วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับกลุ่ม KTIS โดยบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด โดยมี คุณอภิชาต นุชประยูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีวภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด เป็นผู้ร่วมลงนาม และมีพยานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยี และ รองศาสตราจารย์รัชพล สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้านบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ประกอบด้วย นายประเสริฐ ศิรีวิริยะกุลกรรมการผู้มีอำนาจและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายจรินทร์ ระดมกิจ ผู้เชี่ยวชาญ และนางสาวน้ำเพชร ทับทิมศรี ผู้ช่วยผู้จัดการส่วนวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบ ณ ห้องประชุม M3 ชั้น 1 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวว่า “พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ในวันนี้รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ได้ให้ความสำคัญ กับความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด จะร่วมมือกันด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์และสังคม ร่วมมือด้านการศึกษาวิย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาล รวมถึงประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้ง พัฒนางานด้านอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง”
ด้าน คุณอภิชาต นฺชประยูร กล่าวว่า “กลุ่มเคทิส เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร ทั้งธุรกิจน้ำตาลทราย, ธุรกิจเยื่อกระดาษจากชานอ้อยและบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากชานอ้อย, ธุรกิจเอทานอล, ธุรกิจปุย และ โรงไฟฟ้าชีวมวล รวมถึงโครงการ BCG ในพื้นที่นครสรรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นไบโอรีไฟเนอรี่ แห่งแรกของประเทศไทย ที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบในการผลิต Bio chemical และ Bio plastic. ภายใต้สโลแกน “KTIS MORE THAN SUGAR” เพื่อเพิ่มมูลค่าของอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงได้อย่างครบถ้วนเต็มที่ และลดสิ่งสูญเสียให้เป็นศูนย์ หรือ Zero Waste กลุ่มเคทิส มุ่งเน้นการเติบโตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน จึงได้จัดตั้ง บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด เพื่อวิจัย พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุน ตลอดจนสรรหาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ในการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ การบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบ และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตมาทำให้เกิดคุณค่า สร้างมูลค่าเพิ่ม และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้หลากหลาย อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ที่มืองค์ความรู้และบุคลากร ด้านงานวิจัยและพัฒนาในระดับสูง มีความพร้อมในการร่วมพัฒนาเพื่อต่อยอดเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตร ตามแนวคิด BCG ซึ่งเป็นนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ”
สำหรับบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ ในครั้งนี้ มีการตกลงร่วมกันเพื่อร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรขอมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ และการบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และ เพื่อพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวซ้อง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง
ข่าว/ภาพ : วัชรา น้อยชมภู