วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 11:00 – 13:00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมมือกับ บริษัท Toyo System Co., LTD. และ The Mathematics Certification Institute of Japan และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดสัมมนา University-Industry Collaboration seminar ภายใต้หัวข้อ “To become Carbon Neutral Importance of Rechargeable battery and Human Resource development” ในโครงการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education ในการแก้ปัญหา
โดยเวลา 11.00 น. ตามเวลาประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ได้กล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมแนะนำวิทยากร Mr. Hideki Shoji, Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD. ซึ่งบริษัท TOYO SYSTEM ได้ทำ CSV กับเมืองอิวากิ จังหวัด Fukushima ในการฟื้นฟูผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 และสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี มานำเสนอและถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งท่านได้ให้เกียรติบรรยาย ในหัวข้อ “To become Carbon Neutral Importance of Rechargeable battery and Human Resource development” การทำ Carbon Neutral หรือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ ก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ และได้ถ่ายทอดความรู้ ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
- การทำแบตเตอรี่แบบสามารถใช้ซ้ำได้ (secondary battery) เพื่อให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
- ความสำคัญของแบตเตอรี่สำรอง เพื่อการควบคุมพลังงานธรรมชาติและลดการปล่อย CO2 จากการผลิตพลังงาน
- ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ที่นําสังคมที่เป็นกลางคาร์บอน และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการปรับตัวให้เข้ากับสังคมไอทีในอนาคตและสังคมโลก
- การถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษา ด้วยวิธีการต่าง ๆ ก่อให้เกิดประสบการณ์ เป็นจุดกำเนิดความอยากรู้ และนำไปสู่การแก้ปัญหา
และ 5. ความพยายามผลักดันการใช้พลังจากไฮโดรเจน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับชุมชน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เนื่องจากสามารถสร้างได้จากทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง
Mr. Hideki Shoji กล่าวว่า “ถ้าทุกหน่วยงานช่วยกันส่งเสริมและร่วมมือกัน จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ และอยากช่วยส่งเสริมให้ทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
และในช่วงท้ายการอบรม ท่านวิทยากรได้ตอบข้อสงสัยและให้ความรู้เพิ่มเติม แก่ ผู้เข้าร่วมการอบรมชาวไทยถึงข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ในมุมมองของประเทศญี่ปุ่น อาทิ การบำรุงรักษาป่าไม้ของประเทศญี่ปุ่นเพิ่มปริมาณการดูดซับ CO2 จากการปลูกต้นไม้ใหม่ การผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพในประเทศไทย และการใช้รถยนต์แบบใดที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้รถยนต์ EV ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือไม่ เป็นต้น
จากความร่วมมือในครั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนาขึ้นเป็นครั้งที่ 6 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างจิตสำนึก เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย STEAM Education สำหรับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และคนทั่วไป เพื่อให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น และความพยายามสร้างวงการอุตสาหกรรมที่ถนอมรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต และมีกำหนดจัดการสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว ครั้งที่ 7 ในวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567 เวลา 11.00-13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
ซึ่งมีกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป
ข่าว พีรณัฐ เอี่ยมทอง
แปล อรรค อินทร์ประสิทธิ์