__________โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนเเก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) โดย ชุมนุม Satit robot club ภายใต้การควบคุมดูแลของ อาจารย์สมโชค แก้วอุทัศน์ และอาจารย์วัชเรนทร์ แสงสุวรรณ ได้ส่งสมาชิก ชุมนุม Satit robot club ประกอบด้วย ด.ช.ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล) และ ด.ช.ธันฐกรณ์ จิรเจริญพัฒน์ (คิม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์โอลิมปิกนานาชาติ ครั้งที่ 24 IRO 2022 (International Robot Olympiad 2022 : Phuket Thailand) ระหว่างวันที่ 12-16 มกราคม 2566 โดยมี อาจารย์วัชเรนทร์ เเสงสุวรรณ เป็นทั้งโค้ชผู้ฝึกสอน และเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียน การฝึกซ้อม การสร้างอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ เเละกลุ่มผู้ปกครองร่วมกันสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งในปีนี้จังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต ร่วมกับชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย บริษัท M REPUBLIC EVENT CO., LTD. รวมทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพกับ นายคิม จอง วาน ประธานสมาคมหุ่นยนต์แห่งประเทศเกาหลี โดยมีเยาวชนนับพันจากประเทศต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 16 ประเทศ สถานที่แข่งขันจัดขึ้น ณ โรงยิมเนเซี่ยม สะพานหิน เทศบาลนครภูเก็ต
อาจารย์สมโชค เเก้วอุทัศน์ |
__________การแข่งขันหุ่นยนต์โอลิมปิกนานาชาติ IRO 2022 (International Robot Olympiad 2022 : Phuket Thailand) จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างมิตรภาพในฐานะผู้นำแห่งอนาคต เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เยาวชน ให้สามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะ ความคิดริเริ่มในการพัฒนาหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต ทั้งยังเป็นเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแข่งขันในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 16 กติกา แยกออกเป็น 2 ระดับชั้น คือรุ่นจูเนียร์ ระดับประถมศึกษา ช่วงอายุ 10-12 ปี และรุ่นชาเลนจ์ ระดับมัธยมศึกษา ช่วงอายุ 13-18 ปี มีผู้เข้าร่วมจาก 16 ชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน
__________การแข่งขันหุ่นยนต์โอลิมปิกนานาชาติ IRO 2022 (International Robot Olympiad 2022 : Phuket Thailand) จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างมิตรภาพในฐานะผู้นำแห่งอนาคต เพิ่มพูนวิสัยทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่เยาวชน ให้สามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะ ความคิดริเริ่มในการพัฒนาหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญยิ่งต่อการพัฒนานวัตกรรมแห่งอนาคต ทั้งยังเป็นเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การแข่งขันในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 16 กติกา แยกออกเป็น 2 ระดับชั้น คือรุ่นจูเนียร์ ระดับประถมศึกษา ช่วงอายุ 10-12 ปี และรุ่นชาเลนจ์ ระดับมัธยมศึกษา ช่วงอายุ 13-18 ปี มีผู้เข้าร่วมจาก 16 ชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน
__________ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ลงแข่งขันเดี่ยว ประเภท FPV Racing Simulator ซึ่งมีผู้เข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 60 ทีม มีกติกาการแข่งขันที่เข้มงวด แต่ ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล) สามารถเอาชนะ และคว้ารางวัลชนะเลิศ ได้รับเหรียญทอง (Gold) จากการแข่งขัน ประเภท FPV Racing Simulator ได้อย่างขาวสะอาดและภาคภูมิ
__________ส่วนการแข่งขันประเภท Creative category Challenge ชุมนุม Satit robot club ได้ลงแข่งขันเป็นทีม ในชื่อทีม Siln Robotics ผู้ร่วมทีมประกอบด้วย ด.ช.ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล) ด.ช.ธันฐกรณ์ จิรเจริญพัฒน์ (คิม) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) และ ด.ช.อนาวิล สวัสดิ์พาณิชย์ (เอก) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน (ศิษย์เก่าสาธิตมหาวิทยาลัยขอนเเก่น ศึกษาศาสตร์ ฝ่ายประถมศึกษา) ผลการแข่งขันของทีม Siln Robotics ลงแข่งขันกับทีมนานาชาติ 44 ทีมไปได้ และสร้างผลงานจนได้รับรางวัลชมเชย (Performance)
ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล)
__________ศิวัชณัฐ เเสงสุวรรณ (ศีล) กล่าวว่า “ภาคภูมิใจเเละดีใจมากๆ กับรางวัลที่ได้มา เป็นเเรงผลักดันให้กลับมาเดินหน้า ฝึกฝนพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ความสามารถต่อไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านเทคโนโลยีเเละภาษาให้ก้าวทันโลกเเห่งอนาคต เเละจะเผยเเพร่ความรู้ความสามารถที่ฝึกฝนผ่านช่อง SILN Channel บนYouTube ครับ”
__________ธันฐกรณ์ จิรเจริญพัฒน์ (คิม) กล่าวว่า “ได้เจอคนจากหลายชาติ ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ สนุกและคุ่มค่า อยากให้มีการแข่งขันรายการแบบนี้อีกในไทย รางวัลที่ได้เป็นความภาคภูมิใจของทีมเรา และผมจะนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับและพัฒนาให้ดีขึ้นอีกครับ”
__________อนาวิล สวัสดิ์พาณิชย์ (เอก) กล่าวว่า “ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้ลงแข่งครับ ส่วนตัวคิดว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ จากโครงงานของเพื่อน ๆ พี่ ๆ หลายประเทศ ส่งเสริมให้ผมเกิดความคิดสร้างสรรค์ และอยากชวนให้เพื่อนๆ มาศึกษาด้านเทคโนโลยีกันครับ ขอบคุณครับ”
__________อาจารย์วัชเรนทร์ เเสงสุวรรณ (โค้ชพ่อต๊อบ) กล่าวปิดท้ายว่า “สำหรับการพาเด็กๆไปแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติที่จังหวัดภูเก็ตครั้งนี้ เป็นการสร้างประสบการณ์และแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆได้อย่างมาก ได้พบกับเพื่อนใหม่จากหลายๆ ชาติ ได้เห็นถึงแนวคิดและแนวทางการศึกษาของเด็กจากชาติต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ประสบการณ์ในครั้งนี้ทั้งของเด็กๆ ผู้ปกครอง และอาจารย์จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ด้าน Robotics ให้เกิดขึ้นในโรงเรียนสาธิตของเรา ซึ่งปัจจุบันผมได้เข้าไปเป็นวิทยากรพิเศษด้านหุ่นยนต์ให้กับทางชุมนุม Satit kku robot club โดยได้รับความร่วมมือจากทางโรงเรียนสาธิต จาก อาจารย์สุเนตร ศรีบุญเลิศ และอาจารย์สมโชค เเก้วอุทัศน์ หวังว่าจะสร้างแรงผลักดัน ให้เด็กๆ ในโรงเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์และสร้างโอกาสให้เด็กได้ไปแข่งขันในสนามต่าง ๆ เพื่อเปิดประสบการณ์ และพัฒนาศักยภาพตัวเด็กเองเพิ่มขึ้น ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ”
ข่าว : วัชรา น้อยชมภู
ขอบคุณ : ข้อมูลข่าว/ภาพจากชุมนุม Satit kku robot club
KKU Demonstration School brings home reputation from winning the golden medal at the International Robot Olympiad 2022