ผู้บริหาร มข. เข้าหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา

รศ. ชาญชัย พานทองวิริยกุล อธิการบดี พร้อมด้วย ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ, ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ, รศ. นวรัตน์ วราอัศวปติ รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ, ผศ. อชิรวุธ สุพรรณเภสัช คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์, ดร. กิตติ์ เธียรธโนปจัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายดิจิทัล/รองผู้อำนวยการสถาบัน KKU Academy ฝ่ายวิจัยและดิจิทัล, รศ. ภัทรวุฒิ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสถาบัน KKU Academy, รศ. รสวันต์ อารีมิตร รองผู้อำนวยการสถาบัน KKU Academy ฝ่ายการศึกษา,    รศ. นงลักษณ์ มีทอง ผู้อำนวยการโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่, รศ. อนุพล พาณิชย์โชติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์, รศ. วรานุช ปิติพัฒน์ คณะทันตแพทยศาสตร์, ผศ. เอื้อมแข สุขประเสริฐ และ ผศ. อรุณนิตย์ บุญรอด คณะแพทยศาสตร์ เข้าศึกษาดูงานและหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ Harvard Medical School, Massachusetts General Hospital, Massachusetts Institute of Technology และ Worcester Polytechnic Institute ระหว่างวันที่ 11-18 กันยายน 2566

 

โดยระหว่างวันที่ 11-12 กันยายน 2566 คณะผู้บริหาร มข. ได้เข้าศึกษาดูงานและหารือความร่วมมือด้าน Education Transformation และ New Learning Paradigm ณ Harvard Medical School โดยมี Prof. Edward M. Hundert, Former Dean for Medical Education และ Prof. Bernard S. Chang, Dean for Medical Education    ให้การต้อนรับ โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการรับมือกับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านการศึกษาและการแพทย์จากผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) รวมถึงการวางแผนการจัดประชุมวิชาการร่วมกันในอนาคต และยังได้เข้าพบ Dr. David Roberts, Dean for External Education และคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรของ HMX (online learning)  โดยสถาบัน KKU Academy ได้ร่วมนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนา และหาความร่วมมือ ในด้าน External Education / Lifelong Learning เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  อีกทั้ง ยังได้เข้าหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับ Dr. Bharat N. Anand, Vice Provost for Advances in Learning และ Ms. Catherine Breen, Managing Director, Harvard Online & VPAL ในด้านความร่วมมือการขับเคลื่อนการปรับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา (educational transformation)

 

คณะผู้บริหาร ยังเข้าหารือความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับ Massachusetts General Hospital (MGH) โดยในวันที่ 13 กันยายน 2566 ได้เข้าหารือความร่วมมือทางวิชาการด้าน Health Artificial Intelligence (AI) ร่วมกับ Dr. Shawn Murphy Dr. Tom Roberts และ Dr. Adam Landman และยังได้เข้ารือด้าน Head and Neck Cancers ร่วมกับ Dr. Maria Troulis, Dr. James McIntyre และ Dr. John Iafrate รวมทั้งได้ศึกษาดูงานด้านการวินิจฉัยโรคมะเร็งของแผนกพยาธิวิทยา ของโรงพยาบาล MGH เพื่อรองรับการแพทย์แม่นยำ (precision medicine) โดยในวันที่ 14 กันยายน 2566 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและคณาจารย์ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยในการเจรจาความร่วมมือร่วมกับ Massachusetts Institute of Technology ด้าน วัสดุสำหรับพลังงาน โดยเฉพาะแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงาน ร่วมกับ Prof. Caroline Ross และ Prof. Craig W. Carter จาก Department of Materials Science and Engineering และ กลุ่มคณาจารย์แพทย์และทันตแพทย์ ได้เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการโรคมะเร็งศีรษะและคอ  ศึกษาดูงานการผ่าตัดโรคมะเร็งศีรษะและคอผ่านช่องปากด้วยหุ่นยนต์ ที่มีความแม่นยำและปลอดภัย นอกจากนั้นยังได้เจรจาความร่วมมือร่วมกับคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งศีรษะและคอแบบสหสาขาวิชาชีพจาก  Massachusetts General Hospital ในด้าน Head and Neck Cancer ได้แก่ Prof.Lori J Worth, Prof.William C. Faquin (Pathologist), Prof.Maria J Troulis (Oral and Maxillofacial Surgeon), Prof.Derrick T. Lin (Head and Neck Surgeon), และ Prof.James F. McIntyre (Radiation Oncologist) ในเรื่องความร่วมมือด้านการวิจัย การศึกษา และการจัดประชุมวิชาการร่วมกันในอนาคต

วันที่ 15 กันยายน 2566 ในการนี้ คณะผู้บริหาร ได้เจรจาความร่วมมือร่วมกับ MIT Energy Initiative (MITei) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมพลังงานชั้นนำระดับโลกของ MIT โดยได้หารือกับ Ms. Lihong (Wendy) Duan, Director of Asia Pacific Energy Partnership Program และ Prof. Yet-Ming Chiang ศาสตราจารย์ที่ประสบความสำเร็จในการนำผลงานวิจัยด้านพลังงานสู่เชิงพาณิชย์โดยมีบริษัท Start-ups ถึง 8 บริษัท มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งนักศึกษาระดับปริญญาเอก คือ นายยุทธนากร คณะพันธ์ สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ไปร่วมทำวิจัยที่ MIT เป็นเวลา 6 เดือนอีกด้วย พร้อมทั้งได้เข้าพบกับ Dr. Leo Celi เพื่อหารือความร่วมมือด้าน AI in Medical Education รวมถึงหารือเตรียมการจัดงาน Thailand Health AI Datathon ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 ตุลาคม 2566 นี้
อีกทั้ง ในวันที่ 18 กันยายน 2566 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยและคณาจารย์ ยังได้เข้าหารือความร่วมมือกับ Worcester Polytechnic Institute (WPI) นำโดย Prof. Grace Wang อธิการบดีของ WPI และ Prof. Yan Wang ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิลแบตเตอรี่ โดยได้หารือความร่วมมือด้านวิชาการและเปิดโอกาสในการร่วมผลิตบัณฑิตหลักสูตรแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ WPI ในรูปแบบ 3+2 คือ ศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 ปีและศึกษาระดับปริญญาโทที่ WPI 2 ปี และได้รับปริญญาจากทั้ง 2 สถาบันอีกด้วย โดยในโอกาสนี้ นายปัญญา ฐานวิสัย นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา Materials Science and Engineering ซึ่งเป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยขอนแก่น ร่วมให้การต้อนรับด้วย

การการหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยร่วมกับสถาบันชั้นนำของประเทศสหรัฐเมริกาดังกล่าวข้างต้น นับเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยในหลากหลายมิติ นับเป็นการเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นต่อไป

 
ข่าว/ภาพ: กองการต่างประเทศ

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top