาตรการบริหารจัดการน้ำสู้ภัยแล้ง [KKU Transformation]

 

ในภาวะวิกฤติที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาภัยแล้ง น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ซึ่งถือเป็นเขื่อนหลักของจังหวัดขอนแก่น อยู่ต่ำกว่าระดับปกติ เรียกว่า ขอดเอาน้ำก้นเขื่อนออกมาใช้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะองค์กรทางการศึกษาที่ดำเนินทุกกิจกรรมโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ตามนโยบาย  Ecological ด้านระบบนิเวศของมหาวิทยาลัย อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  ฉะนั้นฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีมาตรการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติภัยแล้ง เพื่อประชาคมรอบรั้วมหาวิทยาลัยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ผศ.อาวุธ ยิ้มแต้  รองอธิการบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า น้ำที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้อยู่เริ่มต้นจากชลประทานหนองหวายบริเวณน้ำพอง มาตามคลองส่งน้ำ ซึ่งเป็นคลองคอนกรีตเสริมเหล็กระหว่างทางจะมีผู้ใช้น้ำ ดึงน้ำไปใช้อยู่ตลอดส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นถือเป็นปลายทางจึงได้รับผลกระทบในกรณีที่ขาดน้ำ  ชลประทานหนองหวายส่งน้ำในคลองประมาณ 200,000 ลูกบาศก์เมตร มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ใช้น้ำจริง 70,000 ลูกบาศก์เมตรปัญหาคือเราได้น้ำในปริมาณที่น้อยและก็คุณภาพค่อนข้างจะแย่เมื่ออยู่ปลายทาง เนื่องจากจะมีพวกสาหร่าย น้ำที่รับมาจะถูกเก็บอยู่ในสถานีสูบน้ำ  โรงผลิตน้ำประปา และสระพลาสติก  ซึ่งมีความสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 50,000 ลูกบาศก์เมตรเศษ

“ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาของน้ำ ด้วยสถานการณ์น้ำในปัจจุบันทำให้ชลประทานหนองหวายสามารถส่งน้ำมาให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นสัปดาห์ละ 1 วัน แต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความต้องการใช้น้ำอยู่ประมาณ 70,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อ 7 วัน ซึ่งปัจจุบันความจุของการกักเก็บน้ำทั้งหมดของมหาวิทยาลัยขอนแก่นสามารถเก็บน้ำได้ประมาณแค่ 6 วัน ก็คือประมาณ 60,000 ลูกบาศก์เมตรจึงต้องบริหารจัดการการใช้น้ำเพื่อจะให้เพียงพอ”

อ่านเนื้อหาข่าวเพิ่มเติม https://th.kku.ac.th/16260/

รับชมรายการต่างๆได้ที่ https://th.kku.ac.th/kkuchannel/

Scroll to Top