สำนักบริการวิชาการ ยกระดับเพื่อสร้างหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน (OBE)

 รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ  กมลเลิศ
ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ 

                      สำนักบริการวิชาการ ยกระดับบุคลากรด้วยการอบรมการสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life – long Learning Education) โดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน โดย หาความต้องการ จัดลำดับความต้องการ สร้างหลักสูตร ออกแบบกิจกรรมด้วยการบูรณาการ และประเมินผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ

                               รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ  กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ  กล่าวเปิด และ เล่าถึงนโยบาย lifelong Learning ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย แหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายและเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยการ Reskill/Upskill/New skill ให้แก่ผู้เรียน พร้อมกับเชื่อมโยงเข้าสู่การรับรองสมรรถนะหรือสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้ในคลังหน่วยกิต (Credit Bank) รศ.ดร.ณกรณ์  จงรั้งกลาง  รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มข. ได้กล่าวถึงความสำคัญของแนวทางการสร้างหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน (Outcome-Based Education) ว่า “ปัจจุบันการเรียนรู้ในระบบได้รับความสำคัญน้อยลง ความต้องการของสถานประกอบการต้องการคนที่มีความรู้ ทักษะ และบุคลิกที่ตรงกับงาน พร้อมที่จะทำงานได้ เป็นสิ่งสำคัญ จึงเกิดแนวคิดการสร้างหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน (OBE) โดยมีขึ้นตอน คือ 1) หาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยคำถามง่าย ๆ ที่ตรงกับผู้ประกอบการต้องการคือ 1.1) ให้ทำหน้าที่อะไร 1.2) ความรู้ที่ต้องการคืออะไร 1.3) ต้องทำอะไรได้ หรือ ทำเป็น 1.4) ต้องการผู้ร่วมงานบุคลิกแบบไหน  และ 1.5) จะรับกี่คน จากนั้น  2) นำมาจัดลำดับความสำคัญ  3) สร้างหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และโดยการบูรณาการ  4) ประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการ โปรแกรมการเรียน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ต้องการ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ”

 รศ.ดร.ณกรณ์  จงรั้งกลาง
อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์
       

             จากนั้น ผศ.ดร.สมพงษ์ จันทร์แก้ว ได้นำบุคลากรสำนักบริการวิชาการ ฝึกปฏิบัติการสร้างวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์เป็นฐาน โดยใช้ลำดับขั้นการเรียนรู้ของ บลูม (Bloom’s Taxonomy Learning) เพื่อสร้างความเข้าใจพร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบในการเขียนวัตถุประสงค์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างหลักสูตรต่างๆของทางสำนักบริการวิชาการ

     ผศ.ดร.สมพงษ์ จันทร์แก้ว
อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์

ภาพ : นายชาลี  พรหมอินทร์
ข่าว : นายประภาพรณ์ ขันชัย

Scroll to Top