นศ.โครงการ การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำชุมชน วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขต พท.อิตื้อ เดินหน้าสำรวจการจัดการน้ำของชุมชน และค้นหาข้อดีในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง

นักศึกษาโครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำชุมชน วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขตพื้นที่ตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (ภายใต้โครงการยุวชนอาสา เฟส 1) เดินหน้าสำรวจการจัดการน้ำของชุมชน และค้นหาข้อดีในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง

กระบวนการหนึ่ง ใน “โครงการยุวชนอาสา เฟส 1” ในการปฏิรูปประเทศไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้พลังเยาวชนไทย ในการร่วมเรียนรู้แก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ โดยการเรียนรู้ร่วมกันกับท้องถิ่น (อันหมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน ภาคเอกชน 21 บริษัทจากจังหวัดขอนแก่น) พร้อมมีอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละโครงการร่วมเรียนรู้ กับนักศึกษา และยึดโยงกับพื้นที่อย่างใกล้ชิด) อันจะเป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งปฏิรูประบบการเรียนรู้สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน นั้น  คือ “การทำงานและสำรวจพื้นที่เชิงลึก” โดยในวันที่ 3 มีนาคม 2563 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD) วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น COLA KKU ในฐานะ อาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำชุมชน วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เขตพื้นที่ตำบลอิตื้อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้กรอบใหญ่ของโครงการยุวชนอาสา เฟส 1 ได้นำนักศึกษา จากทั้ง 3 หลักสูตร ซึ่งล้วนมีลักษณะสหสาขาวิชา อันประกอบด้วย นักศึกษาจากหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการคลัง และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 12 คน ลงพื้นที่จริง สำรวจการจัดการน้ำของชุมชน แหล่งน้ำธรรมชาติ ค้นหาศักยภาพเชิงพื้นที่ แล้วยังได้ค้นพบ ข้อดีในพื้นที่ด้วย โดยในหลายครัวเรือน มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ ให้กับครัวเรือนได้อย่างมั่นคง เช่น การเพาะเห็ด การเลี้ยง กบ ปลา ไก่ การเกษตรที่มีการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าทุกตารางเมตร และตามรอยพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้ในครั้งนี้ ยังทำให้นักศึกษาโครงการฯ รับรู้ว่า หมู่บ้านดอนลำดวน เทศบาลอิตื้อ เป็นแหล่งผลิตเห๊ดขอนขาว แหล่งใหญ่ของภาคอีสาน ที่ทุกครัวเรือนผลิตเชื้อ บรรจุถุง เก็บดอก ส่งออกตลาดใหญ่ในภาคเหนือ พร้อมมองต่อว่าจะเชื่อมโยง ต่อยอดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้อย่างไร

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว:ภาภรณ์ เรืองวิชา

 

Scroll to Top